4 เรื่องต้องรู้! ก่อนนัดคุณหมอเพื่อ ตรวจสุขภาพประจำปี

สุขภาพเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ แม้ว่าหลายคนอาจจะคิดว่าการตรวจสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่เสียเงินโดยใช่เหตุ เพราะตัวเองมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์เป็นปกติอยู่แล้ว

แต่ความจริงแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปี อย่างสม่ำเสมอนับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายจะช่วยให้คุณทราบได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมได้อย่างทันท่วงที

นอกจากนี้ ยังทราบโอกาสการเกิดโรคในอนาคตได้ด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาโรคให้หายขาดได้มากขึ้น หากตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ

โดยวันนี้เรามี 4 เรื่องต้องรู้ สำหรับการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการ ตรวจสุขภาพประจำปี มาดูกันเลยว่ามีข้อควรอะไรที่คุณต้องรู้ และระวังกันบ้าง

ตรวจสุขภาพประจำปี

4 ข้อต้องรู้ เตรียมตัวให้พร้อม ตรวจสุขภาพประจำปี

1. นอนหลับให้เพียงพอ
ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยควรนอนพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ

โดยการนอนหลับนับว่าเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด โดยจะช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าในตอนเช้า อีกทั้งยังช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยควบคุมน้ำหนักด้วย เนื่องจากการนอนไม่พอจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวมากขึ้นด้วย

2. อดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
นอกจากจะนอนพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี จะต้องอดอาหาร และน้ำด้วยอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง เพราะหากไม่อดอาหารอาจทำให้กระทบต่อผลตรวจของแพทย์ได้

โดยผู้ที่ต้องการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดควรงดอาหาร และเครื่องดื่มอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ส่วนผู้ที่ต้องการตรวจไขมันในเลือดควรงดอาหาร และเครื่องดื่มอย่างน้อย 12 ชั่วโมง

3. สุภาพสตรี ไม่ควรอยู่ในช่วงก่อน และหลังมีประจำเดือน 7 วัน
สำหรับสุภาพสตรีควรงดตรวจสุขภาพประจำปีในช่วงก่อน และหลังมีประจำเดือน 7 วัน เนื่องจากการตรวจปัสสาวะอาจมีเลือดปนเปื้อน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการแปลผลตรวจได้

4. งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
เนื่องจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์มีผลต่อการตรวจปัสสาวะ ดังนั้น ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

และทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่คุณควรรู้ และเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมีประวัติสุขภาพอื่น ๆ ควรนำผลการตรวจจากแพทย์มาด้วย เพื่อประกอบการตรวจวินิจฉัย

ทั้งนี้ การตรวจสุขภาพเบื้องต้นนั้น จะมีการตรวจร่างกายโดยทั่วไปก่อนเสมอ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต และระบบต่าง ๆ ของร่างกาย หากแพทย์พบว่าผู้เข้ารับการตรวจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคบางโรค แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่อไป

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ดีคอลเจน

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close