เที่ยวอุ่นใจไม่กลัวป่วย! ยาต้องมีเมื่อไปเที่ยวนอก

ยาต้องมีเมื่อไปเที่ยวนอก

เที่ยวนอกทั้งที ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม โดยเฉพาะเรื่องของยา จำเป็นต้องเตรียมไปให้ครบ จะได้เที่ยวอย่างอุ่นใจ เมื่อป่วยไข้ไม่สบายขึ้นมา ก็มียาพร้อมฮีลกาย ใจก็พร้อมลุยทริปต่อ! งั้นเรามาลิสต์กันเลยว่า “ยาต้องมีเมื่อไปเที่ยวนอก” มียาอะไรบ้าง?…

โรคภูมิแพ้ดูแลด้วย "อัลเลอร์นิค" ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด กลุ่มไม่ทำให้ง่วง

แนวทางการเลือกพกยาไปต่างประเทศ

ควรเลือกพกกลุ่มยาไปให้หลากหลาย และควรครอบคลุมทั้งยาสามัญประจำบ้าน และยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว โดยยาสามัญประจำบ้านที่แนะนำ เช่น กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้, กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก, กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ, กลุ่มยาแก้วิงเวียน, กลุ่มยาแก้เมารถ, กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย และกลุ่มยาระบาย เป็นต้น

ส่วนยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว ควรใช้ยาให้ครบ และปฏิบัติตัวตามแพทย์ที่ดูแลสั่งอย่างใกล้ชิด และควรมีเอกสารจากแพทย์หรือใบรับรองแพทย์กำกับการใช้ยาร่วมด้วย

ทั้งนี้ยาที่อนุญาตให้นำไปต่างประเทศได้ ควรอยู่ในภาชนะบรรจุยาที่ถูกต้อง ห้ามแกะ หรือแยกเม็ดยาออกมาจนทำให้ระบุชนิดของยาไม่ได้ ส่วนยาที่ถูกห้ามนำเข้า ควรตรวจสอบในแต่ละประเทศที่จะเดินทางไปซึ่งแล้วแต่ละประเทศประกาศกฎหมายการนำเข้ายานั้น ๆ ซึ่งหากใช้ยาที่เป็นยาต้องห้ามต้องมีเอกสารจากแพทย์ให้ชัดเจนเพื่อการตรวจสอบโดยตรง

ตัวอย่างกลุ่มยาสามัญประจำบ้านที่ ควรพกติดตัวไปต่างประเทศ

  1. กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้  ได้แก่ ยาพาราเซตตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดไข้ เบื้องต้น
  2. กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก  ได้แก่ ยาแก้แพ้ที่ไม่ง่วง ออกฤทธิ์ยาวเช่นยาลอราทาดีน ยาเดสลอราทาดีน หรือพกยาที่เป็นสูตรผสมที่มีฤทธิ์แก้แพ้ลดน้ำมูกและคัดจมูกร่วมด้วย
  3. กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ ได้แก่ ยาแก้ไอน้ำดำ ซึ่งต้องเช็คปริมาตรที่สามารถพกไปได้ เพื่อบรรเทาอาการไอหรือยาละลายเสมหะได้แก่ยาคาร์โบซิสเทอีน เป็นต้น เพื่อขับเสมหะเบื้องต้น
  4. กลุ่มยาแก้วิงเวียน, ยาแก้เมารถ ได้แก่ ยาไดเมนไฮดริเนท โดยรับประทานยาก่อนเดินทาง 30 นาที ยานี้สามารถทำให้ง่วงได้
  5. กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย ได้แก่ ยาธาตุน้ำแดง, ยาไซเมทิโคน, ผงเกลือแร่สำหรับท้องเสีย อัลตราคาร์บอน เป็นต้น

ยาต้องมีเมื่อไปเที่ยวนอก

อย่างไรก็ตามผู้ที่ต้องการไปพกยาติดตัวไปต่างประเทศ ควรได้รับคำแนะนำในการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมจากเภสัชกรหรือแพทย์ เพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยา

บทความโดย ภญ. ธร อำนวยผลวิวัฒน์
ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close