ระวัง! 8 โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม

เหตุการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นได้ทุกปี อยู่ที่ว่าจะท่วมมากหรือท่วมน้อย คนไทยในพื้นที่เสี่ยงจึงควรระวัง ติดตามข่าวจากภาครัฐอย่างใกล้ชิด และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ ที่ควรรู้ ก็คือ “โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม” เพราะท่ามกลางความเสียหายจากน้ำท่วม ก็จะมีอาการป่วยให้เห็นเป็นข่าวบ่อยครั้ง ตามมาดูกันว่าจะมีโรคอะไรบ้างให้ต้องระวัง!

วิธีเสริมภูมิคุ้มกันในฤดูฝน ให้ห่างไกลหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล เป็นไข้!
– 3 โรคจากไวรัสหน้าฝน อันตรายทำลูกเสียชีวิตได้!
– ผื่นกุหลาบ โรคผิวหนังที่มาพร้อมหน้าฝน! สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

decolgen ดีคอลเจน

ระวัง! 8 โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม

1. โรคผิวหนัง (Eczema หรือ Dermatitis)

แทบจะเป็น โรคร้ายที่มากับน้ำท่วม ที่พบบ่อยที่สุด เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งโรคผิวหนังจากน้ำท่วมขัง ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา แผลผุพองเป็นหนอง เป็นต้น เพราะต้องแช่อยู่กับน้ำเป็นเวลานาน รวมถึงความอับชื้นจากเสื้อผ้าที่ไม่สะอาด และเปียกด้วย

อาการ
– ระยะแรก อาจมีอาการเท้าเปื่อย เป็นหนอง
– ต่อมาเริ่มมีอาการคันตามซอกนิ้วเท้า และผิวหนังลอกออกเป็นขุย มีผื่น
– ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนา และแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ผิวหนังอักเสบได้

การป้องกัน
– พยายามไม่แช่อยู่ในน้ำนาน ๆ
– ถ้าต้องย่ำน้ำ หรือแช่อยู่ในน้ำ ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ
– ล้างเท้าให้สะอาด หลังแช่อยู่ในน้ำ
– หากพบว่ามีบาดแผลที่เท้า ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทายาฆ่าเชื้อ

2. โรคระบบทางเดินหายใจ (respiratory diseases)

มีด้วยกันหลายโรค แต่ที่พบป่วยกันบ่อย คือ โรคไข้หวัดทั่วไป (common cold) และ โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ซึ่งเกิดจากการติด เชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อแพร่กระจายได้ผ่านเสมหะ น้ำลาย น้ำมูก หากไม่ดูแลร่างกายให้แข็งแรง หรือปล่อยไว้นาน อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รุนแรง เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ จนอาจเสียชีวิตได้

อาการไข้หวัด / ไข้หวัดใหญ่
– อาการใกล้เคียงกัน คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ แต่อาการของไข้หวัดใหญ่จะรุนแรงกว่า
– ครั่นเนื้อครั่นตัว
– มีน้ำมูกไหล ค้ดจมูก ไอจาม เจ็บคอ
– อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย เบื่ออาหาร

การป้องกัน
– พยายามดูแลรักษาความสะอาด สุขอนามัยในช่วงน้ำท่วม เท่าที่จะทำได้
– ถ้ามีไข้ ไอ จาม ควรรีบกินยาลดไข้ หรือยาที่มีตัวยาพาราเซตามอล
– กินผักผลไม้ อาหารย่อยง่าย ดื่มน้ำสะอาด
– เมื่อมีไข้สูง หรือเป็นไข้นานเกิน 7 วัน ควรรีบไปพบแพทย์

3. โรคตาแดง (Conjunctivitis)

มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่เยื่อบุตา โรคนี้มักจะระบาดในฤดูฝน เนื่องจากเชื้อสามารถกระจายตัวได้ง่ายในฤดูนี้

อาการ
– หลังได้รับเชื้อ 1-2 วัน เริ่มมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง
– มักหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ถูกวิธีอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น กระจกตาดำอักเสบ ทำให้ปวดตา

การป้องกัน 
– เมื่อตาโดนน้ำสกปรก ควรรีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันที
– ไปหาหมอ เพื่อรับยาหยอดตา หรือยาป้ายตาป้องกันภาวะแทรกซ้อน
– หากมีไข้ให้กินยาลดไข้ แก้ปวดตามอาการ
– ล้างมือ รักษาทำความสะอาดอยู่เสมอ
– ไม่ขยี้ตา หรือใช้สายตามากเกินไป
– ระวังติดต่อกับผู้อื่น เพราะเป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อกันได้ผ่านการใช้สิ่งของร่วมกัน
– ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง หรืออาการไม่หายใน 1 อาทิตย์ ควรไปหาหมออีกครั้ง

4. โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร

ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ บิด เป็นต้น ชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ช่วงน้ำท่วม มีโอกาสเกิดการแพร่ระบาดของโรคอุจจาระร่วงได้มาก เพราะของเสีย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ ที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำท่วม

อาการ
อาการที่พบอาจแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่คือ มีอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ ถ่ายบ่อย ๆ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หรือ อาจมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือดด้วย

การป้องกัน
– ดูแลความสะอาด เท่าที่จะทำได้ในช่วงน้ำท่วม ล้างมือให้สะอาด
– กินอาหารที่ปรุงสุก
– ดื่มน้ำสะอาด
– แยกขยะ หรือของเสีย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ ไม่ให้ปนเปื้อนไปในน้ำ

5. โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)

เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ โดยเชื้อจะออกมากับฉี่ของสัตว์ แล้วปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมขัง พื้นดินที่ชื้นแฉะ เชื้อจะข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอก หรือ เข้าทางเยื่อบุตา จมูก ปาก

อาการ
– มีอาการหลังได้รับเชื้อ 4-10 วัน โดยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน
– ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะน่อง และโคนขา หรือ ปวดหลัง
– บางคนมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเสีย
– ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่รีบรักษา อาจทำให้ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้

การป้องกัน
– เลี่ยงการเหยียบ แช่น้ำเป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นต้องสวมรองเท้าบู๊ทกันน้ำ
– หลังจากแช่น้ำ ต้องรีบทความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ ฟอกสบู่ให้สะอาด โดยเฉพาะตามง่ามนิ้วเท้า หรือบริเวณที่มีแผล รอยขีดข่วน

6. โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)

เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ หากพบว่ามีอาการที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ควรรีบไปพบหมอทันที อาจให้ยาลดไข้ หรือ ใช้ยาลดไข้ เช่น ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน ลดไข้ เพราะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

อาการ
– ไข้สูงตลอดทั้งวัน ประมาณ 2-7 วัน
– ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
– มีอาการหน้าแดง อาจมีจุดแดงเล็ก ๆ ตามลำตัว แขน ขา
มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร
– ต่อมาไข้จะเริ่มลง ซึ่งในระยะนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ อาจเกิดอาการรุนแรง โดยผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น หรือมีเลือดออกผิดปกติ เช่น ถ่ายดำ หรือไอปนเลือด อาจมีภาวะช็อค และเสียชีวิตได้

การป้องกัน
– ในช่วงน้ำท่วม ที่มีน้ำท่วมขังทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพิ่มขึ้น ต้องระวังอย่าให้ยุงกัดในตอนกลางวัน นอนกางมุ้ง ทายากันยุง

7. โรคหัด (Measles)

เป็นโรคไข้ออกผื่น พบบ่อยในเด็กเล็ก เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่อาจทำให้เสียชีวิตได้จากโรคแทรกซ้อน ติดต่อกันได้ง่ายผ่านการ ไอ จาม

อาการ
– หลังได้รับเชื้อ 8-12 วัน เริ่มมีอาการไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ พบจุดขาว ๆ เล็ก ๆ ขอบแดง ในกระพุ้งแก้ม
– ช่วง 1-2 วันแรก ไข้จะสูงขึ้น และจะสูงเต็มที่ในวันที่ 4 เมื่อมีผื่นขึ้น
– ผื่นมีลักษณะนูนแดง ติดกันเป็นปื้น ๆ โดยจะขึ้นที่ใบหน้า บริเวณชิดขอบผม แล้วแพร่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา
– ต่อมาไข้จะเริ่มลดลง ผื่นจะมีสีเข้มขึ้น แล้วค่อย ๆ จางหายไปในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์

การป้องกัน
– ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด- รักษาสุขอนามัย ความสะอาด
– หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
– เด็กทารกมีภูมิต้านทานน้อย พยายามเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด

8. โรคไข้มาลาเรีย (Malaria)

อีกหนึ่งโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ไข้มาลาเรียเกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่อยู่ในตัวยุงก้นปล่องเพศเมีย โดยหากโดนยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด ยุงจะปล่อยเชื้อมาลาเรียเข้ากระแสเลือด

อาการ
– มีไข้ต่ำ ๆ คล้ายไข้หวัด
– ต่อมาจะมีไข้สูง ตัวร้อนจัด
– ปวดศีรษะ
– ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวและกล้ามเนื้อ
– หนาวสั่นสลับร้อนจนเหงื่อออก
– อาจมีอาการคลื่นไส้
หายไข้แล้วแต่กลับมาเป็นไข้ใหม่อีกครั้ง

การป้องกัน
– ควรสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวอย่างมิดชิดป้องกันยุงกัด
– ใช้ยากันยุงชนิดโลชั่นหรือสเปรย์ฉีดผิวหนังทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง โดยเฉพาะในช่วงเวลาตอนกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่ยุงก้นปล่องออกหากิน
– นอนในมุ้ง เพื่อป้องกันยุงกัด

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close