ไข้หวัดใหญ่ อันตรายใกล้ตัวของคนไทย!

โรคไข้หวัดใหญ่

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยช่วงฤดูร้อนนี้พบผู้ป่วย โรคไข้หวัดใหญ่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี2562 พบคนไทยป่วย และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่าของปีที่แล้วเลยทีเดียว

สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ปี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 8 เมษายน พบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ จำนวน 130,264 ราย และเสียชีวิตแล้ว 9 ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 7-9 ปี รองลงมาคือ อายุ 10-14 ปี เรียกว่าผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มวัยเรียนทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ผ่านมาในช่วงเวลาใกล้กัน (มกราคม – มีนาคม) พบผู้ป่วยจำนวน 40,995 ราย และผู้เสียชีวิต 3 ราย จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่าของปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว

decolgen ดีคอลเจน

การกระจายของการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่รายภาค

พบว่า ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง และมี ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ มีผู้ป่วยน้อยลงมาตามลำดับ

  • ภาคกลาง อัตราป่วย 464.75 ต่อประชากรแสนคน
  • ภาคเหนือ อัตราป่วย 275.88 ต่อประชากรแสนคน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 118.76 ต่อประชากรแสนคน
  • ภาคใต้ อัตราป่วย 81.26 ต่อประชากรแสนคน ตามลําดับ

นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยเสียชีวิตจํานวนรวมทั้งหมด 10 ราย


สถานที่ ที่พบผู้ป่วยอาการคล้าย โรคไข้หวัดใหญ่

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 เมษายน 2562 พบว่าสถานที่ ที่พบผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่มากที่สุด คือ โรงเรียน และสถานที่อื่นๆรองลงมาดังนี้

  • โรงเรียน 26 เหตุการณ์
  • เรือนจํา 18 เหตุการณ์
  • โรงพยาบาล 4 เหตุการณ์
  • ค่ายทหาร 2 เหตุการณ์
  • ค่ายฝึกตํารวจ 2 เหตุการณ์
  • สถานพินิจฯ 1 เหตุการณ์
  • แคมป์คนงาน 1 เหตุการณ์
  • วัด 1 เหตุการณ์
  • ค่ายบําบัดยาเสพติด สถานที่ละ 1 เหตุการณ์

ความรู้เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่

เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี โดยที่พบมากที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ (H1N1) (H3N2) รองลงมาได้แก่ ชนิด บี และซี

การแพร่ติดต่อ
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยสาเหตุติดต่อกันได้จากการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่กระจายอยู่ในอากาศจากการไอ หรือจามใส่กัน หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือ หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ

  • ในผู้ใหญ่ อาจแพร่เชื้อได้นานประมาณ 3-5 วัน นับจากเริ่มป่วย
  • ในเด็กเล็ก สามารถแพร่ได้นานกว่าผู้ใหญ่ อาจพบได้ 7-10 วัน

อาการป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการป่วยใน 1-2 วัน หลังได้รับเชื้อ ด้วยอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน-ขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ ไอแห้ง ๆ โดยในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ได้มากกว่าผู้ใหญ่

*ส่วนอาการคัดจมูก จาม เจ็บคอ พบเป็นบางครั้งในไข้หวัดใหญ่ แต่จะพบในไข้หวัดมากกว่า

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษา
– นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี ไม่ควรออกกำลังกาย
– ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
– รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลดให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน หากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์
– พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น


การป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่

– หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำ และสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วย

– ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร หลอดดูดน้ำ เป็นต้น

– ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย

– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นพวกผัก ผลไม้ นม ไข่

– กินอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง

– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

– ดื่มน้ำสะอาด

– ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด

– ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดกับคนกลุ่มเสี่ยงได้แก่ คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือเด็กอายุ 6 เดือนถึง 19 ปี โดยแพคเกจฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จะต่างกันออกไปในแต่ละโรงพยา่บาล ส่วนมากอัตราค่าบริการจะเริ่มต้นที่ 800 บาท


ขอขอบคุณ ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://ddc.moph.go.th / http://beid.ddc.moph.go.th

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

decolgen ดีคอลเจน

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close