วิ่งแล้วไอ มีเสมหะมาก เกิดจากอะไร ดูแลตัวเองยังไงให้หายไอ?

วิ่งแล้วไอ

ใครเป็นบ้าง… ออกไปวิ่งทีไร ต้องมีอาการไอมากวนใจทุกที?! เพื่อนคนอื่น ๆ ก็วิ่งได้ปกติไม่เป็นอะไร แต่กับเรา… วิ่งแล้วไอ มีเสมหะมากวนใจตลอด! อาการแบบนี้เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่นะ แล้วต้องทำยังไงให้หายดี? วันนี้ GED good life มีคำตอบมาฝากแล้ว ใครที่วิ่งแล้วไอเป็นประจำ หรือออกกำลังกาย เล่นกีฬาอื่น ๆ เช่น ว่ายน้ำ เตะบอล เล่นบาสแล้วไอ ต้องไม่พลาดบทความนี้

วิ่งแล้วไอ มีเสมหะมาก เกิดจากอะไร?

นพ.วินัย โบเวจา อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤตทางเดินหายใจ รพ.พญาไท 3 ได้ชี้แจงว่า การไอขณะออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง ว่ายน้ำ เตะบอล แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรืออาจส่งตรวจเพิ่ม เพื่อแยกให้ได้ 3 ประเด็น ดังนี้

  1. ไอจากโรคต่าง ๆ เช่น มีไข้หวัด มีไซนัส โพรงจมูกอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นโรคเรื้อรังอยู่ เป็นต้น
  2. ไอจากสภาพแวดล้อม เช่น สภาพอากาศเย็นเกินไป ควันรถ ควันบุหรี่ เป็นต้น
  3. ไอจากพฤติกรรม เช่น การหายใจทางปาก ชอบกินน้ำเย็น กินอาหารเยอะไป ติดกาแฟ ไม่ชอบวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย เป็นต้น

รู้หรือไม่? อากาศเย็นกระตุ้นปลายประสาท ทำให้ไอได้ง่าย

การวิ่งเยอะ ๆ อาจทำให้นักวิ่งต้องหายใจทางปาก และยิ่งวิ่งในช่วงที่อากาศเย็น (โดยเฉพาะบริเวณภูเขา และยอดดอย) เมื่ออากาศเข้าไปในปากขณะวิ่งก็จะเป็นเหตุให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่เป็นภูมิแพ้จมูกอยู่แล้ว จะทำให้เกิดอาการไอ คอแห้ง และไอ

การวิ่ง หรือออกกำลังกายขณะที่อากาศเย็น ถึงเย็นจัด นอกจากจะทำให้เกิดอาการไอได้ง่ายแล้ว ยังก่อให้เกิดลมพิษอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ผิวหนังมีสีแดง แตก เป็นรอยนูนบวม และคันคล้ายผื่นลมพิษ การว่ายน้ำในน้ำเย็นก็อาจทำให้อาการมีความรุนแรงยิ่งขึ้นได้

ผู้ป่วยภูมิแพ้ และไข้หวัด ควรเลี่ยงการออกกำลังกายในอากาศเย็น

เนื่องจากผู้ป่วยภูมิแพ้จมูก และไข้หวัด เยื่อจมูกจะบวมพอสมควร พอเจออากาศเย็นเข้าไป จมูกจะยิ่งบวมตันได้ง่ายกว่าบุคคลปกติทั่วไป ทำให้มูกเมือกลงหลอดลมและปอดเนื่องจากระเหยไม่ได้ หรือระเหยได้ยาก ทำให้เกิดอาการไอได้บ่อย คนที่เป็นไซนัสอักเสบ หากเจออากาศเย็นก็ทำให้ไอได้เช่นกัน

นพ.วินัย เผย! 8 โรคที่มักทำให้เกิดอาการไอระหว่างออกกำลังกาย

  1. ภูมิแพ้จมูก
  2. ไซนัสเรื้อรัง
  3. กรดไหลย้อน
  4. หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  5. หอบหืด
  6. หลอดลมหดเกร็ง (หลอดลมตีบ) จากการออกกำลังกาย
  7. หลอดเสียงผิดปกติ
  8. ติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นโรคปอดอยู่

อาการแบบไหนที่ไม่ควรวิ่งต่อ?

Mayo Clinic ศูนย์การแพทย์เพื่อการศึกษาอเมริกันที่ไม่แสวงหาผลกำไร แนะนำให้สังเกตอาการของตนเองขณะวิ่งว่าเกิดบริเวณไหน ถ้ามีอาการเหนือคอขึ้นไป ก็อาจวิ่งต่อไปได้ แต่ถ้ามีอาการใต้คอลงไป ควรพิจารณาหยุดวิ่ง

อาการเหนือคอ หากคุณมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรือไอแห้งเป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นอาการที่อยู่ลำคอขึ้นไป ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบเจอได้

อาการใต้คอลงไป – ควรหยุดพักจากการวิ่ง และการออกกำลังกายอื่น ๆ หากอาการแสดงของคุณอยู่ที่ใต้คอ ซึ่งรวมถึงอาการท้องร่วง แน่นหน้าอก หรือไอมีเสมหะ

แม้ว่าสัญญาณ และอาการของคุณจะอยู่เหนือคอ ก็อาจพิจารณาลดความเข้มข้นของการออกกำลังกายลง ให้เหลือเพียงการวิ่งเหยาะ ๆ หรือเดินช้า ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ จะเหมาะสมกว่าการวิ่งเร็ว หรือวิ่งมาราธอน

สังเกตตัวเองให้เป็น! ไอแห้ง กับ ไอมีเสมหะ ต่างกันยังไง?

– ไอแห้ง (Dry cough) คืออาการไอที่ไม่มีเสมหะปน เกิดจากการระคายคอ หรือระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจนกระตุ้นให้เกิดการไอ เช่น ไปวิ่งตอนอากาศเย็น ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการไอแห้งเป็นครั้งคราวได้ ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไรกับการวิ่ง หรือการออกกำลังกายของคุณมากนัก

– ไอมีเสมหะ (Productive cough) คืออาการไอร่วมกับมีของเหลวเป็นเมือกเหนียวออกมาขณะไอด้วย มักพบในภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง เป็นต้น

ดูแลตัวเองอย่างไรให้หายไอขณะออกกำลังกาย?

  1. หากวิ่ง หรือออกกำลังกายขณะอากาศเย็นแล้วไอ ให้เลี่ยงการวิ่งขณะอากาศเย็น เพราะนั่นแปลว่าคุณกำลังเป็นภูมิแพ้อากาศอยู่ก็ได้
  2. หากเป็นหอบหืด วิ่งหรือออกกำลังกายแล้วไอ ไอมีเสมหะ ให้พ่นยา หรือกินยาตามแพทย์สั่ง หรือปรึกษาแพทย์เรื่องหอบหืดขณะออกกำลังกาย
  3. ฝึกหายใจทางจมูกขณะออกกำลังกาย จะช่วยให้อาการไอลดน้อยลง เพราะ ถ้ายังหายใจทางปาก จะทำให้อากาศเย็นเข้าไปในปาก ก่อให้เกิดอาการไอ
  4. หากมีอาการไอจากโรคประจำตัว เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคหอบหืด หรือไซนัสเรื้อรัง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนก่อนการออกกำลังกาย
  5. พบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น เช่น ภาพถ่ายรังสีปอด, ตรวจสมรรถภาพปอด, ทดสอบภูมิแพ้ เป็นต้น

บรรเทาอาการไอมีเสมหะ ด้วย “คาร์โบซีสเทอีน”

คาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ยาแก้ไอละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอจากการมีเสมหะมาก เป็นยาที่ออกฤทธิ์เข้าไปย่อยโปรตีน มีผลทำลายการรวมตัวกันของโปรตีนที่จับตัวเป็นก้อนเสมหะเหนียวข้น รวมถึงลดแรงตึงผิวของเสมหะ ทำให้เสมหะใสขึ้น เหนียวข้นน้อยลง จนกลไกของร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น

สรรพคุณของยาแก้ไอ คาร์โบซิสเทอีน

  • บรรเทาอาการไอมีเสมหะ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด
  • ลดการเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้น
  • บรรเทาอาการไอ เนื่องจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • บรรเทาอาการไอ ที่เกิดจากโพรงจมูกอักเสบ

ขนาดและวิธีใช้

ผู้ใหญ่ และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง

 

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

อ้างอิง : 1. นพ.วินัย โบเวจา 2. healthline 3. pobpad 4. รพ. นวเวช

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close