ตัวร้อน มีไข้ต่ำเฉพาะตอนเย็น เกิดจากอะไร เป็นโรคอะไรรึเปล่า?

มีไข้ต่ำเฉพาะตอนเย็น

ไหนใครเป็นบ้าง?… ตกเย็นทีไร รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดหัว มีไข้ต่ำ ๆ ตรวจ ATK ก็ไม่พบเชื้อโควิด-19 ขึ้นขีดเดียวตลอด อาการแบบนี้เกิดจากอะไร อันตรายหรือเปล่า? GED good life มีคำตอบมาฝากแล้ว ใครที่ตัวร้อน มีไข้ต่ำเฉพาะตอนเย็น อยู่บ่อย ๆ ต้องอ่าน!

ดีคอลเจน

สาเหตุ และโรคที่อาจทำให้ตัวร้อน มีไข้ต่ำเฉพาะตอนเย็น

อุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน หรือติดต่อกันนาน 3 วัน เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ร่างกายกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ หรือสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งอาการตัวร้อน มีไข้เฉพาะตอนเย็น อาจเกิดได้จากสาเหตุ และโรคต่าง ๆ เหล่านี้

1. ความเครียดระหว่างวัน (Stress)

หากคุณมักมีความเครียดกับการทำงานสูง เป็นประจำทุกวัน รวมถึงนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออยู่เสมอ เป็นไปได้มากว่าอาการตัวร้อน มีไข้ต่ำ ๆ เฉพาะตอนเย็น ที่เกิดขึ้นกับคุณนั้น มาจากความเครียด และนอนไม่เพียงพอนั่นเอง

ความเครียดทางอารมณ์มักเกี่ยวข้องกับไข้ระดับต่ำ เรียกว่าไข้ไซโคเจนิก (psychogenic fever) ไข้ชนิดนี้พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาวที่มักจัดการกับอารมณ์ไม่ค่อยได้ มีความเครียดเรื้อรัง อ่อนเพลียเรื้อรัง อาจต้องเข้าพบจิตแพทย์ และควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ นั่งสมาธิก่อนนอนสัก 5-10 นาที ก็ช่วยให้จิตใจสบายขึ้นได้

2. การติดเชื้อทางเดินหายใจ (Respiratory Infections)

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่งของไข้ต่ำอย่างต่อเนื่อง คือ การติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ในกรณีเช่นนี้ร่างกายจะเพิ่มอุณหภูมิตามธรรมชาติ เพื่อต่อสู้กับสารที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ (แบคทีเรียหรือไวรัส) โรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และเมื่อเป็นหวัดจะมีไข้อยู่สองสามวัน อาการอื่น ๆ ของการติดเชื้อทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ จาม น้ำมูกไหล เจ็บคอ หนาวสั่น เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย เป็นต้น

2. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection)

อาการมีไข้ต่ำ บางครั้งอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเพศหญิงจะเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชาย อาการของโรคนี้ คือ เจ็บที่บริเวณข้างลำตัว มีไข้ หรือ คลื่นไส้ อาเจียน

4. วัณโรค Tuberculosis (TB)

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium tuberculosis เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงทีละน้อย เชื้อวัณโรคจะเริ่มทำงาน และมีอาการต่าง ๆ ได้แก่ ไอเป็นเลือด ไม่สบายตัว มีไข้ และเหงื่อออกตอนกลางคืน ใครที่มีไข้ และมีเหงื่อออกโดยเฉพาะตอนกลางคืน ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อวัณโรค โดยเฉพาะวัณโรคปอด

5. ไทรอยด์ (Thyroid)

การอักเสบของต่อมไทรอยด์ มักเชื่อมโยงกับไข้ต่ำ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ การฉายรังสี การบาดเจ็บ โรคแพ้ภูมิตัวเอง และยา อาการบางอย่าง ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยบริเวณต่อมไทรอยด์ และปวดคอ

6. มะเร็ง (Cancer)

อาการไข้ต่ำ ๆ อาจเป็นอาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง ได้แก่ อ่อนเพลีย อ่อนแรง ปวดศีรษะ และปวดตามร่างกาย ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต และเหงื่อออกมากตอนกลางคืน แม้ว่าอาการเหล่านี้จะไม่มีลักษณะบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็ง แต่บุคคลที่มีอาการเหล่านี้ร่วมกับมีไข้ต่ำอย่างต่อเนื่อง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการประเมินเพิ่มเติม

7. การใช้ยา (Medications)

การใช้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้ ซึ่งอาจรวมถึงการมีไข้ในช่วงเย็น หากยาเป็นสาเหตุ อาการไข้จะสงบลง เมื่อผู้ป่วยหยุดใช้ยา หรือขอคำแนะนำจากแพทย์

8. การอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation)

ความผิดปกติ หรือการอักเสบเรื้อรังหลายอย่างอาจทำให้เกิดไข้ซึ่งรวมถึงโรคข้ออักเสบ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคเกาต์ กลุ่มอาการเซโรโทนิน และกลุ่มอาการมะเร็งของระบบประสาท

อ่านมาถึงตรงนี้ก็อย่าเพิ่งตกใจไปว่าจะเป็นโรคร้ายแรงตามข้อต่าง ๆ ด้านบน หากคุณมีไข้ต่อเนื่องนานหลายวัน ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อจะได้รู้สาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้มีไข้เป็นประจำในตอนเย็น

ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเปล่า?

โดยปกติแล้วอาการตัวร้อน มีไข้ตอนเย็น มักเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากอาการของไข้ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย จะรุนแรงกว่า เวลากลืนน้ำลายจะเจ็บคอมาก น้ำมูกกับเสมหะจะเปลี่ยนสีจากสีใส ๆ เป็นสีเขียวเหลือง มีแผลหนองที่คอ และมีไข้ขึ้นชัดเจนตลอดทั้งวัน หากใครที่มีอาการเหล่านี้ อาจสงสัยได้ว่าติดเชื้อไข้แบคทีเรียเข้าแล้ว แนะนำให้พบแพทย์ หรือเภสัชกรใกล้บ้าน เพื่อรับการตรวจ และยารับประทานอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม -> หวัดจากเชื้อ ไวรัส VS แบคทีเรีย แตกต่างกันยังไง? แบบไหนรุนแรงกว่ากัน!

วิธีดูแล-รักษา ป้องกันอาการตัวร้อน มีไข้ต่ำเฉพาะตอนเย็น

หากคุณมีไข้เป็นประจำในตอนเย็น อาจบ่งบอกว่าร่างกายของคุณไม่พร้อม หรืออ่อนแอไปหน่อยเมื่อตกเย็น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต้องรู้จักดูแลตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอน คือ การพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด หากคุณทำงานมาเหนื่อย ๆ ยิ่งต้องนอนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง พร้อมต่อสู้ในเช้าวันใหม่

2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ น้ำมีส่วนช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ และมีความสำคัญต่อสุขภาพระยะยาว ฉะนั้น หากคุณอ่อยเพลียง่ายจากการไม่ค่อยดื่มน้ำ ให้หันมาดื่มน้ำให้เยอะขึ้น อาจทำ challange กับตัวเอง ว่าวันนี้จะทำอย่างไรให้ดื่มน้ำได้บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ เช่น ดื่มวันละ 8 แก้ว หรือวันละ 2 ลิตร เป็นต้น

3. บำรุงร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ บางคนอาจมีภาวะทุพโภชนาการซ่อนอยู่ เช่น กินอาหารไม่ครบหมู่ ทำให้ขาดสารอาหาร หรืออยู่ในช่วงลดน้ำหนักที่หักโหมเกินไป ฉะนั้นก็ต้องกลับมาดูว่าการบริโภคอาหารของเราในช่วงนี้เป็นอย่างไร ควรเน้นกินโปรตีน ผัก ผลไม้ ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ต่อต้านอนุมูลอิสระ จะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้

4. ลดความเครียด ควบคุมความดันให้ดี บางคนทำงานตรากตรำ หรือมีเรื่องเครียดมาทั้งวัน พอตกเย็น ภูมิคุ้มกันตก ไมเกรนขึ้น ก็อาจทำให้ป่วย มีไข้ได้ง่าย จึงควรลดความเครียดลงบ้าง เช่น ทำสมาธิให้จิตใจสงบก่อนนอนสัก 5-10 นาที ตื่นเช้ามาดื่มน้ำอุ่น ๆ สักแก้ว ทำสมาธิสัก 5 นาที ก่อนจะไปทำงาน และหากใครที่มีโรคความดันโลหิตสูง ก็ต้องรู้จักควบคุมความดันให้ดี

5. กินยาลดไข้ ยาจะออกฤทธิ์ ลดไข้อยู่ได้นาน 4-6 ชั่วโมง ต่อการกินยา 1 ครั้ง ถ้าสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้ยังไม่หาย เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้วไข้ก็จะปรากฏใหม่ หากมีอาการน้ำมูกไหลร่วมด้วย สามารถใช้ยาสูตรผสมชนิดที่มีตัวยา 2 ชนิด ใน 1 เม็ด ประกอบด้วย

  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ปริมาณ 500 มิลลิกรัม สำหรับบรรเทาอาการปวด ลดไข้
  • ผสมกับยาคลอเฟนิรามีน มาลีเอต (Chlopheniramine maleate) ปริมาณ 2 มิลลิกรัม

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยากลุ่มนี้ คือ ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (DECOLGEN) เหมาะกับผู้เป็นไข้หวัดที่มีอาการแพ้ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวด น้ำมูกไหล จาม เป็นต้น

  • ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ  2 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
  • เด็กอายุ 7-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง

6. อาจเกิดจากสภาพแวดล้อม หากคุณมักป่วย มีไข้เฉพาะตอนเย็น หลังจากกลับถึงบ้าน ก็อาจต้องมาดูกันที่สภาพแวดล้อมในบ้าน เช่น มีฝุ่นเยอะหรือไม่ มีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยหรือไม่ เพราะสภาพแวดล้อมเหล่านี้ สามารถก่อให้เกิดอาการป่วยไข้ ไม่สบาย ได้เช่นกัน

อาการแบบไหนควรพบแพทย์?

หากอาการมีไข้ไม่ดีขึ้น แม้จะปฏิบัติตามคำแนะนำไปแล้วก็ตาม เช่น มีอาการปวดเมื่อยง่าย มีไข้ต่ำอยู่ตลอดเวลา น้ำหนักตัวเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด สีน้ำมูก สีเสมหะเปลี่ยนไป ควรรีบเข้าพบแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงเป็นวัณโรค หรือโรคอื่น ๆ ที่ต้องรีบรักษาก่อนสายเกินไป

 

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

อ้างอิง : 1. doctor.ndtv 2. netmeds  3. vichaivej 4. เภสัชประจำบ้าน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close