วัฏจักรไข้หวัด แต่ละฤดู เราเสี่ยงเป็นหวัดอะไรบ้าง ?

วัฏจักรไข้หวัด

ไข้หวัด โรคที่วนเวียนอยู่ในชีวิตเราแทบจะทุกช่วงวัย และแทบจะทุกฤดูกาล ถ้าร่างกายอ่อนแอ อากาศเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ อาการหวัดก็พร้อมจะโจมตีร่างกายได้ทุกเมื่อ ในปี ๆ นึง เราเสี่ยงกับไข้หวัดอะไรบ้าง มาดู “วัฏจักรไข้หวัด” ในแต่ละฤดู เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือกันได้ทัน

วัฏจักรไข้หวัด แต่ละฤดูมีอะไรบ้าง?

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

ฤดูร้อน > ไข้หวัดแดด

ไข้หวัดแดด (Summer Flu) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ประกอบกับต้องเผชิญอากาศที่ร้อนจัด หรือ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ร่างกายปรับตัว กับสภาพอากาศไม่ทัน ทำให้ร่างกายเกิดการสะสมความร้อนไว้ภายใน จึงทำให้ป่วยมีอาการ “ไข้หวัดแดด” ได้

ช่วงการระบาดของหวัดแดด

ไข้หวัดแดด มักเป็นกันมากช่วงหน้าร้อน ที่ที่ร้อนจัด อบอ้าว ไม่มีลมพัด ทำให้มีความเสี่ยงกับ ไข้หวัดแดดได้มาก สำหรับเมืองไทย คือ ช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 

สาเหตุไข้หวัดแดด

– ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เกิดจากร่างกายที่ไม่สามารถปรับตัว หรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ เช่น อยู่กลางแดดร้อนจัด แล้วกลับเข้ามาในห้องแอร์เย็น ๆ กะทันหัน บ่อย ๆ ซึ่งทำให้ร่างกายปรับอุณภูมิตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไม่ทัน เป็นสาเหตุของ “หวัดแดด” ได้

– สภาพแวดล้อม อากาศร้อนจัด อุณหภูมิของอากาศที่ร้อน ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่สูงขึ้น และ ไม่มีลมพัด หรือ อากาศไม่ระบาย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย

– เชื้อไวรัส หวัดแดดเกิดขึ้นจากเชื้อตัวเดียวกับไข้หวัดใหญ่ เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย ก็มีโอกาสโดนโจมตีจากเชื้อไวรัส ทำให้มีอาการไข้หวัดได้

วัฏจักรไข้หวัด

อาการไข้หวัดแดด

  • มีไข้ต่ำ ๆ วิงเวียน ปวดศีรษะ
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ
  • ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องเสีย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • นอนไม่ค่อยหลับ

ความแตกต่าง หวัดแดด กับ ไข้หวัด

ไข้หวัดจะมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ ร่วมด้วย ส่วนหวัดแดด จะไม่ค่อยมีน้ำมูก หรือมีน้ำมูกใส ๆ เพียงเล็ก น้อย และไม่มีอาการเจ็บคอ แต่จะรู้สึก ขมปาก คอแห้ง และแสบคอแทน

การดูแล รักษาอาการหวัดแดด

  • เช็ดตัวเพื่อระบายความร้อนภายในร่างกาย
  • เลี่ยงที่อากาศร้อนจัด ควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ดื่มน้ำมาก ๆ ดื่มให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  • รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่
  • นอนหลับ พักผ่อนมาก ๆ
  • หากมีไข้ อาจกินยาลดไข้ หรือยาแก้หวัดร่วมด้วย
  • อาการเหล่านี้มักจะหายเป็นปกติใน 2 สัปดาห์

วิธีป้องกันโรคหวัดแดด

– หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง โดยเฉพาะช่วงเวลาที่แดดจัด ๆ เช่น ช่วง 13.00-16.00 น.
– ใส่เสื้อคลุมกันแดดบาง ๆ ที่ระบายอากาศได้ดี หรือ กางร่มที่ป้องกันแสงยูวีได้
– สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน แทนเสื้อสีเข้ม เพื่อไม่ให้ดูดซับแสงแดด และเลือกเนื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ฝ้าใยไผ่
– ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
– รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพื่อป้องกันหวัด
– ไม่เข้าออกนอกห้อง-ในห้องแอร์กะทันหัน ควรพักในที่ร่ม เพื่อให้ร่างกายปรับตัวกับอุณหภูมิที่แตกต่างก่อน


ฤดูฝน ฤดูหนาว > ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล 

ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal Influenza) มักระบาดมากในช่วงอากาศเย็น คือ ช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ของทุกปี โรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตได้มากกว่าโรคไข้หวัดทั่วไป

ช่วงเวลาแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่

การระบาดของไข้หวัดใหญ่ เป็นการระบาดตามฤดูกาลอยู่แล้ว เพราะประเทศไทยจะมีการระบาด 2 รอบ คือ

  • ช่วงฤดูหนาว (มกราคม – มีนาคม)
  • ช่วงฤดูฝน (กรกฎาคม – ตุลาคม)

วัฏจักรไข้หวัด

สาเหตุของไข้หวัดใหญ่

เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า อินฟลูเอนซา (Influenza Virus) โดยติดต่อผ่านสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก และเสมหะของผู้ที่ป่วย เมื่อได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายก็ส่งผลให้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้

อาการไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศรีษะ
  • เจ็บคอ คอแดง
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ไอแห้ง ๆ
  • คัดจมูกน้ำมูกไหล
  • อาการมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอยู่นาน 6 – 10 วัน

การดูแล รักษาไข้หวัดใหญ่

– พักผ่อนให้เพียงพอ สามารถรักษาตัวเองได้ที่บ้าน โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ
– ดื่มน้ำในปริมาณมาก เพื่อลดอาการขาดน้ำ
– รับประทานยาลดไข้ หรือยาแก้ไอ ที่มีขายในร้านขายยาทั่วไปร่วมด้วย เช่น พาราเซตตามอล
– ใช้ยาต้านไวรัส หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยแพทย์จะให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน


ทุกฤดูกาลตลอดทั้งปี > ไข้หวัดทั่วไป

นอกจากไข้หวัดที่เกิดได้บ่อย ๆ ในแต่ละฤดูแตกต่างกันไปแล้ว ไข้หวัดที่ต้องระวังมากที่สุด คือ ไข้หวัดทั่ว ๆ ไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่สนวันเวลา ฤดูกาล หากร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่ดี พักผ่อนน้อย เครียด ก็มีโอกาสถูกโจมตีจากอาการ ไข้หวัด เป็นหวัด ได้ทุกเมื่อ

ไข้หวัด (Common Cold) คือ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน บริเวณโพรงจมูก และอาจลามมาถึงช่องปาก ที่มีอาการไม่รุนแรง พบได้บ่อยทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก โดยเฉลี่ยในเด็กมีโอกาสเป็นโรคหวัด 6-8 ครั้งต่อปี และสำหรับบางรายอาจเป็นหวัดได้มากกว่า 12 ครั้งต่อปีเด็กมีโอกาสเป็นหวัดน้อยลงเมื่อโตขึ้น

วัฏจักรไข้หวัด

สาเหตุของไข้หวัด

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่มากกว่า 200 ชนิด เชื้อที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยทุกอายุคือ กลุ่มไวรัสไรโน (rhinovirus) ซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิด รองลงมา คือ โคโรนาไวรัส (coronavirus) พาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza) เป็นต้น

อาการไข้หวัด

การดูแล รักษาไข้หวัด

เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ เพียงแต่ดูแลร่างกาย และรักษาไปตามอาการเท่านั้น

พักผ่อนให้เพียงพอ ควรหยุดพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ ไม่ควรทำงาน หรือกิจกรรมหนัก ๆ เกินไป

– ทำร่างกายให้อบอุ่น ระวังการอาบน้ำเย็นจัด เวลานอนควรห่มผ้าให้มิดชิด ไม่โดนแอร์เป่าตรง ๆ อย่าให้ร่างกายถูกฝน หรืออากาศเย็น

– ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยลดไข้ และทดแทนน้ำที่เสียไปจากไข้สูง

– ใช้ยาเพื่อรักษาไข้หวัด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้อาการไข้หวัด หายได้เร็วขึ้น โดยยาใช้รักษาไข้หวัด มักเป็นยารักษาตามอาการ ได้แก่

    • ยาแก้ปวดลดไข้ ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย และลดไข้ โดยยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาพาราเซตามอล
    • ยาลดน้ำมูก เป็นยาที่ใช้ร่วมกับยาแก้ปวด และยาแก้คัดจมูก ช่วยให้ไข้หวัดหายได้เร็วยิ่งขึ้น
    • ยาแก้ไอ คือยาที่ใช้เพื่อ บรรเทาอาการไอมีเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้เสมหะนิ่มลง และขับออกได้ง่ายขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close