“หวัดลงคอ” ทั้งคัน คัดจมูก น้ำมูกไหล ควรดูแลตนเองอย่างไรดี?

27 มิ.ย. 24

หวัดลงคอ

 

หวัดลงคอ ฟังแค่ชื่อ เผิน ๆ หลายคนอาจจะคิดว่า เป็นแค่อาการ ไข้หวัด ที่มี น้ำมูกไหลลงคอ เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว หวัดลงคอ หมายถึง โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) และมีอาการเหมือนกับโรคภูมิแพ้อื่น ๆ ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไวต่อการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ และไม่ได้เป็นโรคที่ติดต่อได้ หรือส่งผลต่อคนรอบข้างแต่อย่างใด และส่งผลต่อคนที่เป็นโรคภูมิแพ้เท่านั้น

decolgen ดีคอลเจน

อาการของหวัดลงคอ

หวัดลงคอ หรือโรคหวัดภูมิแพ้ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ถือว่าเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเยื่อบุจมูกสัมผัสสารก่อภูมิแพ้เป็นระยะเวลานาน จนเกิดการอักเสบ และทำให้เกิดอาการของโรค

ผู้ป่วยมักมีอาการคันจมูก คัดจมูก เสมหะข้นเหนียว หายใจไม่สะดวก น้ำมูกไหลทางจมูก และไอบ่อย เนื่องจากมี น้ำมูกไหลลงคอ รอยตามีสีคล้ำๆ โดยเฉพาะที่ขอบตา เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย มักมีอาการเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ จนก่อให้เกิดความรำคาญ แต่ก็ไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง

โดย หวัดลงคอ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ประเภทมีอาการเฉพาะช่วง โดยผู้ป่วยจะมีอาการเฉพาะช่วงที่มีสารก่อภูมิแพ้ในอากาศมาก ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือฤดูใดฤดูหนึ่งเท่านั้น โดยมักมีอาการในฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากมีสารก่อภูมิแพ้อยู่ในอากาศมากกว่าปกติ เช่น ไรฝุ่น สปอร์ของเชื้อรา เกสรหญ้า ดอกไม้ และวัชพืช

2. ประเภทมีอาการตลอดทั้งปี โดยผู้ป่วยจะมีอาการตลอดทั้งปี มักมีสาเหตุของการแพ้มาจากไรฝุ่น ขนสัตว์ รังแคสัตว์ แมลงสาบ หรือเชื้อรา

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก ยังเสนอให้แบ่งชนิดของโรค หวัดลงคอ แบบใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ Intermittent หรือ ผู้ป่วยที่มีอาการหวัดลงคอเป็นบางครั้ง และ Persistent หรือ ผู้ป่วยมีอาการหวัดลงคอตลอดเวลา โดยทั้ง 2 แบบนี้ จะมีอาการน้อยกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ หรือมีอาการติดต่อกันน้อยกว่า 4 สัปดาห์


อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด หวัดลงคอ

• กรรมพันธุ์หรือพันธุกรรม หากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ หวัดลงคอ เพียงคนใดคนหนึ่ง ลูกที่เกิดมาก็จะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ 50% แต่หากเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งพ่อและแม่ โอกาสเสี่ยงที่ลูกจะเป็นหวัดลงคอด้วย จะเพิ่มขึ้นเป็น 70% ทันที

• สิ่งแวดล้อมทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ทั้งภายในบ้าน และนอกบ้าน เช่น ไรฝุ่น ฝุ่น ใยนุ่น ของเสียที่ขับออกจากตัวไรฝุ่น รังแคจากสัตว์เลี้ยง แมลงสาบ เชื้อราในอากาศ และในดิน เกสรของหญ้า ดอกไม้ พืชบางชนิด เชื้อราในอากาศ ขนสัตว์ โดยเฉพาะขนแมว และขนสุนัข ล้วนแล้วแต่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ทั้งสิ้น หากได้รับสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ เป็นเวลานาน ก็จะทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้

• มลภาวะในอากาศ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ฝุ่นจากการก่อสร้าง ยากันยุง เป็นต้น

• บุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดปะปนอยู่ ซึ่งมีทั้งสารก่อมะเร็ง และสารก่อความระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ โดยควันบุหรี่ที่ออกมาจากผู้สูบบุหรี่ หรือการสูบบุหรี่มือสอง จะมีปริมาณสารพิษ มากกว่าควันที่ตัวผู้สูบบุหรี่สูบเข้าไปโดยตรงถึง 30-40 เท่า ทำให้เด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่ จะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืด มากกว่าเด็กปกติถึง 2 เท่า

• ไวรัสลงคอ เนื่องจากอากาศเปลี่ยน ไวรัสเริ่มแพร่กระจาย ทำให้เสียงเปลี่ยน เสียงแตก เสมหะข้นเหนียว


การตรวจหาหวัดลงคอ

เนื่องจาก หวัดลงคอ ถือว่าเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง การค้นหาวิธีรักษาโรคหวัดลงคอที่มีประสิทธิภาพที่สุด ก็คือการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้

โดยแพทย์จะรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามอาการ และพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งรวมถึง สภาพแวดล้อมทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน สัตว์เลี้ยง นิสัยการทานอาหาร ประวัติสุขภาพของครอบครัว ไปจนถึงความถี่ และความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น และอาจต้องตรวจภูมิแพ้เพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าถึงที่มาของอาการหวัดลงคอ ซึ่งสามารถทำได้ 3 วิธี คือ

• การทดสอบทางผิวหนังแบบสะกิด หรือ Skin Prick test ซึ่งเป็นการตรวจที่ง่าย สะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย และมีความแม่นยำมาก โดยใช้น้ำยาที่สกัดจากสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด หยดบนผิวบริเวณท้องแขน แล้วใช้เข็มหรืออุปกรณ์พิเศษสะกิดให้น้ำยาซึมลงใต้ผิวหนัง หากมีอาการแพ้สารนั้น ก็จะเกิดรอยบวมแดงขึ้นภายใน 15-30 นาที

• การทดสอบใต้ผิวหนัง หรือ Intradermal test เป็นการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ต้องการทดสอบเข้าสู่ใต้ผิวหนัง ในปริมาณเล็กน้อย และสามารถสังเกตผลได้หลังจากฉีดประมาณ 20 นาที

• การตรวจเลือด มีข้อดีคือ ไม่ทำให้เกิดการแพ้ และสามารถตรวจขณะที่มีผื่นแพ้ได้


ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหวัดลงคอ

หากหลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ หรือปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว แต่อาการหวัดลงคอยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

หวัดลงคอ

• ยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน นิยมใช้ในการรักษาหวัดลงคอ สามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น จาม คันจมูก น้ำมูกไหล คันตา ระคายเคืองตา น้ำตาไหล แดง ผื่นลมพิษ หรือผื่นผิวหนังอักเสบ โดยยาแก้แพ้บางชนิด จะเป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่บางชนิด ก็เป็นยาที่ต้องจ่ายโดยแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น มักมีอาการข้างเคียงคือ ทำให้ง่วงนอน ยกเว้น ลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ชนิดไม่ทำให้ง่วงนอน หรือง่วงน้อยมาก

• ยาบรรเทาอาการ คัดจมูก ช่วยบรรเทาอาการคัดแน่นในจมูก ลดน้ำมูก ที่เกิดจากการบวมของเนื้อเยื่อในจมูก ไม่มีส่วนประกอบของยาแก้แพ้ จึงไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงเหมือนยาแก้แพ้ ยาคัดจมูก แต่ก็ไม่สามารถบรรเทาอาการอื่น ๆ ของโรคหวัดลงคอได้เช่นกัน

• ยาแบบสเปรย์สำหรับพ่นจมูก ผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นมากระยะแรก เพราะเห็นผลเร็ว แต่เมื่อใช้ไปสักระยะ จะรู้สึกว่าต้องใช้ยาถี่มากขึ้น โดยยาที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ ที่ช่วยลดอาการคัดจมูก คัดจมูกมาก จาม คัน และน้ำมูกไหลได้เป็นอย่างดี ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ อาการระคายเคืองเฉพาะที่ และมีเลือดออกทางจมูก ไม่ควรใช้นานเกิน 3 วัน เว้นแต่ว่าเป็นคำสั่งของแพทย์

• น้ำเกลือสำหรับพ่นจมูก ช่วยบรรเทาอาการทางจมูก เช่น ช่องจมูกแห้ง หรือน้ำมูกเหนียวข้น สามารถใช้ได้บ่อยตามต้องการ

• ยาโครโมลินชนิดพ่นจมูก เป็นยาที่ช่วยยับยั้งร่างกาย ไม่ให้หลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ แต่ไม่ได้มีประสิทธิภาพกับผู้ป่วยทุกราย

• ยาไอปราโทรเปียมชนิดพ่นจมูก สามารถ ลดน้ำมูก จากโรคหวัดลงคอได้

• ยาหยอดตา ช่วยบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นกับดวงตา เช่น ตาแดง น้ำตาไหล และคันตา

• ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ มีทั้งแบบทานและแบบพ่น โดยยาแบบพ่น ถือเป็นยามาตรฐานของการรักษาโรคหวัดลงคอ ในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางหรือมาก

• วัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ เป็นยาที่อาจใช้ในผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอื่น ๆ ไม่ดี หรือเกิดผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยา หรือเป็นผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ได้ หรือเป็นผู้ที่ต้องการรักษาโรคภูมิแพ้อย่างถาวร มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมอาการแพ้ แต่ไม่สามารถรักษาอาการหวัดลงคอ ที่ไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ได้

การดูแลตนเองเพื่อป้องกันหวัดลงคอ

นอกจากวิธีขั้นพื้นฐาน อย่างการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการทุกชนิดแล้ว ผู้ที่ป่วยเป็น หวัดลงคอ ควรปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม ดังนี้

หวัดลงคอ

• งดใช้เสียง ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ แล้วนอนพักผ่อนให้มาก ๆ

• หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ภายนอกอาคาร และหลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชน หรือ สถานที่แออัด

• พยายามอยู่ภายในอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในช่วงสาย และช่วงเย็น หรือช่วงที่มีลมพัดเกสรดอกไม้ หรือสารก่อภูมิแพ้มากเป็นพิเศษ

• หลีกเลี่ยงการใช้พัดลมที่หน้าต่าง เนื่องจากจะสามารถดูดเอาเกสรดอกไม้ และเชื้อราเข้ามาในบ้านได้

• หากต้องตัดหญ้า กวาดใบไหม้ หรือทำสวน ควรสวมหน้ากากชนิด N95 และอาจต้องทานยาแก้แพ้ก่อนทำกิจกรรมดังกล่าว

• อย่าตากเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และผ้าปูที่นอนไว้กลางแจ้ง เพราะสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ สามารถปลิวมาเกาะติดกับเสื้อผ้าได้

• พยายามปิดหน้าต่าง และใช้เครื่องปรับอากาศแทน รวมถึงควรทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอยู่เสมอ

• ลดการสัมผัสกับตัวไรฝุ่น โดยเฉพาะในที่นอน ด้วยการใช้ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้านวม ที่นอน ผ้าปูที่นอน สำหรับกันไรฝุ่น และทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อน

• หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อรา โดยควบคุมความชื้นภายในบ้านให้อยู่ในระดับต่ำ และทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องครัว และชั้นใต้ดินเป็นประจำ อาจใช้เครื่องกำจัดความชื้นร่วมด้วย

• ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ฝุ่นค้างอยู่นานจนเกิดตัวไรฝุ่นขึ้น ควรทำความสะอาดพื้นด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด แทนการกวาดแห้งหรือปัดฝุ่น เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น

• ทำความสะอาด และจัดห้องนอนให้เป็นระเบียบเสมอ อย่าเก็บของจำนวนมากในห้องนอน ไม่ควรปูพรม และควรใช้เครื่องปรับอากาศมากกว่าพัดลม

• ล้างมุ้งลวดเป็นประจำ และซักผ้าม่านบ่อย ๆ

• ล้างมือทันทีหลังสัมผัส หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง

• หากแพ้สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน ให้นำสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเฉพาะภายในบ้าน ก็ควรมีการกันบริเวณ ไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องนอน


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

decolgen ดีคอลเจน

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save