เมื่อมีอาการจาม แพ้ฝุ่น ควรกินยาแก้แพ้อย่างไรดี?

27 มิ.ย. 24

แพ้ฝุ่น

 

วิกฤตฝุ่นจิ๋วPM2.5 กลับมาอีกแล้ว! ทำให้ประชาชนในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีอาการ “แพ้ฝุ่น” คัน คัดจมูก ไอ จาม น้ำมูกไหล คันตา ผิวหนังอักเสบ กันเยอะมาก แล้วจะปรับตัวดูแลรักษาตนเองกันอย่างไร กินยาแก้แพ้ชนิดไหนดี? วันนี้ GedGoodLife มีคำตอบมาให้แล้ว

โรคภูมิแพ้ดูแลด้วย อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด กลุ่มไม่ทำให้ง่วง

ฝุ่น คืออะไร?

ฝุ่น เป็นอนุภาคในอากาศที่มีแหล่งที่มาจากหลาย ๆ ที่ เช่น ฝุ่นจากดินที่ถูกลมพัดขึ้นมา ฝุ่นจากการระเบิดของภูเขาไฟ หรือจากมลภาวะต่างๆ ฝุ่นในที่พักอาศัย สำนักงาน หรือแม้แต่ ละอองเกสรของพืช เส้นผมหรือขนของคนและสัตว์ สิ่งทอ เส้นใย เศษผิวหนังของมนุษย์ สิ่งหลงเหลือจากอุกกาบาต และจากอีกหลายอย่าง หลายวัตถุ ในสภาพแวดล้อมทั่วไป

ฝุ่นละอองที่มีอยู่ในบรรยากาศรอบ ๆ ตัวเรา มีขนาดตั้งแต่ 0.002  ไมครอน  ซึ่งเป็นกลุ่มของโมเลกุล (มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  ต้องใช้จุลทรรศน์แบบอิเลคตรอน)ไปจนถึงขนาดใหญ่กว่า 500 ไมครอน ซึ่งเป็นฝุ่นทรายขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ฝุ่นที่มองเห็นด้วยตาเปล่ามีขนาดตั้งแต่ 50 ไมครอนขึ้นไป)

แพ้ฝุ่น มีอาการอย่างไร ?

อาการแพ้ฝุ่น เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่คนที่มีความเสี่ยงที่จะแพ้ฝุ่นได้มาก คือ คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหอบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อในปอดเรื้อรัง รวมถึงโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เมื่อเจอกับช่วงฝุ่นละอองในอากาศมาก ๆ จะทำให้มีอาการแพ้ฝุ่นขึ้นมาได้ อาการแพ้ฝุ่นที่สังเกตได้ คือ

  • ระคายเคือง แสบตา ตาแดง
  • อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือแสบจมูก
  • ไอ จามบ่อย ๆ
  • หากเป็นหอบหืดอยู่แล้ว อาจจะหายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงวี๊ด
  • แน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย
  • มีอาการคัน ระคายเคืองผิวหนัง

สาเหตุของอาการ แพ้ฝุ่น

ภูมิแพ้ หรืออาการแพ้ฝุ่น มี 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ

1. พันธุกรรม หากพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ มีโอกาสที่ลูกที่เกิดมา จะเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น หรือ มีอาการแพ้ต่าง ๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่สามารถแก้ไขในระดับพันธุกรรมได้

2. สิ่งแวดล้อม ภูมิแพ้ หรืออาการแพ้ต่าง ๆ สาเหตุส่วนใหญ่ มาจากสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม ถ้าหากคุณมีอาการแพ้ฝุ่น เช่น เมื่อมีฝุ่นละอองเยอะ ๆ อากาศแย่ อากาศเปลี่ยนแล้วรู้สึกมีอาการแพ้ หายใจเข้าไปไม่สะดวก มีอาการคัน ไอ จาม แสดงว่าแพ้สารก่อภูมิแพ้บางอย่างในอากาศ ซึ่ง อาจจะไม่ใช่แค่ฝุ่นละอองอย่างเดียว แต่อาจจะเป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิด ๆ อื่น ๆ ที่ปะปนอยู่กับฝุ่น

ที่มาของฝุ่น ที่ทำให้แพ้ฝุ่น

สาเหตุของอาการแพ้ฝุ่น อาจจะคิดว่าเกิดจากฝุ่นละอองเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ฝุ่นละอองไม่ใช่สาเหตุทั้งหมด เพราะฝุ่นมีทั้งฝุ่นในบ้าน และฝุ่นจากนอกบ้าน และสิ่งที่เราแพ้จริง ๆ อาจไม่ใช่แค่ฝุ่น แต่เป็นสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ซ่อนตัวอยู่กับฝุ่น

ฝุ่นละออง ฝุ่นละอองในอากาศ มาจาก 2 แหล่ง คือ

  • ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีที่มาจาก หิน ดิน ทราย เขม่าควันไฟป่า เป็นต้น
  • ฝุ่นละอองจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้าง เช่น การก่อสร้าง รื้อถอนอาคาร คมนาคม การจราจร อุตสาหกรรม โรงงาน ทำความสะอาดต่าง ๆ ก็ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย

อ่านบทความเพิ่มเติม —> มลพิษ – วิกฤตจากน้ำมือมนุษย์ ที่คนไทยต้องรู้ (พร้อมอัพเดทสถานการณ์ PM2.5)

สารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ ที่กระตุ้นให้แพ้

ไรฝุ่น เวลาบอกว่าแพ้ไรฝุ่น เราไม่ได้แพ้ตัวไร แต่แพ้มูลของไรฝุ่น ซึ่งมูลของมันจะมีฤทธิ์เป็นโปรตีน และลอยฟุ้งในอากาศได้ง่าย หากใครที่แพ้ไรฝุ่น เป็นภูมิแพ้ เมื่อสูดเข้าร่างกายก็ทำให้เกิดอาการแพ้ ภูมิแพ้กำเริบได้ โดยไรฝุ่นจะอาศัยอยู่มากตามที่นอน เครื่องนอน ตุ๊กตาผ้านุ่ม ๆ เมื่อมูลไรฝุ่นฟุ้งกระจายปะปนกับฝุ่นในอากาศ ก็อาจทำให้เราเข้าใจว่า แพ้ฝุ่น

อ่านบทความ —> ไรฝุ่น ภัยเงียบ ร้ายลึก สาเหตุของโรคภูมิแพ้!

ละอองเกสรพืช เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ มีอนุภาคขนาดเล็ก ปลิวไปได้หลายกิโลเมตร เช่น ละอองเกสรหญ้า หญ้าแพรก ละอองเกสรดอกไม้ ละอองเกสรต้นไม้ ละอองเกสรวัชพืชบางชนิด

สัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข หรือ สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ที่มีขน เช่น กระต่าย หนูตะเภา เป็ด ไก่ ซึ่งสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์เลี้ยง มาจากรังแค ขนสัตว์ ซึ่งฟุ้งกระจายปะปนกับฝุ่นละออง ทำให้เราแพ้ได้

ซากแมลงสาบ สารก่อภูมิแพ้ในแมลงสาบ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้มาก โดยมาจากตัวเปลือกแข็งหุ้มตัว ขา น้ำลาย อุจจาระ และเศษโปรตีนของแมลงสาบ ที่เรามองแทบไม่เห็น ปะปนอยู่กับฝุ่นในบ้าน

สถิติค่าฝุ่นละอองในประเทศไทย

กรมควบคุมมลพิษ ได้นำเสนอข้อมูลความเข้มข้นฝุ่นพิษ PM2.5 รายวัน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2554-2561 พบว่าในช่วงเดือนธันวาคม ต่อเนื่องเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของทุกปี ค่าฝุ่นพิษ PM2.5 ในกรุงเทพฯ เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ทั้งหมด

หลังจากผ่านช่วงเดือนมีนาคมไปแล้วของทุกปี ค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศจะลดลง ซึ่งน่าจะเกิดจากการการเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน ซึ่งอากาศจะมีการไหลเวียนมากกว่าในช่วงต้นปี จึงทำให้ฝุ่น PM2.5 ถูกพัดไป

นอกจากนี้ หากเทียบกับค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกำหนดให้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นขนาด PM2.5 ควรต่ำกว่า 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จะยิ่งเห็นว่าความหนาแน่นของฝุ่นละอองไทยอยู่ในระดับที่เกินกว่ามาตรฐาน

โดยเฉพาะบางเดือนจะมีค่าเฉลี่ยของฝุ่นละออง สูงกว่ามาตรฐานมาก มักจะเป็นช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ในแต่ละปี

แพ้ฝุ่น จะเลือกกินยาแก้แพ้อย่างไรดี ?

อาการแพ้ฝุ่น คือหนึ่งในอาการของภูมิแพ้ หรือ อาการจมูกภูมิแพ้อักเสบ ซึ่งบางคนอาจจะมีอาการแพ้กับร่างกายได้หลายระบบ เช่น อาจมีอาการผื่นขึ้นที่ผิวหนังร่วมด้วย ซึ่งการรักษาด้วยยา ก็สามารถใช้ยาแก้แพ้ได้

ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสทามีน (Antihistamine) ใช้รักษาและระงับอาการโรคภูมิแพ้ และ อาการแพ้อื่น ๆ ซึ่งเกิดจากการหลั่งสารฮิสตามีนออกมาเมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้เกิดอาการคัน จาม มีน้ำมูก น้ำตาไหล

ยาแก้แพ้ มี 2 ประเภท คือ

1. กลุ่มยาแก้แพ้ แบบเก่า หรือ แบบง่วง เป็นยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสทามีนรุ่นเดิม ซึ่งตัวยาสามารถผ่านเข้าสู่สมองและทำให้เกิดอาการง่วงได้ แต่ยาออกฤทธิ์ได้ไม่นาน จึงต้องกินยาวันละหลายครั้ง เพื่อให้การรักษาอาการแพ้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2. กลุ่มยาแก้แพ้แบบใหม่ หรือ แบบไม่ง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ลอราทาดีน (loratadine) จัดเป็นยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสทามีนแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเป็นยาแก้แพ้ที่กินแล้ว ไม่ทำให้ง่วง เนื่องจากยาชนิดนี้ไม่ผ่านเข้าสู่สมอง จึงไม่ทำให้ง่วงหลังใช้ยา ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพดี

กินเพียงวันละ 1 เม็ด ออกฤทธิ์ได้นาน 24 ชม. ไม่จำเป็นต้องกินแค่ตอนกลางคืน กินระหว่างวัน หรือ ตอนทำงานก็ได้ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ราคาไม่สูง

การใช้ยาลอราทาดีน

  • ทานยาพร้อมน้ำเปล่าเพียง วันละ 1 เม็ด เท่านั้น
  • ใช้ยาในปริมาณ และระยะเวลาตามฉลากกำกับ หรือ แพทย์สั่ง
  • อย่ากัด หรือเคี้ยวเม็ดยา ควรรับประทานโดยกลืนยาลงไปทั้งเม็ด
  • เมื่อลืมรับประทานยาให้กินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้เวลาของมื้อต่อไป ให้รอกินยาของมื้อต่อไป และไม่ควรกินยาเพิ่มเอง
  • ควรแจ้งแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
  • เก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส

*นักบิน หรือ ผู้ขับขี่รถยนต์ สามารถทานยาชนิดนี้ได้ เพราะไม่ทำให้ง่วงซึม

ขนาดและวิธีใช้ : สำหรับยาลอราทาดีน ขนาด 10 มล. ผู้ใหญ่ และเด็กอายุเกิน 12 ปี ทาน 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง

เมื่อมีอาการ แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ มีอาการคัน น้ำมูกไหล ไอจาม จากภูมิแพ้ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา เพื่อซื้อยาต้านฮีสทามีน หรือยาแก้แพ้กินได้เอง เช่น ยาลอราทาดีน แต่ควรกินตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือ แพทย์ด้วย


ป้องกันตัวเองอย่างไร จากอาการแพ้ฝุ่น ?

แพ้ฝุ่น

หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมนอกบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มที่ร่างกายอ่อนแอ เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้ป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่นโรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้ โรคหัวใจ ไม่ควรออกจากบ้าน หรือไปในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองมาก

สวมหน้ากากอนามัยที่กันฝุ่นได้ หากต้องออกจากบ้าน ให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น และสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจมีเสียงวี๊ด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ หรือวิงเวียนศีรษะ ควรรีบไปหาหมอน

ใช้เครื่องกรองอากาศ ควรมีเครื่องกรองอากาศ หรือ เครื่องฟอกอากาศติดตั้งไว้ที่บ้าน หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองมาก เพราะฝุ่นสามารถเล็ดลอดเข้ามาในบ้านได้ และควรเลือกเครื่องกรองอากาศ หรือ เครื่องฟอกอากาศที่เป็นระบบ HEPA ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณละอองของสารก่อภูมิแพ้ลดลงได้

ควรใช้ยาพ่นป้องกันหอบ เมื่อเกิดอาการหอบหืด ยาพ่นจมูกหรือหากเป็นภูมิแพ้ โดยหากเป็นหอบหืดควรพกยาพ่นฉุกเฉินที่เป็นยาขยายหลอดลมติดตัวไว้เสมอ

กินยาแก้แพ้ หากมีอาการภูมิแพ้ ควรกินยาแก้แพ้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรลดยาเอง หรือหากมีอาการแพ้ อาการคัน ไอ จาม น้ำตาไหล น้ำมูกไหลจากการแพ้ฝุ่น แพ้อากาศ ควรกินยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสทามีน จนกว่าอาการจะดีขึ้น

ใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดบ้าน การใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดในบ้าน ดีกว่าการใช้ไม้กวาด หรือการปัดฝุ่น ที่จะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายได้ง่าย และควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ

อ่านบทความเพิ่มเติม —> ฝุ่นไรมันเยอะ! วิธีจัดบ้านให้ห่างไกลภูมิแพ้ ต้องทำอย่างไร?

ปิดประตูหน้าต่างในช่วงที่มีวิกฤติฝุ่นละออง หมั่นคอยตรวจเช็กค่าฝุ่นละอองในอากาศ หากอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองสูงเกินมาตรฐาน ควรปิดบ้านให้สนิท ปิดประตูหน้าต่าง อาจจะป้องกันฝุ่นได้บางส่วน และเปิดเครื่องปรับอากาศ และเครื่องกรองอากาศในบ้าน

อ่านบทความเพิ่มเติม —> 4 แอปพลิเคชัน วัดค่าฝุ่นละออง โหลดด่วน! รู้ทันมลพิษ PM2.5

ทำความสะอาดบ้าน หมั่นทำความสะอาดบ้านเรือนให้สะอาดเป็นประจำ ป้องกันแมลงสาบ และไรฝุ่น เพราะไรฝุ่นเป็นสาเหตุการเกิดภูมิแพ้ในบ้านเป็นอันดับต้น ๆ การทำความสะอาด กำจัดไรฝุ่น ทำได้ด้วยการใช้ความร้อน เครื่องนอน ที่นอน ผ้าม่าน ตุ๊กตา ส่วนสิ่งของที่เป็นขน เป็นผ้าที่อาจเป็นที่อยู่อาศัยของไรฝุ่น ควรซักด้วยน้ำร้อน 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือ นำไปตากแดดแรง ๆ เพื่อกำจัดไรฝุ่น

 

อ้างอิง :
1. http://pcd.go.th/ 2. wikipedia.org

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save