เคลียร์ให้ชัด! ไอหลังตื่นนอน ไอตอนเช้า มีสาเหตุ และวิธีรักษาอย่างไร?

ไอหลังตื่นนอน

เป็นไหม ตื่นเช้ามาไม่ทันจะได้ทำไรเลย ก็มีอาการไอสะแล้ว!? อาการ “ไอหลังตื่นนอน” ที่แสนน่ารำคาญแบบนี้เกิดจากอะไร เสี่ยงเป็นโรคอะไรหรือเปล่า? ทำไมคนอื่น ๆ ไม่เห็นเป็นแบบเรา แล้วมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง? บทความนี้จะพาไปไขทุกข้อสงสัย เคลียร์กันให้ชัดไปเลย! มาติดตามกัน…

ทำไมเราถึงไอในตอนเช้า หรือหลังตื่นนอน?

ในขณะที่คุณหลับ เสมหะ (phlegm) และสารระคายเคืองอื่น ๆ สามารถรวมตัวกันในปอดและลำคอ เมื่อคุณตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ก็อาจทำให้เกิดอาการไอ ทั้งนี้อาการไอไม่ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดของวัน ถือเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ และยังช่วยกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจอีกด้วย

ไอหลังตื่นนอน เกิดจากสาเหตุใด?

อาการไอหลังตื่นนอนนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุเลยทีเดียว แต่ก็อย่าเพิ่งตกใจไป หากคุณมีอาการไอแค่บางครั้งบางคราวหลังตื่นนอน ก็ถือเป็นเรื่องปกติของร่างกาย แต่ถ้าหากไอเป็นประจำทุกเช้า อาจต้องระวัง ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย ตรวจร่างกาย ว่าเกิดจากโรคอะไรหรือไม่… ส่วนวิธีรักษาอาการไอตอนเช้าที่ดีที่สุด คือ หาสาเหตุของอาการไอให้ได้ แล้วรักษาที่เหตุนั้น

1. เสมหะเหนียวคอ กับภูมิแพ้ (Post-nasal drip and nose allergy)

เป็นปัญหาที่พบบ่อยมากในคนที่เป็น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) หรือ ภูมิแพ้จมูก เกิดจากเยื่อจมูกบวมมาก จนปิดรูจมูก และมักจะมีเมือกมีน้ำมูกที่เหนียวมากคั่งค้างอยู่ที่ด้านหลังคอ ไหลไม่ออกและระเหยไม่ได้ พอตื่นเช้ามาจึงทำให้เกิดอาการไอ อาการอื่น ๆ ที่พบร่วมกัน คือ เจ็บคอ รู้สึกมีก้อนในลำคอ เป็นต้น

วิธีดูแลรักษาภูมิแพ้จมูก

2. ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)

ไซนัสอักเสบ เกิดจากติดเชื้อและอักเสบในจมูก จนเนื้อเยื่อในโพรงไซนัสบวม และร่างกายจะผลิตสารคัดหลั่งเมือกเหลวขึ้นมามาก จนเกิดการอุดตันกลายเป็นหนองอักเสบ หรือน้ำมูกเขียวข้น รู้สึกน้ำมูกไหลลงคอ คัดแน่นจมูก ไอเรื้อรังเเป็นประจำทุกเช้าหลังตื่นนอน อาการแบบนี้ควรพบแพทย์

วิธีดูแลรักษาไซนัสอักเสบ

  • หากเพิ่งเคยเป็นไซนัส หรือสงสัยว่าเป็น ควรพบแพทย์ก่อนหลังจากนั้นค่อยกินยาตามแพทย์สั่ง
  • หากเคยพบแพทย์ และพอทราบวิธีดูแลไซนัสอักเสบแล้ว ก็ให้ดูแลสุขภาพ และโพรงจมูกตามแพทย์สั่ง
  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ

3. โรคหอบหืด (asthma)

โรคหอบหืดนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยก็คือการแพ้ เช่น แพ้ฝุ่น แพ้ขนสัตว์ แพ้อากาศ แพ้อาหารบางชนิด เป็นต้น ฉะนั้นอาการไอที่เกิดขึ้นในตอนเช้า โดยเฉพาะตอนกลางคืนและช่วงเช้ามืด ก็จะไม่ต่างกับข้อที่ 1 เพราะเกิดจากอาการแพ้เช่นเดียวกัน

วิธีดูแลรักษาโรคหอบหืด

  • ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
  • ยารักษาจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดลม ควรใช้ตามแพทย์สั่ง
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้
  • ไม่นอนให้ห้องที่เย็นจนเกินไป ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศเย็นไป
  • ไม่เปิดพัดลมจ่อใกล้ตัว
  • หมั่นออกกำลังกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง หืดจะดีขึ้นได้

4. โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease – GERD)

อาการไอเรื้อรัง จากผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยมาก และยังทำให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง บางคนมีอาการตอนกลางคืนหากกินก่อนเข้านอนไม่นาน ซึ่งอาจทำให้เสียงแหบ เจ็บคอ แสบคอ แสบปาก แสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า

วิธีดูแลรักษาโรคกรดไหลย้อน

ไอหลังตื่นนอน

5. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD)

โรคนี้คนทั่วไปมักรู้จักในชื่อ “โรคถุงลมโป่งพอง” มักเกิดในผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคหืดที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ โรคนี้ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะ (chronic productive cough) โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน เนื่องจากมีการสะสมของเสมหะช่วงที่นอนตอนกลางคืน และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อย

วิธีดูแลรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

  • ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยยาขยายหลอดลม และยาอื่น ๆ
  • ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมสารเคมีทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงสภาพมลภาวะเป็นพิษ เช่น PM2.5

6. วันโรค (Mycobacterium Tuberculosis -TB)

อ่านแล้วอาจตกใจว่า ไอตอนเช้าทำให้เป็นวัณโรคได้ด้วยหรือ? จริง ๆ แล้วก็สามารถเป็นไปได้เช่นกัน โดยเฉพาะอาการในระยะแรกจะมีอาการไอแห้ง ๆ ต่อมาจะไอมีเสมหะ และไอมากยิ่งขึ้นเวลาเข้านอน หรือหลังตื่นนอน ทั้งนี้ก็อย่าเพิ่งตกใจไป ลองสำรวจอาการเหล่านี้ดูด้วยว่า มีร่วมกับอาการไอไหม เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ ๆ มีเหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นต้น ถ้ามีแนะนำให้เข้าพบแพทย์

วิธีดูแลรักษาวัณโรค

  • หลีกเลี่ยงการใช้ของหรืออาศัยอยู่ใกล้กับผู้ป่วยวัณโรค
  • หมั่นออกกำลังกายให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง
  • ควรพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ซื้อยากินเอง
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวี เพราะเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดวัณโรค

7. โรคโควิด-19 (Covid-19)

แน่นอนว่าในยุคที่โควิดยังคงระบาด ก็ต้องระวังไว้ด้วยว่า เรามีไข้ ไอมาก อ่อนเพลีย หรือเปล่า และควรตรวจ ATK ด้วย หากใครเคยเป็นโควิดมาก่อน ก็ย่อมเคยเจอกับอาการ ไอหลังตื่นนอน เป็นประจำ ถึงแม้ว่าจะหายจากโควิดแล้ว ก็อาจต้องเจอกับอาการ ไอลองโควิด ต่อเนื่องไปอีกสักระยะ อาการไอจึงจะค่อย ๆ ดีขึ้น จนหายไป ทั้งนี้อาการไอโควิดอาจเกิดขึ้นมากในช่วงกลางคืนจนนอนไม่ค่อยจะหลับได้เช่นกัน

วิธีดูแลรักษาโรคโควิด

  • รักษาตามอาการ เช่น เป็นหวัดมีไข้ก็ให้ยาลดไข้ ไอมีเสมหะก็กินยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • ไม่ควรไปยังสถานที่เสี่ยง และสวมใส่หน้ากากอนามัยเสมอ เมื่อต้องเดินทางไปข้างนอก
  • หมั่นล้างมือให้สะอาด ไม่ใช้มือขยี้ตา หรือแคะจมูกถ้ายังไม่ได้ล้างมือ

สาเหตุของอาการไอตอนเช้าในทารก

ทารกอาจมีอาการไอตอนเช้าเนื่องจากสาเหตุหลายประการ เหตุผลเหล่านี้อาจเหมือนกับในกรณีของผู้ใหญ่และเด็กโต สาเหตุที่เป็นไปได้ ได้แก่ โรคไข้หวัด โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อไซนัส และปอดบวม เป็นต้น ทั้งนี้ถ้าพบเด็กไอเป็นประจำทุกเช้า ติดต่อกันหลายวัน ควรพบแพทย์ประจำตัวเด็ก เพื่อรับคำวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

  • ไอติดต่อกันจนเป็นอาการไอเรื้อรังสะสม
  • ไอขึ้นอย่างรุนแรง เช่น ไอจนหอบมาก ไอปนเลือด
  • สงสัยว่าไอจากภูมิคุ้มกันตก หรือสุ่มเสี่ยงติดเชื้อ HIV
  • ไอจนกินข้าว กินน้ำไม่ได้ อ่อนเพลีย ขาดสารอาหาร

อ้างอิง : 1. medicalnewstoday 2. healthline 3. indigohealth 4. รพ. รามาธิบดี 5. รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close