“ยาสามัญประจำบ้าน” คืออะไร และควรมียาอะไรบ้างนะ?

ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจำบ้าน (household drugs) เป็นยาที่เจ้าของบ้านควรมีติดบ้านไว้ เพราะ จะได้รักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยเบื้องต้นได้ทันท่วงที วันนี้ GedGoodLife จึงขอแชร์เนื้อหา และข้อมูลที่ควรรู้ เกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้าน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปตามอ่านกันเลย

ดีคอลเจน

ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร?

ยาสามัญประจำบ้าน เป็นชื่อเรียกของกลุ่มยา ทั้งแผนปัจจุบัน และแผนโบราณ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน สามารถใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยผู้ป่วยในบ้านสามารถใช้รักษาได้ด้วยตนเอง

ยาสามัญประจำบ้านเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง ถ้าใช้ถูกวิธี ก็จะไม่เป็นอันตรายใด ๆ เช่น อาการไอ ปวดศีรษะ เป็นหวัด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ถูกมีดบาด เป็นต้น สามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์

เมื่อรู้เรื่องยาสามัญฯ แล้ว ก็ต้องรู้จักเลือกซื้อตู้เก็บยาให้ถูกลักษณะด้วย แล้วตู้ยาที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร Ged Good Life มีคำแนะนำมาฝาก

3 คุณสมบัติที่ดี ของตู้ยาสามัญประจำบ้าน (Medicine Cabinet)

  1. เป็นตู้ทึบแบบกันแสง เพราะ ตัวยาไม่ควรโดนแสงแดด ด้านหน้าอาจเป็นกระจกบานเลื่อน เพื่อให้มองเห็นว่าข้างในมียาอะไรอยู่บ้าง (ด้านที่เป็นกระจกไม่ควรโดนแสงแดดโดยตรง)
  2. ตู้ยาควรมีขนาดที่เหมาะสม ไม่ใหญ่ หรือเล็กเกินไป สามารถบรรจุยาได้เพียงพอกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
  3. มีชั้นแยกยา เพื่อช่วยให้จัดวาง / แยกประเภทยา ได้ชัดเจน ซึ่งอาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มยาสำหรับใช้ภายใน, กลุ่มยาสำหรับใช้ภายนอก, และอุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น ช้อนตวงยา สำลี พลาสเตอร์ปิดแผล เป็นต้น

สถานที่ตั้งตู้ยาสามัญประจำบ้าน ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เช่น

  • ควรอยู่ที่สูง เด็กเอื้อมไม่ถึง
  • ไม่ควรตั้งตู้ยาในที่ที่ถูกแสงแดดโดยตรง
  • และไม่สัมผัสกับความชื้นได้ง่าย เพราะอาจทำให้ยาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

ยาสามัญประจำบ้าน มีอะไรบ้าง?

กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดยาสามัญประจำบ้านไว้ทั้งหมด 53 ชนิด นำมาใช้รักษาโรคสามัญได้ 16 กลุ่ม (อาจมีปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมได้ในอนาคต) ได้แก่…

1. ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ

1.1 ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย
ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก ลดกรดในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ภาวะกรดไหลย้อน

 รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงหรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง

1.2  ยาน้ำลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย
ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก ลดกรดในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ภาวะกรดไหลย้อน

 รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงหรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยา

1.3 ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามินท์
ชนิดเม็ด ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก จุกเสียด อาหารไม่ย่อย

 รับประทานหลังอาหาร 1 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ

1.4 ยาขับลม
ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

 รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง และควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยา

1.5 ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง
ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

 รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง และควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยา

1.6 ยาน้ำแก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต
บรรเทาอาการท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีกรดมากใน
กระเพาะอาหาร

 ใช้ป้อนให้ทารกและเด็กหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการไม่ควรให้เกินวันละ 6 ครั้ง

1.7 ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงค์
ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก

 ทาบาง ๆ ที่หน้าท้อง วันละ 2 – 3 ครั้ง

2. ยาแก้ท้องเสีย

2.1 ผงน้ำตาลเกลือแร่
ช่วยทดแทนการเสียน้ำจากอาการท้องเสียหรืออาเจียน และภาวะขาดน้ำ
 ผสมผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซองกับน้ำสะอาด 250 มิลลิลิตร (1 แก้ว) ดื่มมาก ๆ เมื่อมีอาการท้องเสีย และดื่มทีละน้อยเมื่อมีอาการอาเจียน

3. ยาระบาย

3.1 ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับเด็ก และ ผู้ใหญ่
ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
 ใช้เหน็บทวารหนักครั้งละ 1 แท่ง และรอให้ยาละลายตัวประมาณ 15 นาที

3.2 ยาระบายแมกนีเซียชนิดน้ำ
ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย

 ใช้รับประทานก่อนเข้านอน หรือหลังตื่นนอนตอนเช้า

3.4 ยาระบายมะขามแขก
ชนิดเม็ด ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย

 ใช้รับประทานก่อนเข้านอน หรือ หลังตื่นนอนตอนเช้า

3.5 ยาระบาย โซเดียมคลอไรด์ชนิดสวนทวาร
สาหรับบรรเทาอาการท้องผูก ใช้สวนทวารให้ถ่ายอุจจาระ
 สวนเข้าทางทวารหนัก และกลั้นไว้จนทนไม่ไหวจึงไปเข้าห้องน้ำ

4. ยาถ่ายพยาธิล้ำไส้

4.1 ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล
ช่วยถ่ายพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวกลม

 ปริมาณการใช้ยา

พยาธิเส้นด้าย และพยาธิเข็มหมุด ผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน หลังอาหารเย็น 1 ครั้ง

พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน และพยาธิแส้ม้า ผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน หลังอาหารเช้าและเย็น ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน อาจรับประทานซ้ำอีก 1 เม็ด เป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังจากการรักษาในครั้งแรก

5. ยาบรรเทาปวด ลดไข้

5.1 ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้แอสไพริน
ลดไข้ บรรเทาอาการปวด

 รับประทานหลังอาหารทันที หรือรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ

5.2 ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้พาราเซตามอล 500 มก. และ 325 มก.
ลดไข้ บรรเทาอาการปวด

 รับประทานทุก 4 หรือ 6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ รับประทานหลังอาหารทันที หรือขณะท้องไม่ว่าง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ ไม่ควรทานเกินวันละ 5 ครั้ง

5.3 ยาน้ำบรรเทาปวดลดไข้พาราเซตามอล
ลดไข้ บรรเทาอาการปวด

 รับประทานทุก 4 หรือ 6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ รับประทานหลังอาหารทันที หรือขณะท้องไม่ว่าง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ ไม่ควรทานเกินวันละ 5 ครั้ง

5.4 พลาสเตอร์บรรเทาปวด
ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

 โดยทำความสะอาดที่บริเวณผิวหนังให้สะอาด และเช็ดให้แห้งก่อนปิดพลาสเตอร์ตรงบริเวณที่มีอาการปวด ควรเปลี่ยนวันละ 1-2 ครั้ง

6. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
6.1 ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูกคลอร์เฟนิรามีน
ช่วยบรรเทาอาการจากหวัด จาม น้ำมูกไหล อาการคัน ลมพิษ ภูมิแพ้

 โดยรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ

7. ยาแก้ไอ ขับเสมหะ
7.1 ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก
ช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

 รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง และเขย่าขวดทุกครั้งก่อนการใช้ยา

7.2 ยาแก้ไอน้ำดำ
ช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

 รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง และเขย่าขวดทุกครั้งก่อนการใช้ยา

8. ยาดม หรือทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก

8.1 ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนีย
ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หรือทาบริเวณผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการจากพิษของพืช หรือแมลงกัดต่อย

 โดยใช้สำลีชุบ ได้ทั้งดม หรือทาบริเวณที่ต้องการบรรเทา

8.2 ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก 
ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คัดจมูก และหายใจไม่ออก

 ใช้สูดดม หรือทาบาง ๆ บริเวณคอ และหน้าอก

8.3 ยาทาระเหย บรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง
บรรเทาอาการคดจมูก และลดอาการเนื่องจากหวัด

 ทายาที่บริเวณลำคอ หน้าอก และหลัง

9. ยาแก้เมารถ เมาเรือ

9.1 ยาเม็ดแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท
ใช้ป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ

 ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนออกเดินทางอย่างน้อยประมาณครึ่งชั่วโมง

10. ยาสําหรับโรคตา

10.1 ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์
ช่วยรักษาอาการตาแดง ตาอักเสบ

 หยอดครั้งละ 1-2 หยด วันละ 3-4 ครั้ง

10.2 ยาล้างตา
ใชล้างตาเพื่อบรรเทาอาการแสบตา ระคายเคืองตา อันเนื่องมาจากผง ควัน สิ่งสกปรกเข้าตา

 ใช้ล้างตาวันละ 2-3 ครั้ง

11. ยาสําหรับโรคปาก และลำคอ

11.1 ยากวาดคอ
บรรเทาอาการอกเสบ และเจ็บในลำคอ

 เติมน้ำสะอาดปริมาณ 2 เท่าของตัวยา ผสมกันแล้วใช้กวาดคอ

11.2 ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต
รักษากระพุ้งแก้ม และลิ้นเป็นฝ้าขาว

 ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีแต้มยาแล้วทาบริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง

11.3 ยาแก้ปวดฟัน
บรรเทาอาการปวดฟัน

 ใช้ไม้พันสำลีชุบยาแล้วอุดฟันตรงที่เป็นรูหรือมีอาการปวด

11.4 ยาอมบรรเทาอาการระคายคอ
ทำใหํ ชุ่มคอ บรรเทาอาการระคายคอ

 อมให้ละลายช้าๆ ครั้งละ 1 – 5 เม็ด

12 ยาใส่แผล ล้างแผล

12.1ยาใส่แผลทิงเจอร์ไอโอดีน
ช่วยรักษาแผลสด

 ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทาที่บริเวณแผล

12.2 ยาใส่แผลทิงเจอร์ไทเมอรอซอล
ช่วยรักษาแผลสด

 ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทาที่บริเวณแผล

12.3 ยาใส่แผล โพวิโดน -ไอโอดีน
รักษาแผลสด

 ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทาที่บริเวณแผล

ยาไอโซโพรพิลแอกกอฮอล์
ช่วยทำความสะอาดบาดแผล

 ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยา แล้วทำความสะอาดที่บริเวณรอบ ๆ บาดแผล

12.5 ยาเอทิลแอลกอฮอล์
ช่วยทำความสะอาดบาดแผล

 ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยา แล้วทำความสะอาดที่บริเวณรอบ ๆ บาดแผล

12.6 น้ำเกลือล้างแผล
ช่วยทำความสะอาดบาดแผล

 ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทาที่บริเวณแผล

13. ยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

13.1 ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล
รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

 เขย่าขวดก่อนใช้ยา ใช้สำลีชุบยานี้ ทาปิดให้ทั่วบริเวณที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

13.2 ยารักษาแผลติดเชื้อ ซิลเวอร์ซัลฟาไดอาซีน ครีม
ใช้ทาภายนอกเพื่อรักษาการติดเชื้อของแผล ซึ่งเกิดจากไฟไหม้ หรือ น้ำร้อนลวก

 ใช้ทาบริเวณแผลที่เป็นแผล ควรทำความสะอาดแผลแล้วทาทุกวัน

14. ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย

14.1 ยาหม่อง ชนิดขี้ผึ้ง
บรรเทาอาการปวด บวม อักเสบ เนื่องจากแมลงกัดต่อย หรือปวดเมื่อย
กล้ามเนื้อ

 ทา และนวด บริเวณที่ต้องการ

15. ยาสําหรับโรคผิวหนัง

15.1 ยารักษาหิดเหา เบนซิลเบนโซเอต
ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ได้แก่ หิด เหา และโลน
 ปริมาณการใช้ยา

หิด อาบน้ำให้สะอาด และใช้ผ้าหรือแปรงอ่อน ๆ ถูบริเวณที่มีอาการคัน ทายาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ใช้อีกครั้งวันต่อมา

เหาและโลน ใส่ยาให้ทั่งบริเวณที่มีเหาหรือโลน ทิ้งไว้ 1 วันแล้วจึงทำควมสะอาด หากเป็นมากให้ใช้ยา 2 ครั้งต่อวัน ตรวจดูอาการเมื่อครบ 7 วัน หากยังไม่หาย ให้ทำซ้ำวิธีเดิม

15.2 ยารักษาหิด ขี้ผึ้งกำมะถัน
รักษาโรคหิด

 ทายาบริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง

15.3 ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า
รักษากากเกลื้อน น้ำกัดเท้า

 ทายาบริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง

15.4 ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
ช่วยรักษาโรคผิวหนังเรื้อรังบางชนิด เช่น เรื้อนกวาง หรือผิวหนังที่เป็นผื่นคัน

 ทายาบริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง

15.5 ยาทาแก้ผดผื่น คาลาไมน์
ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวหนังในระดับเล็กน้อย เช่น อาการคัน ปวด ไม่สบายผิว ผื่น ผื่นแพ้พิษพืช ลมพิษ

 เขย่าขวดก่อนใช้ยา ทาบริเวณที่เป็น วันละ 3-4 ครั้ง

15.6 ยารักษาเกลื้อน โซเดียม ไทโอซัลเฟต
ช่วยรักษาเกลื้อน

 เติมน้ำสะอาดและเขย่าขวดให้ตัวยาละลาย ใช้ทาผิวหนังบริเวณที่เป็นเกลื้อน หลังอาบน้ำ หรือวันละหลายครั้ง

16. ยาบํารุงร่างกาย

16.1 วิตามินบีรวม
ช่วยบำรุงและเสริมสร้างการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และป้องกันการขาดวิตามินบี

 รับประทานหลังอาหารวันละ 1 ครั้ง

16.2 ยาเม็ดวิตามินซี
ป้องกันการขาดวิตามินซี

 ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เด็กที่มีอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด

16.3 ยาเม็ดบํารุงโลหิต เฟอร์รัส ซัลเฟต
รักษาโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหลกในผู้ใหญ่

 รับประทานครั้งละ1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร

16.4 ยาเม็ดวิตามินรวม
ป้องกันการขาดวิตามินสำหรับผู้ใหญ่

 รับประทานวันละ 1 เม็ด

16.5 น้ำมันตับปลาชนิดแคปซูล
ป้องกนการขาดวิตามิน A และ D

 ผู้ใหญ่รับประทานวันละ 1 เม็ด

16.6 น้ำมันตับปลาชนิดน้ำ
ป้องกันการขาดวิตามิน A และ D

 ควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยา

  • เด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป รับประทานวันละ 1 ช้อนชา
  • เด็กอายุตั้งแต่ 1-4 ปี รับประทานวันละ 1/2 ช้อนชา
  • เด็กแรกเกิด-1 ปี รับประทานวันละ 1/4 ช้อนชา

จะเห็นได้ว่า ยาสามัญประจำบ้าน มีเยอะแยะมากมาย จะให้พกหมดคงไม่ไหว เราอาจจะเลือกไว้เฉพาะยาที่คิดว่าเหมาะสมกับตัวเรา หรือ โรคที่เรามักเป็นบ่อย ๆ เช่น โรคประจำตัว โรคหวัด วิงเวียนศีรษะ อาการไอ ปวดท้อง เป็นต้น ก็เพียงพอแล้ว

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องยาสามัญประจำบ้านจากกระทรงสาธารณสุขได้ที่ – https://bit.ly/2yYHbrS

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ดีคอลเจน

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close