คลำเจอก้อนที่คอ อาจเสี่ยงเป็น “โรคไทรอยด์” สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ในปัจจุบันมีผู้ป่วย โรคไทรอยด์ จำนวนมากในประเทศไทย และส่วนมากจะไม่รู้ตัวเองว่า กำลังเป็นโรคนี้อยู่ บางคนสงสัยว่า ทำไมกินอาหารก็น้อย แต่น้ำหนักขึ้นเอา ๆ บางคนเดินไม่นานก็รู้สึก เหนื่อย หอบง่าย มือสั่น และหงุดหงิดบ่อยขึ้น สัญญาณเหล่านี้แหละ กำลังบ่งบอกว่า คุณอาจเป็น โรคไทรอยด์ เข้าให้แล้ว!

decolgen ดีคอลเจน

มาทำความรู้จักกับ โรคไทรอยด์ 

ไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) นี้ เป็นต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ ด้านล่างลูกกระเดือก มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย, ควบคุมการใช้ฮอร์โมน และวิตามินอื่น ๆ เป็นต้น

เมื่อใดที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ทุกระบบในร่างกายแปรปรวน ทั้งร่างกาย จิตใจ โดยที่เห็นออกข่าวกันเป็นประจำตามที่ดาราเป็นกัน ก็คือ น้ำหนักตัวขึ้นเยอะมาก เป็นสิบกิโลกรัม หน้าบวม ตัวบวม ทั้งที่พยายามคุมอาหารแล้วก็ตามที นั่นก็เพราะ ระบบในร่างกายแปรปรวนนั่นเอง ซึ่งอาการตัวบวม น้ำหนักขึ้นนี้ คือ อาการของไฮโปไทรอยด์ หรือที่เรียกว่า “ไทรอยด์ต่ำ”

ผู้หญิงพึงระวัง! โรคของต่อมไทรอยด์จะพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุมากกว่า 60 ปี มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะขาดไทรอยด์มาก

โรคไทรอยด์

โรคไทรอยด์ มีอยู่ 2 ประเภท คือ…

1. ไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (ไทรอยด์ชนิดผอม) มีอาการดังนี้

อาการของไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism)

  • เหนื่อยง่าย ใจสั่น
  • ร้อนง่าย เหงื่อออกมาก
  • หงุดหงิดง่าย
  • นอนไม่หลับ
  • กินจุแต่น้ำหนักลดลง
  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • บางรายอาจมีคอโต หรือตาโปน

2. ไฮโปไทรอยด์ หรือ ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ (ไทรอยด์ ชนิดอ้วน)

อาการของไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)

  • อ้วน ฉุ บวม ที่ใบหน้า รอบดวงตา ลำตัว แขน มือ ขาและเท้า
  • หัวใจเต้นช้า
  • เหนื่อยง่าย
  • เซื่องซึม ง่วงนอนตลอดเวลา
  • ท้องผูก
  • เหงื่อออกน้อย

สัญญาณเตือน เสี่ยงเป็นโรคไทรอยด์!

การสังเกต และ ใส่ใจสุขภาพตนเองเป็นเรื่องจำเป็น และเมื่อมีอาการผิดปกติตามอาการดังต่อไปนี้ อย่านิ่งนอนใจ ให้เข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพราะท่านอาจเป็น โรคไทรอยด์ ได้!

  • มือสั่น ใจสั่น
  • คอโตขึ้น คลำเจอก้อนบริเวณคอด้านหน้า
  • อ้วนขึ้น หรือ ผอมลง อย่างผิดปกติ ทั้งที่ทานอาหารเหมือนเดิม
  • หิวบ่อย หรือ ไม่หิว กินไม่ค่อยลง
  • ตาโปน โตกว่าปกติ
  • เหงื่อออกมาก
  • เป็นตะคริวบ่อย
  • ขับถ่ายไม่เป็นปกติ ท้องผูกบ่อย แม้จะกินพวกผัก ผลไม้
  • ผมร่วง
  • รู้สึกหนาว หรือขี้ร้อนมากขึ้น
  • รู้สึกง่วงตลอดเวลา เกิดได้ในภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ

บางอาการก็สามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้ ทางที่ดีที่สุด คือ ควรไปตรวจเช็คสุขภาพอย่างละเอียด

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังเป็นโรคไทรอยด์

ออกกำลังกาย – การออกกำลังกาย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ทำให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวที่มีคุณภาพ

อาหารสุขภาพ – ควรทานอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย เพราะอาหารจากธรรมชาติจะยังคงคุณค่าสารอาหารไว้ได้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาว พืชผักผลไม้ในท้องถิ่นตามฤดูกาล (รสไม่หวาน) โดยเฉพาะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติค เอซิด ( Lactic Acid) ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไทรอยด์

สำหรับคนที่ดื่มชากาแฟ – ให้ลองเปลี่ยนมาดื่มน้ำชาสมุนไพรแทน เช่น ตะไคร้ ขิง ดอกคำฝอย ก็จะช่วยเป็นทั้งยา และเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่นได้เป็นอย่างดี

ปฎิบัติธรรม มองโลกในแง่ดี – การมองโลกในแง่ดี หมั่นนั่งสมาธิ ปฎิบัติธรรม จงะช่วยรักษาสมดุลจิตใจของคนที่ป่วยเป็นโรคไทรอยด์ได้ดี วิธีนี้ช่วยลดความวิตกกังวล และความฟุ้งซ่านได้

มีเพื่อนไว้พูดคุยคลายทุกข์ – ควรพูดคุยระบายออกมากับครอบครัว หรือเพื่อนที่รู้ใจ โดยเฉพาะเพื่อนที่มีปัญหาเดียวกัน ซึ่งจะคอยรับฟังและดูแลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี

3 วิธี รักษาโรคไทรอยด์

1. รักษาด้วยยา เพื่อควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้น เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ชีพจรเต้นช้าลง ใจสั่นลดลง ฯลฯ

2. การผ่าตัด เนื่องจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากไป จึงจำเป็นต้องตัดออกไป ซึ่งจะทำให้ผลการรักษาเร็วกว่าวิธีกินยาเม็ด

3. การกลืนน้ำแร่ การกินน้ำแร่สารกัมมันตรังสีไอโอดีน 131 จะไปะสสมที่ต่อมไทรอยด์ แล้วปล่อยรังสีทำลายต่อมให้หายเป็นพิษ วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อเป็นไทรอยด์ (กินให้น้อยที่สุด)

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ให้ดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้แทน
  • อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา
  • ของทอดต่าง ๆ

สุดท้ายนี้ ถ้าคุณทานอาหารมาก แต่น้ำหนักไม่ขึ้น ก็อย่าเพิ่งหลงดีใจไป เพราะ อาการดังกล่าวอาจเสี่ยงเป็นโรคไทรอยด์ได้ ฉะนั้น เมื่อมีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย และ รักษาอย่างถูกต้องต่อไป


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close