ลูกเป็นหวัดบ่อย ทำยังไงดี 10 ทริคที่พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนลูกป่วย

27 มิ.ย. 24

ลูกเป็นหวัดบ่อย

 

ทำไม ลูกเป็นหวัดบ่อย ? พอไปหาหมอกลับมาได้ไม่กี่วัน ยาหมด ก็กลับมาป่วยอีก

เรื่องนี้มีการศึกษาระบุว่า เด็กป่วยเป็นไข้หวัดได้บ่อย มีการศึกษาระบุว่าสามารถป่วยได้ถึงปีละ 10 -12 ครั้ง ถ้าเป็นไข้หวัดธรรมดา จากการติดเชื้อไวรัส ทำให้เด็กมีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ส่วนใหญ่เป็นอยู่ประมาณ 5-7 วัน จะหายไปได้เอง แล้วสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นหวัดบ่อย เกิดจากอะไร มีวิธีไหนที่จะช่วยป้องกัน รักษาไม่ให้ลูกป่วยบ่อย ๆ ได้ไหม​ ?

ทำไม ลูกเป็นหวัดบ่อย ?

– อาจไม่ใช่หวัด แต่เป็นภูมิแพ้ เพราะอาการภูมิแพ้ กับ ไข้หวัด มีอาการบางอย่างคล้าย ๆ กัน เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล ทำให้อาจจะเข้าใจผิดว่าลูกเป็นหวัดบ่อย แต่จริง ๆ อาจจะเกิดจากการแพ้ สารก่อภูมิแพ้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งฝุ่นละออง ควัน มลพิษ ฯลฯ ดังนั้นอาจจะต้องคอยสังเกตอาการด้วยว่าอาการที่เหมือนหวัดของลูกเกิดจากได้รับสารก่อภูมิแพ้หรือไม่ เพราะหากไม่รักษาให้ถูกวิธี โรคภูมิแพ้ที่จมูกอาจมีผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น โรคไซนัสอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ ได้

– กรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ หากพ่อแม่มีร่างกายแข็งแรง ลูกก็จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีตาม ตรงกันข้ามหากภูมิคุ้มกันพ่อแม่ไม่ดี ก็มีโอกาสที่ลูกจะเจ็บป่วย เป็นหวัดบ่อย ๆ ได้เช่นกัน

– ภูมิต้านทานไม่แข็งแรง ผ่าคลอด ปัจจุบันแม่ ๆ ไม่นิยมคลอดธรรมชาติ แต่ผ่าคลอดกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ลูกไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จากช่องคลอดของแม่ในระหว่างที่คลอดออกมา เพราะระหว่างคลอดทารกจะกลืนเมือกจากช่องคลอดซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีในช่องคลอด ก็จะทำให้ลูกน้อยได้รับเชื้อดี ๆ เข้าไปในร่างกาย มีผลต่อภูมิคุ้มกันของลูก ทำให้ทารกมีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย

– เริ่มเข้าโรงเรียน ติดจากเด็กคนอื่น โดยเฉพาะช่วงที่เริ่มเข้าเตรียมอนุบาลปีแรก ๆ เพราะลูกยังเล็ก และอาจยังมีภูมิต้านทานไม่ดีพอ ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อหวัดจากเด็กนักเรียนคนอื่นง่าย แค่เด็กคนหนึ่งป่วย ก็อาจจะพากันติดไปได้ทั้งห้อง ทำให้คนหนึ่งหาย อีกคนหนึ่งติด วนเวียนกันไปไม่จบ

ลูกเป็นหวัดบ่อย

10 ทริคที่พ่อแม่ต้องรู้ ดูแลเมื่อลูกเป็นหวัดบ่อย

1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถ้าลูกเลยวัยที่กินนมแม่แล้ว อาจจะสายไป แต่ถ้าวางแผนจะมีลูกคนต่อไป การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดอย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี จะช่วยไม่ให้เจ็บป่วยบ่อย เพราะในนมแม่มีสารอาหาร ภูมิต้านทานในธรรมชาติที่ดีกับร่างกายลูกที่สุด เด็กนมแม่จึงมักไม่ค่อยเจ็บป่วยบ่อย

2. ฉีดยาป้องกันไข้หวัดใหญ่ นอกจากฉีดให้ลูกเป็นประจำทุกปีแล้ว พ่อแม่ หรือคนในครอบครัว โดยเฉพาะหากมีญาติผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุก็ควรจะฉีดวัคซีนป้องกันไว้ด้วย เพราะหากมีใครในบ้านป่วย ก็อาจจะทำให้ติดต่อกันได้ง่าย เพราะอยู่บ้านหลังเดียวกัน ถึงแม้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ได้มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อไวรัสได้ 100% แต่ก็ลดอันตราย และความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงในเด็กได้

3. พักผ่อนเพียงพอ เมื่อลูกเริ่มเข้าเรียน วัยนี้ต้องการการนอนประมาณ 9 – 12 ชั่วโมง ซึ่งชั่วโมงการนอนที่เพียงพอของเด็กแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน วิธีสังเกตว่าลูกนอนพอไหม คือ ตอนเช้าสามารถปลุกตื่นได้ง่าย ไม่งัวเงีย ไม่เผลอหลับตอนกลางวัน (ถามได้จากคุณครู) และเมื่อเข้านอนสามารถหลับได้ภายใน 15 – 30 นาที

4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลือกกีฬาที่ทำได้ทั้งครอบครัว เน้นกีฬาแบบแอโรบิค หรือได้เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น อาจจะชวนลูกกระโดดเชือก ครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 3-5 ครั้ง/สัปดาห์

5. ดื่มน้ำเยอะ ๆ หากมีอาการเจ็บคอ อาการไอ มีเสมหะ ควรให้จิบน้ำอุ่น เพื่อช่วยละลายเสมหะ หรือถ้ามีอาการไอมาก อาจจะจิบยาละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอ รักษาตามอาการ

6. กินอาหารดีมีประโยชน์ มีสารอาหารครบหมู่ ผักผลไม้ต้องมีให้ลูกทุกมื้อ เพื่อเสริมวิตามินจากธรรมชาติให้ลูก ให้ลูกกินอาหารหลักให้ครบ 3 มื้อ

7. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น อากาศ ฯลฯ สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้สามารถทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อจมูก และระบบทางเดินหายใจทำให้มีอาการคล้ายหวัดได้เช่นกัน

8. ล้างจมูกทุกวันหลังกลับจากโรงเรียน หากลูกป่วยเป็นหวัดบ่อย ๆ และยิ่งในวัยเข้าโรงเรียนแล้ว ควรล้างจมูกลูกบ่อย ๆ ด้วยน้ำเกลือเพื่อลดเชื้อโรคที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจ โพรงจมูก

9. ให้ลูกพกแอลกอฮอล์ติดตัว นอกจากสอนให้ลูกล้างมือบ่อย ๆ แล้ว อาจจะให้ลูกพกเจลแอลกอฮอล์ สำหรับล้างมือติดตัวไปโรงเรียนด้วย

10. ล้างของเล่นลูกบ่อย ๆ เราทำความสะอาดบ้าน ดูแลเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในบ้านให้สะอาด แต่อาจจะลืม “ของเล่น” ที่ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุดไป ของเล่นที่เป็นพลาสติก อาจจะล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาทำความสะอาดที่ปลอดภัยกับเด็ก ส่วนพวกตุ๊กตาผ้าก็ต้องซักด้วยน้ำร้อน หรือตากแดดเป็นประจำ เพื่อป้องกันเชื้อโรค หรือ ไรฝุ่นที่ซุกซ่อนอยู่

หากดูแลลูกได้ตามนี้ ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเมื่อลูกค่อย ๆ โตขึ้น ภูมิต้านทานก็จะดีขึ้นตามวัย อาการหวัด หรือเจ็บป่วยก็จะค่อย ๆ น้อยลง


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GedGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GedGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save