กรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ ควรดูแล-รักษา ยังไงดี?

28 มิ.ย. 24

กรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ

 

กรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ ทั้งอาการแสบยอดอก เรอเปรี้ยว กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน มันช่างทรมานเสียเหลือเกิน และจากสถิติ มีผู้สูงวัยป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปี ฉะนั้น อย่านิ่งนอนใจ รู้ไว้ย่อมดีกว่าแก้! มาติดตามกันเลยว่า โรคนี้ จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีดูแล-รักษา อย่างไร เพื่อให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ห่างไกลกรดไหลย้อน…

กรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ 

โรคกรดไหลย้อน หรือโรคเกิร์ด (Gastroesophageal Reflux Disease – Gerd) เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร  ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น อาการแสบร้อนกลางอก (Heartburn) ลำคอ และกล่องเสียงอักเสบ

กรดไหลย้อน เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัย 60-70 ปีขึ้นไป เนื่องจากหูรูดกระเพาะอาหารในผู้สูงวัยจะหย่อนมากกว่าปกติ เมื่อหูรูดกระเพาะปิดไม่สนิท ก็จะมีอาการของโรคกรดไหลย้อนตามมา

สาเหตุ และปัจจัยทำให้เกิดกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ

  • อายุที่สูงขึ้น
  • กินแล้วนอน
  • สูบบุหรี่มาอย่างยาวนาน
  • จากโรคเรื้อรังต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคอ้วน
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย และเครียดบ่อย

อาการของโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงวัย

1. รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ขึ้นมาจนถึงหน้าอก และไล่ขึ้นมาจนร้อนบริเวณคอ
โดยส่วนมากอาการแบบนี้ จะเป็นหลังจากรับประทานอาหารที่เป็นมื้อหลัก หรือการนอนหงาย โน้มตัวไปข้างหน้า ยกของหนัก ก็จะทำให้รู้สึกเปรี้ยว หรือขมในคอ และปาก

1. เกิดอาการขย้อนอาหาร และเรอจนน้ำย่อยขึ้นมาสัมผัสที่คอ
ทำให้รู้สึกถึงรสเปรี้ยว และแสบบริเวณคอหอย หรืออาจมีรสขม ๆ ของน้ำดีด้วย นอกจากนี้การหายใจก็อาจมีกลิ่นออกมาเช่นกัน

2. จุกแน่นยอดอก คลื่นไส้
ให้ความรู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย และมีอาการเรอบ่อย ๆ

3. มีอาการไอบ่อย ๆ
รู้สึกเหมือนมีเสมหะอยู่ในคอ เป็นอาการที่เกิดจากการที่กรดไหลย้อนอย่างรุนแรง โดยกรดไหลย้อนขึ้นมาถึงปาก และคอหอยนั่นเอง และอาจทำให้โรคหอบหืดกำเริบได้

4. รู้สึกขมคอ เจ็บคอ
มีเสียงแหบพร่าเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า หรืออาจมีอาการไอเรื้อรัง เปรี้ยวปาก และเรอบ่อย ๆ ร่วมด้วย

5. ในบางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อน
โดยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด กลืนอาหารลำบาก ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ และอาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกล่องเสียงได้

การดูแล ป้องกันโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงวัย

การดูแลโรคกรดไหลย้อน จะเน้นย้ำไปที่การรับประทานอาหารเป็นหลัก เพราะอาหารเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้

1. ไม่นั่งเอนหลัง หรือนอน หลังรับประทานอาหารทันที ควรเว้นระยะอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

2. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เน้นอาหารย่อยง่าย ไม่เหนียว หรือแข็ง

3. มื้อเย็นรับประทานให้น้อย และไม่ควรทานก่อนเข้านอน

4. ควรรับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง หรืออาจจะแบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ

5. เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องโน้มตัว ก้มตัวลง หลังรับประทานอาหาร

6. เลี่ยงอาหารที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น อาหารรสจัด น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

7. ลดน้ำหนัก บริหารร่างกาย ลดไขมันบริเวณหน้าท้อง

8. ควบคุมการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาขยายหลอดลม เป็นต้น

9. ลดความเครียด เพราะ ความเครียดจะกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ

10. นอนหนุนหมอนสูง เพื่อป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน

11. หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้า หรือเข็มขัดที่รัดแน่น

12. รับประทานยาที่มีสรรพคุณลดกรด

อาหาร 7 ชนิด สำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน

1. ผัก (Vegetable) โดยเฉพาะผักใบเขียว ผักที่มีกากใยสูง
เช่น ผักบุ้ง ผักกาด บรอกโคลี ผักเหล่านี้ส่งผลให้ความเป็นกรดในกระเพาะลดต่ำลง ทำให้อาการแสบร้อนหน้าอกลดลง

2. น้ำขิง (Ginger water)
น้ำขิงช่วยให้กระเพาะไม่อืดแน่น ทำให้กรดไม่ดันขึ้นมาแสบร้อนที่หน้าอก

3. ธัญพืช (Whole grain)
เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท ธัญพืช มีใยอาหารเยอะ ทำให้กรดไหลย้อนลดลง และยังช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

4. อาหาร-ผลไม้ ที่ไม่เปรี้ยว (Low-Acid Foods)
เช่น แตงโม ฝรั่ง แคนตาลูป ดีต่ออาการกรดไหลย้อน ผู้ป่วยกรดไหลย้อนควรเลี่ยง มะนาว ส้ม เกรปฟรุ๊ต เพราะมีรสเปรี้ยวสูง

5. กลุ่มอาหารที่มีไขมันต่ำ (low fat foods)
เช่น อกไก่ อาหารทะเล อาหารย่อยได้ เพราะ เป็นอาหารที่มีไขมันน้อย ย่อยง่าย จึงช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้

6. ไข่ขาว (Egg white)
เนื่องจากไข่ขาวมีโปรตีนชั้นดี มีแคลอรีต่ำ คอเลสเตอรอลต่ำ จึงทำให้ร่างกายย่อยง่าย อิ่มเร็ว ไม่ทำให้ทานอะไรอื่นเพิ่มเยอะ ควรเลี่ยงไข่แดง เพราะมีคอเลสเตอรอลสูง

7. ไขมันดี (HDL) ไล่ไขมันเลว (LDL)
เช่น วอลนัท ถั่วอัลมอนด์ ปลาประเภทต่าง ๆ ที่มีโอเมก้า-3 ทำให้อาการกรดไหลย้อนดีขึ้น ระบบขับถ่ายดีขึ้น เพราะ ในถั่วก็มีกากใยสูง

เมื่อไรต้องรีบพบแพทย์

  • ผู้ป่วยอาเจียนบ่อย หรือมีเลือดปน
  • กลืนลำบาก
  • อุจจาระมีสีดำเข้ม หรือมีเลือดปน
  • อ่อนเพลีย ซีด
  • น้ำหนักลดอย่างต่อเนื่องโดยไม่สาเหตุ
  • กินยาครบตามแพทย์สั่งแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง

อ้างอิง : 1. สสส.   2. paolohospital  3. phyathai-sriracha 4. Doctor Top

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save