“วัณโรคหลังโพรงจมูก” โรคร้าย! ที่คนไทยต้องรู้

วัณโรคหลังโพรงจมูก

จากเหตุการณ์เสียชีวิตของ คุณน้ำตาล-บุตรศรัณย์ ทองชิว หรือที่รู้จักกันในนาม “น้ำตาล เดอะสตาร์ 5” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 ด้วยโรค “วัณโรคหลังโพรงจมูก” ซึ่งถือเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้น้อยมากทั่วโลก วันนี้ GedGoodLife จึงขอให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ว่ามีสาเหตุ อาการ และป้องกันได้อย่างไรบ้าง

วัณโรค คืออะไร?

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Mycobacterium tuberculosis ที่ติดต่อสู่คนผ่านระบบทางเดินหายใจ ผ่านทางละอองเสมหะ จากการ ไอ หรือ จาม ทั้งนี้วัณโรคส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอด ซึ่งพบร้อยละ 80 สำหรับ วัณโรคหลังโพรงจมูก พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของวัณโรคที่พบนอกปอด และสามารถรักษาให้หายได้

ความร้ายของโรคนี้ คือ เชื้อร้าย Mycobacterium tuberculosis ค่อนข้างเล่นซ่อนแอบเก่ง ไม่ค่อยแสดงอาการ กว่าผู้ป่วยจะทราบ จะรู้ตัว ก็มักจะมีอาการหนักแล้ว จึงค่อยไปหาหมอนั่นเอง

ดีคอลเจน


เชื้อวัณโรค มักก่อตัวที่ไหน?

เชื้อวัณโรคก่อตัวในปอด และกระจายโดยกระเสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตามกระดูก ข้อต่อต่าง ๆ ลำไส้ ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และโพรงจมูก เป็นต้น มีทั้งพัก และแฝงตัว จนหากภูมิต้านทานร่างกายลดลงก็จะเกิดโรคขึ้น

* วัณโรคปอดที่พบมาก เพราะเป็นจุดที่รับเชื้อ และเป็นที่มีออกซิเจนมาก

วัณโรคหลังโพรงจมูก

โอกาสติดเชื้อวัณโรคหลังโพรงจมูก สูงแค่ไหน?

จากการให้สัมภาษณ์ของ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า… เชื้อวัณโรคหลังโพรงจมูกมีโอกาสติดต่อกันได้น้อย จากสถิติของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 พบคนไทยเป็นวัณโรคประมาณ 80,000 คน จากประชากร 69 ล้านคน

ร้อยละ 83 จะตรวจพบที่ปอด
ร้อยละ 17 ตรวจพบนอกปอด

สำหรับ วัณโรคหลังโพรงจมูก พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของวัณโรคที่พบนอกปอด

จากรายงานทางการแพทย์ทั่วโลกพบว่า ผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ และประมาณร้อยละ 70 มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หรือมีก้อนบริเวณหลังโพรงจมูก

อาการของ วัณโรคหลังโพรงจมูก

ผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ และประมาณร้อยละ 70 มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หรือมีก้อนบริเวณหลังโพรงจมูก ไม่เหมือนกับโรควัณโรคปอดทั่วไปที่จะมีอาการไอเรื้อรังติดต่อกันนาน ไอมีเลือดออก มีอาการเจ็บหน้าอก รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดผิดปกติ และมีไข้ร่วมด้วย

วัณโรคหลังโพรงจมูก

แพทย์ตรวจพบ วัณโรคหลังโพรงจมูก ของคุณน้ำตาลได้อย่างไร?

วันที่ 26 มิ.ย. เวลา 10.00 น. “ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา” คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานผลการตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูก “น้ำตาล บุตรศรัณย์ ทองชิว” โดยมี “รศ.นพ.ปรัญญา สากิยลักษณ์” แพทย์เจ้าของไข้ ร่วมด้วย ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช

รศ.นพ.ปรัญญา : “คืนนั้นหลังจากที่คุณน้ำตาลได้เสียชีวิต ในตอนเช้าเราได้ประสานงานไปทางแพทย์หู คอ จมูกให้มาช่วยดำเนินการส่องกล้องเข้าไปทางรูจมูกเพื่อเข้าไปดูด้านหลังโพรงจมูก เนื่องจากลักษณะอาการที่คุณแม่คุณน้ำตาลเล่าให้ฟัง คนไข้ไม่ได้ไอเป็นเลือด แต่มีลักษณะเลือดออกจากหลังโพรงจมูก เป็นจุดที่เราสงสัยมากที่สุด จึงได้ขออนุญาตส่องกล้องเข้าไปสำรวจดูด้านโพรงจมูก

เมื่อส่องแล้วก็พบว่ามีลักษณะบริเวณโพรงจมูกมีสีของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ หลังจากนั้นเราจึงได้ปรึกษาคุณแม่ของคุณน้ำตาลขออนุญาตตรวจชิ้นเนื้อ คุณแม่ก็กรุณาอย่างยิ่ง ที่ให้เราเอาชิ้นเนื้อตรงนั้นไปตรวจ เราก็ได้ทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ 2 ชิ้นเล็กตัดผ่านกล้อง หลังจากที่เราตัดชิ้นเนื้อแล้วก็มีเลือดไหลออกมาเป็นปริมาณมาก เราจึงมั่นใจว่าบริเวณนี้เป็นสาเหตุของการที่เลือดออกมา”

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ :ทางศิริราชได้ทำการเอาชิ้นเนื้อไปตรวจพยาธิวิทยาเพื่อหาสาเหตุ ปรากฏว่าผลของชิ้นเนื้อที่ออกมามีลักษณะที่เข้าได้กับวัณโรค มีบางส่วนของเซลล์และเนื้อเยื่อออกไปในลักษณะทำนองแบบนั้น แต่ในชิ้นเนื้อนั้นไม่พบเชื้อ ทางเราก็อยากให้แน่ใจว่าการวินิจฉัยเพื่อยืนยันว่ามันถูกต้อง

เราเลยตรวจเทคนิคที่เรียกว่าวิธี PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นการตรวจดีเอ็นเอของสิ่งที่เราจะดู ปรากฏว่าผลเป็นบวก ก็สรุปการวินิจฉัยโรคว่าเป็นวัณโรคที่ด้านหลังโพรงจมูก

ข้อมูลอ้างอิง บทสัมภาษณ์รศ.นพ.ปรัญญา และ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ จาก : mgronline.com

วัณโรคหลังโพรงจมูก

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค

  • จำนวนเชื้อวัณโรคที่อยู่ในอากาศ
  • ความเข้มข้นของเชื้อโรคซึ่งขึ้นกับปริมาณเชื้อ และการถ่ายเทของอากาศ
  • ระยะเวลาที่คนอยู่ในห้องที่มีเชื้อโรค
  • ภูมิคุ้มกันของคนที่สัมผัสโรค

การรักษาวัณโรค

ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดีหลายชนิด การรักษาจะให้ยาร่วมกันอย่างน้อย 3 ชนิด เพื่อลดอัตราการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพของยา ยาที่ใช้ได้แก่ Streptomycin, Pyrazinamide, Rifampin, Isoniacid, Ethambutol การรักษาจะได้ผลดีถ้ามารับการรักษาเสียแต่ระยะเริ่มแรก และจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องดูแลให้พักผ่อนและให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไวตามิน เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโรค

ติดต่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาวัณโรคเพิ่มเติมได้ที่กรมควบคุมโรค : https://ddc.moph.go.th


จะเอาตัวรอดจากวัณโรค ได้อย่างไร?

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค หรือ ผู้ที่เราสงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ป่วยมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเลือดออก และมีไข้ร่วมด้วย

2. หลีกเลี่ยงอยู่ในห้องที่อากาศไม่ได้ไหลเวียน เพราะ หากมีใครสักคนเข้ามาอยู่ก็มีโอกาสที่จะติดได้ แต่หากจำเป็นต้องอยู่ในห้องที่แออัด ให้ใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันการสูดดมละอองฝอยน้ำลายจากการไอ จาม ของผู้ป่วย

* โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า “ปัจจัยวัณโรคยังอยู่ในเมืองไทย ก็คือ เรายังอยู่ในระบบอาคารปิด ในห้องที่อากาศไม่ไหลเวียน และระบบกรองอากาศไม่ได้ละเอียด แต่ถ้าภูมิต้านทานดี ก็สามารถป้องกันได้ระดับหนึ่ง เพราะวัณโรคสามารถอยู่ในอากาศทั่ว ๆ ไป และคุณน้ำตาลเองก็ไม่ได้มีความเสี่ยงอะไร แต่ถ้าอยู่ในออฟฟิศเดียว และมีคนเป็นก็อาจจะติดได้ ถ้าภูมิต้านทานต่ำ”

3. หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโรควัณโรค

4. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เชื่อว่าใครก็คงทราบข้อนี้ดี ว่าสุขภาพดี เกิดจากร่างกายที่แข็งแรง เมื่อภูมิต้านทานโรคดี ก็จะมีความเสี่ยงติดเชื้อวัณโรคน้อยลงมาก

5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี รวมถึงการตรวจเกี่ยวกับวัณโรคโดยเฉพาะด้วย

6. ฉีดวัคซีนป้องกันโรควัณโรค องค์การอนามัยโลกแนะนำ ควรเริ่มให้ วัคซีนป้องกันวัณโรค BCG ตั้งแต่แรกเกิด

วัณโรคสามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายอวัยวะ ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่มีอาการไอเป็นเลือด (แม้จะมีจำนวนเลือดออกมาไม่มากก็ไม่ควรรอช้า) น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ ๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่เป็น เพื่อได้รับการรักษาทันท่วงทีนั่นเอง

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ดีคอลเจน

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close