เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน… อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย จะเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้างนะ?

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

สภาพอากาศช่วงนี้เปลี่ยนเร็วมาก เดี๋ยวแดดออกจนร้อนระอุ พอสักพักฝนดันตกสะอย่างงั้น และเพราะ อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย แบบนี้เอง ที่ทำให้ร่างกายล้มป่วยได้ง่ายมาก แต่ว่ามีโรคอะไรบ้างนะ ที่เสี่ยงป่วยในช่วง อากาศเปลี่ยน มาดูกันเลยดีกว่า

– โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อากาศ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา
– โรคไข้หวัด โรคยอดฮิตตลอดปี! เป็นกี่วันหาย กินยาอะไรดี? สาเหตุ อาการ วิธีรักษา
– เคล็ดลับ สำหรับคนเป็น ภูมิแพ้หน้าฝน

decolgen ดีคอลเจน

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้

1. ไข้หวัด (Common Cold)

อาการ : เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นกันได้บ่อยที่สุด เพราะมักจะเป็น ๆ หาย ๆ ตลอดทั้งปี อาการของคน เป็นหวัด ไม่ร้ายแรง มีเพียงอาการไอ จาม มีน้ำมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล อาจมีไข้ หรือไม่มีก็ได้ มักหายได้เองใน 5-7 วัน

วิธีรักษา : การ รักษาไข้หวัด จะเน้นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ แก้หวัดน้ำมูกไหล และดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำบ่อย ๆ และรักษาความอบอุ่นของร่างกาย หากช่วงที่กินยา ไม่สามารถพักผ่อนได้ ควรเลือก ยาลดน้ำมูกไม่ง่วง

ทางป้องกัน : รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการพักผ่อนอย่างเพียงพอ รักษาความอบอุ่นของร่างกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกาย

อ่านเพิ่มเติม :
เป็นหวัด ควรกินยาอะไรดี? แล้วอะไรคือสาเหตุของไข้หวัด? เรื่องควรรู้ก่อนซื้อยา
จริงหรือไม่! ตากฝนทำให้เป็นหวัด ? พร้อมวิธีกินยาลดไข้ แก้หวัด อย่างถูกต้อง

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย


2. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

อาการ : อาการคล้ายไข้หวัด แต่รุนแรงกว่า เช่น ไข้สูงกว่า ปวดศีรษะรุนแรง คัดจมูกหายใจไม่ออก เจ็บคอ ไอ และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

วิธีรักษา : รักษาแบบเดียวกับไข้หวัด คือ ให้พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ อาจกินยาลดไข้ ยาแก้หวัด ยาลดน้ำมูก ยาคัดจมูก ยาลดอาการไอ ตามอาการ หากเป็นแล้วไม่ควรปล่อยจนลุกลาม เพราะหากมีอาการรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดอักเสบ จนเป็นสาเหตุทำให้อาการทรุด และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ทางป้องกัน : หนึ่งในวิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ คือ การฉีดวัคซีนป้องกัน แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สามารถกลายพันธ์เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้ และการเป็นแต่ไข้หวัดใหญ่ละครั้ง จะเกิดจากเชื้อไวรัสเพียงหนึ่งสายพันธุ์ย่อยเท่านั้น ทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำในสายพันธุ์อื่นได้

อ่านเพิ่มเติม :
ไข้หวัดใหญ่ อันตรายใกล้ตัวของคนไทย!
วัฏจักรไข้หวัด แต่ละฤดู เราเสี่ยงเป็นหวัดอะไรบ้าง ?

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย


3. ท้องเสีย (Diarrhea)

อาการ : อาการที่พบได้บ่อย คือ ถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นตะคริวที่บริเวณหน้าท้อง ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้ หากผู้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำ มีอาการของโรคมากกว่า 2 วัน ปวดอย่างรุนแรงในช่องท้องหรือทวารหนัก มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หรือถ่ายอุจจาระมีเลือดหรือเป็นสีดำ ให้รีบไปพบแพทย์

วิธีรักษา : ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีการรักษาโดยเฉพาะ แต่สิ่งที่จำเป็น และสำคัญมาก คือการดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อชดเชยน้ำ และเกลือแร่ที่สูญเสียไป หรือดื่มน้ำชงผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส ในกรณีที่ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด จากการติดเชื้อปรสิต หรือแบคทีเรีย ไม่ควรกินยาหยุดท้องเสีย เนื่องจากจะเป็นการกักเก็บเชื้อโรค หรือของเสียไว้ในลำไส้ ทำให้หายช้าลง หรืออาการแย่ลงกว่าเดิม

ทางป้องกัน : การป้องกันอาการท้องเสีย สามารถทำได้ง่าย และทำได้หลายวิธี เช่น

– ล้างมือให้สะอาดก่อน และหลังรับกินอาหาร หรือสัมผัสกับอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ หรือจับสิ่งสกปรก (หากไม่สามารถล้างมือได้ ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค)

– เลือกกินอาหารด้วยความระมัดระวัง เช่น กินอาหารสะอาด สดใหม่ ไม่กินผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์ประเภทนม

– ไม่วางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

– ควรทำความสะอาดบริเวณที่มีการเตรียมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงต้องล้างมือให้สะอาดเมื่อเตรียมอาหาร

– เลือกดื่มน้ำที่สะอาดที่ถูกสุขลักษณะ

อ่านเพิ่มเติม :
ท้องร่วง ถ่ายจนหมดแรง ทำยังไงดีนะ?

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย


4. โรคปอดบวม (Pneumonia)

อาการ : อาการสำคัญของโรคปอดบวม คือ มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก และหอบเหนื่อย มักมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น หรือ เป็นหวัด นำมาก่อน แล้วจึงตามมาด้วยอาการไอ และหายใจหอบ อาจมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ร่วมด้วย

วิธีรักษา : ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยได้รับเชื้อชนิดใด และอาการมีความรุนแรงระดับไหน มักรักษาตามอาการของผู้ป่วย ไปพร้อมๆ กับการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่จะทำให้อาการปอดบวมทรุดลงได้ หากเป็นปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง และไม่มีอาการแทรกซ้อน

ทางป้องกัน : สำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ สามารถป้องกันอาการปอดบวมได้โดย
• หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด
• หลีกเลี่ยงควันไฟ หรือควันบุหรี่
• ดูแลให้ความอบอุ่นร่างกายอยู่เสมอ
• รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเวลาที่อากาศเย็น
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
• ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
• ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อไม่ให้มีการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

อ่านเพิ่มเติม :
9 วิธีดูแลปอด ให้แข็งแรงสุขภาพดี พร้อมสู้ภัยโควิด19


5. ภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis)

อาการ : คนส่วนใหญ่มักคิดว่า ไข้หวัด กับ ภูมิแพ้อากาศ เป็นโรคเดียวกัน เพราะมีบางอาการที่คล้ายคลึงกัน แต่สาเหตุและการรักษาของสองโรคนี้แตกต่างกัน เมื่อรักษาผิดวิธี หรือกินยาผิดชนิด จึงทำให้อาการไม่ดีขึ้น เราสามารถแยกระหว่างหวัดกับภูมิแพ้อากาศได้โดย

• ภูมิแพ้อากาศ – จามติดต่อกัน มีน้ำมูกใสไหลตลอดเวลา คันตา จมูก และคอ ระยะอาการของโรคนาน และมีอาการเป็นประจำ

• หวัด – คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยน้ำมูกมีสีเหลือง ไอตลอดวัน ระยะอาการของโรค 1-2 สัปดาห์ และเป็นโรคติดต่อ

วิธีรักษา : การรักษาภูมิแพ้อากาศ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. การกำจัด และหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้
  2. การดูแลรักษาสุขภาพตนเอง
  3. และการรักษาด้วยยากินและยาพ่นจมูก

โดยการดูแลรักษาสุขภาพตนเองจัดว่าเป็นวิธีที่สำคัญที่สุด การรักษาโรคแพ้อากาศก็เหมือนกับการ รักษาไข้หวัด คือ สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นอีก ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

ทางป้องกัน : หลีกเลี่ยงอากาศเย็น ที่มักจะทำให้เราป่วยเป็นภูมิแพ้อากาศได้ สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ ที่ต้องออกไปข้างนอกบ้าน หรือเมื่อต้องเจอมลพิษ ฝุ่นPM2.5 เป็นต้น

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

เห็นรึยังว่า แค่ อากาศเปลี่ยน ก็มีหลายโรคมารอทำร้ายสุขภาพของคุณแล้ว เพราะฉะนั้น รีบรักษาร่างกายให้แข็งแรงเสียตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ว่าสภาพอากาศจะเปลี่ยนบ่อยอีกแค่ไหน ก็จะไม่มีอะไรมาทำให้คุณป่วยได้แน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close