โรคที่ผู้หญิงต้องรู้! “ไข้ทับระดู” คืออะไร รักษาอย่างไรดี?

27 มิ.ย. 24

ไข้ทับระดู

 

สาว ๆ ส่วนใหญ่ คงเติบโตขึ้นมาพร้อมกับว่าได้ยินคำว่า “ไข้ทับระดู” กันอยู่บ้าง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยมีประจำเดือน พอมีอาการอ่อนเพลีย เหมือนจะป่วยช่วงมีประจำเดือน เจ้าโรคไข้ทับระดูก็โผล่มาให้ได้ยินกันเป็นประจำ แล้วโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ ทำไมถึงเกิดแต่กับผู้หญิง จะดูแลรักษา หรือ ป้องกันได้อย่างไร

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

ไข้ทับระดู (Period Flu) หมายถึง การมีไข้ขณะมีประจำเดือน เพราะคำว่า ระดู หมายถึง เลือดประจำเดือน โดยผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือน ร่างกายมักจะอ่อนแอลง ภูมิต้านทานการติดเชื้อลดลง โอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อจึงง่ายกว่าปกติ

ไข้ทับระดูในอดีต อาจจะดูเป็นโรคน่ากลัวสำหรับผู้หญิง เป็นแล้วอาจจะเสียชีวิตได้ เพราะเทคโนโลยีการแพทย์ต่าง ๆ ก็ไม่ทันสมัยเหมือนสมัยนี้ เวลาเจ็บป่วย เป็นไข้ หรือติดเชื้อ ก็อาจจะรุนแรง จนเสียชีวิตได้นั่นเอง

สาเหตุของไข้ทับระดู

– ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เนื่องจากขณะมีประจำเดือนร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตเจนและโปรเจสเตอโรน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ระบบร่างกายเสียสมดุล

– มีภูมิต้านทานลดน้อยลง เป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานการติดเชื้อลดลง จึงมีโอกาสที่จะเกิดเจ็บป่วย เป็นไข้ หรือติดเชื้อง่ายกว่าปกติ

– รักษาความสะอาดไม่ดี ช่วงมีประจำเดือน มีโอกาสติดเชื้อในมดลูก และปีกมดลูกได้มากกว่าปกติอีกด้วย โดยเฉพาะหากรักษาความสะอาดอวัยวะเพศ ช่องคลอดไม่ดี

ไข้ทับระดู

ไข้ทับระดู สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

1. ไข้ทับระดู ที่ไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง

– มีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป ไม่รุนแรง
– มีไข้
– ปวดหัว ตัวร้อน
– อ่อนเพลีย

การรักษา

  • กินยาแก้ไข้หวัด ยาแก้ปวดลดไข้ หากมีอาการไข้หวัด
  • นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ไม่หักโหม ออกแรง
  • เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ หรือ เมื่อเริ่มรู้สึกเปียกชื้น
  • รักษาความสะอาดอวัยวะเพศ ช่องคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรืออาการเจ็บป่วยอื่น ๆ

2. ไข้ทับระดู ที่มีสภาวะโรคแอบแฝง

  • มีอาการไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ปวดหลัง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้องน้อย อาจเป็นได้ทั้ง 1 หรือ 2 ข้าง
  • มีตกขาวปนหนองออกมา ระหว่างมีประจำเดือน
  • เจ็บลึก ๆ ขณะมีเพศสัมพันธ์
  • เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • ประจำเดือนอาจมากผิดปกติ และมีกลิ่นเหม็น

หากมีอาการจะรุนแรงของไข้ทับระดู อาจเป็นสัญญาณของโรคที่แอบแฝง เช่น “ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ” (Pelvic inflammatory disease/ PID) คือ ภาวะที่มีการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน คือ บริเวณมดลูก (endometritis) ท่อนำไข่ (salpingitis) รังไข่ (oophoritis) และเยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน (pelvic peritonitis)

การรักษา

  • หากมีอาการไข้สูง หรือ มีความผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอด ควรไปให้หมอตรวจ
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
  • งดมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะรักษาหายขาด
  • พาคู่นอนไปรักษาด้วย เมื่อหายขาดแล้วจะได้ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

ไข้ทับระดู

ไขข้อสงสัย ไข้ทับระดู

ถาม : ไข้ทับระดู ฉีดยาได้ไหม ?
ตอบ : ฉีดได้ เมื่อเป็นไข้ทับระดู หากกินยาลดไข้ แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการไข้สูงมาก อาเจียนมาก คุณหมออาจจะฉีดยาให้ ซึ่งเป็นไข้ทับระดู สามารถฉีดยาได้ตามปกติ หากไม่ได้มีอาการแพ้ยาชนิดที่ฉีด ก็ไม่มีอันตราย

ถาม : ไข้ทับระดูห้ามกินอะไร ?
ตอบ : อาหารบางชนิด มีความเชื่อว่าควรเลี่ยงระหว่างมีประจำเดือน หรือ เป็นไข้ทับระดู เช่น น้ำเย็นจัด น้ำแข็ง อาหารฤทธิ์เย็น อาหารรสจัด เผ็ดจัด เค็มจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เนื้อแดง

ถาม : ไข้ทับระดูสระผมได้ไหม ?
ตอบ : สามารถสระผมได้ตามปกติ แต่ควรรีบเช็ดผม เป่าผมให้แห้ง ทำร่างกายให้อบอุ่น

เมื่อเป็นไข้ทับระดู ควรดูแลตัวเองอย่างไร?

  • ดูแลความสะอาดจุดซ่อนเร้น ใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างทำความสะอาด เพราะอาจทำลายเชื้อแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เพราะการอดนอน หรือ นอนน้อย ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายลดลง อ่อนเพลีย และมีโอกาสเจ็บป่วย ติดเชื้อได้ง่าย
  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์เป็นประจำ อาหารที่มีประโยชน์ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ วิตามินสูง
  • งดเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ เลี่ยงคาเฟอีน งดสูบบุหรี่
  • รักษาความสะอาดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน เปลี่ยนผ้าอนามัยไม่ต่ำกว่า 2 ชิ้นในหนึ่งวัน หรือ เมื่อรู้สึกเปียกชื้น เพื่อรักษาความสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน เพราะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อร้ายสูง เนื่องจากเวลาที่มีประจำเดือน ปากมดลูกจะเปิด เลือดจึงเป็นอาหารชั้นดีหล่อเลี้ยงแบคทีเรียให้เจริญเติบโต เมื่อเกิดการติดเชื้อจึงทำให้โรคค่อนข้างรุนแรง เกิดเป็นไข้ทับระดูขึ้น
  • ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบแก้ปวด กระเป๋าน้ำร้อน สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง และปวดกล้ามเนื้อได้ โดยวางกระเป๋าน้ำร้อน บริเวณหน้าท้องส่วนล่าง ประมาณ 15 นาที เมื่อมีอาการปวด หรือ ทำได้เรื่อย ๆ ได้ตลอดทั้งวัน
  • กินแคลเซียมเสริม แคลเซียมอาจช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดท้อง ปวดประจำเดือนได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save