วิธีเสริมภูมิคุ้มกันในฤดูฝน ให้ห่างไกลหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล เป็นไข้!

วิธีเสริมภูมิคุ้มกันในฤดูฝน

เข้าสู่หน้าฝนแล้ว นอกจากจะมีฝนตก พายุเข้า จนต้นกล้วยแทบหัก! ก็ยังมีเรื่องของอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้มีอาการป่วยได้ง่าย ๆ เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ จาม ปวดหัว เป็นไข้ ฉะนั้น ต้องดูแลสุขภาพกันให้ดี Ged Good Life จึงขอฝาก ‘วิธีเสริมภูมิคุ้มกันในฤดูฝน’ ให้สุขภาพแข็งแรงไปด้วยกันในฤดูฝนนี้

– โรคไข้หวัด โรคยอดฮิตตลอดปี! เป็นกี่วันหาย กินยาอะไรดี? สาเหตุ อาการ วิธีรักษา
โรคไข้หวัด VS โรคภูมิแพ้อากาศ ต่างกันอย่างไร?
วิธีลดหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล แก้น้ำมูกอุดตัน ทำง่าย ได้ผลจริง!

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

วิธีเสริมภูมิคุ้มกันในฤดูฝน ให้ห่างไกลหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล เป็นไข้!

1. กินผัก-ผลไม้ รสเปรี้ยว เพิ่มวิตามินซี เสริมภูมิต้านทาน

เช่น มะขาม มะนาว ส้ม ฝรั่ง มะม่วง กะทกรก (แพชชั่นฟรุต) มะยม มะดัน ตะลิงปลิง สับปะรด ใบชะมวง ใบมะขาม ใบมะม่วง กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น

ประโยชน์ สารอาหารสำคัญในรสเปรี้ยว คือวิตามินซี และไบโอฟลาโวนอยด์ ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงขึ้น ลดการเกิดการติดเชื้อของร่างกาย และยังทำงานร่วมกับคอลลาเจน ทำให้ผิวพรรณแข็งแรง เนียนใส แผลหายง่ายขึ้น

ข้อควรระวัง! หากกินอาหารที่มีรสชาติเปรี้ยวมากเกินไปอาจทำลายผิวเคลือบฟัน ทำให้เกิดฟันผุ หรือเสียวฟันได้ วิตามินซีในอาหารรสเปรี้ยว ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้ท้องเดิน หรือส่งผลให้ปัสสาวะบ่อย มี ผื่นคันที่ผิวหนัง

2. บำรุงด้วยสมุนไพรไทย หรืออาหารเผ็ดร้อน

เช่น พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกะเพรา กระชาย เป็นต้น เพราะเป็นอาหารที่มีความเผ็ดร้อน เป็นการเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ร่างกาย ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี ขับลม ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อไวรัส ขับเหงื่อ และช่วยระบบเผาผลาญในร่างกาย

สารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่ให้ความเผ็ดร้อนซึ่งอยู่ในพริก ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา และลดการอักเสบ ช่วยลด ไขมันในเลือด และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น ลดการเกิดไข้หวัด ลดน้ำมูก ลดการก่อ โรคภูมิแพ้

ข้อควรระวัง! สารแคปไซซินในพริก ถ้าได้รับมากเกินไปอาจทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้อักเสบ และทำให้เกิดผื่นร้อนได้ ถ้าสัมผัสโดนผิวหนัง

3. กินผัก-ผลไม้ ตามฤดูกาลที่ให้ผลผลิตในหน้าฝน

เช่น มะเขือเปราะ มะนาว ถั่วพู ชะอม ผักหวาน ใบขี้เหล็ก เห็ดโคน กล้วยน้ำว้า ส้มโอ มะเฟือง และส้มเขียวหวาน เป็นต้น นอกจากจะช่วยสร้างภูมิให้แข็งแรง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงแล้ว ยังมีราคาถูก และมีสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงน้อยกว่าผลไม้นอกฤดูกาล ทำให้ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น

4. หมั่นออกกำลังกาย เสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรง

เช่น การเดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ ขี่จักรยาน  การทำงานบ้าน เช่น กวาดบ้าน-ถูบ้าน เป็นต้น การออกกำลังกายในแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องหนัก หรือเหนื่อยมาก โดยทำให้รู้สึกหายใจเร็วขึ้น ไม่ต้องถึงกับหอบ เริ่มจากออกกำลังกายเบา ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละสัปดาห์

การออกกำลังกาย ควรทำเป็นประจำสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละ 30 นาที ก็เพียงพอที่จะเกิดภูมิคุ้มกันในหน้าฝน และยังดีต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

5. ใส่ใจเรื่องอาหาร ให้ถูกสุขอนามัยในฤดูฝนนี้

ช่วงหน้าฝน อากาศจะร้อนชื้น ทำให้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับช่องท้องได้ เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ จึงควรรับประทานอาหารที่สะอาด สด ใหม่ และเลือกซื้ออาหารกับร้านค้าที่มีสถานประกอบการที่สะอาด ถูกหลักอนามัย หลีกเลี่ยง อาหารข้างถนน ที่เปิดโล่ง ไม่มีภาชนะปิดคลุม

วิธีเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรง

6. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อวัน

น้ำที่ดีที่สุดที่เราควรดื่ม คือ “น้ำเปล่า” ที่เป็นน้ำสะอาด บริสุทธิ์ และดื่มน้ำอุณหภูมิห้องจะดีต่อร่างกายเราที่สุด การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น หัวใจทำงานปกติ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ดีต่อระบบขับถ่ายอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม -> ดื่มน้ำ เพื่อสุขภาพดีดี ตาม 7 ช่วงเวลานี้ได้เลย! พร้อม 10 ประโยชน์จากการดื่มน้ำ

7. ดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ

นอกจากโรคไข้หวัด ภูมิแพ้ ที่มักมากับหน้าฝนแล้ว ก็ยังมีโรคน้ำกัดเท้า เชื้อราที่เล็บเท้า อีกด้วย ฉะนั้น การดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงเช็ดเท้าให้แห้ง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหมั่นทำเป็นประจำ

ทิปส์ดีดีเพิ่มความสะอาดเท้า : สมุนไพรในครัวเรือน เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ขิง ขมิ้น ไพล สามารถนำมาป้องกันเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราที่เท้าได้ด้วยนะ โดยนำทั้ง 4 อย่างนี้มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มน้ำ 2-3 ลิตร ให้เดือด แล้วใส่สมุนไพรที่เตรียมไว้ลงไปต้ม สัก 15-20 นาที ปิดไฟ เติมเกลือ จากนั้นนำมาผสมน้ำธรรมดาให้อุ่น ๆ แช่เท้าสัก 15 นาที นอกจากช่วยป้องกันการเกิดเชื้อแบคทีเรีย ยังช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้า และบอกลาเท้าเหม็นได้อีกด้วย

8. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สามารถเสริมภูมิต้านทานของร่างกายได้ และยังบรรเทาความเครียด ความวิตกกังวล ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้อีกด้วย

9. เลี่ยงการโดนฝน และสถานที่แออัด

เพราะฝนจะนำพาเชื้อโรคมาสู่เราได้ ถ้าไปโดนฝนมา กลับบ้านให้รีบอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า และไม่ควรไปยังสถานที่แออัด และไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยไข้หวัด รวมถึงช่วงนี้ควรหมั่นใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำที่ออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ทางเดินหายใจ

อ่านเพิ่มเติม -> จริงหรือไม่! ตากฝนทำให้เป็นหวัด ? พร้อมวิธีกินยาลดไข้ แก้หวัด อย่างถูกต้อง


โรค และภัยสุขภาพ ที่พบได้บ่อยในฤดูฝน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศเตือนประชาชนป้องกันโรค และภัยสุขภาพ 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 8 โรค และ 3 ภัยสุขภาพ ที่ควรระมัดระวังการเจ็บป่วยในช่วงฤดูฝน ดังนี้

1. โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ : โรคไข้หวัดใหญ่ และ โรคปอดอักเสบ

2. โรคติดต่อทางเดินอาหาร และน้ำ : โรคอุจจาระร่วง

3. โรคติดต่อจากการสัมผัส : โรคมือ เท้า ปาก และโรคเลปโตสไปโรซิส หรือ โรคไข้ฉี่หนู

4. โรคติดต่อนำโดยยุงลาย : โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

5. ภัยสุขภาพ : การบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการถูกฟ้าผ่า อันตรายจากการกินเห็ดพิษ อันตรายจากการถูกงูพิษกัด

 

อ้างอิง: 1. สสส. 1/2/3

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close