ระบาดหนัก! ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) ควรรับมือยังไงดี?

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1)

นอกจากโรคโควิด-19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังแล้ว ก็ได้มีโรคประจำฤดูกาลเข้ามาระบาดซ้ำอีก! นั่นก็คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) โดยเฉพาะในสถานศึกษา ตามโรงเรียนต่าง ๆ ที่เมื่อเปิดเทอมแล้ว ก็พบเด็กป่วยโรคนี้กันมากขึ้น และเพื่อความไม่ประมาท มาเรียนรู้ถึงที่มาที่ไปของโรคนี้กัน ว่าจะมีสาเหตุ อาการ วิธีรักษา และป้องกันอย่างไร

ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1)

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ชื่อภาษาอังกฤษ “Influenza A (H1N1) หรือ “A(H1N1)pdm09” หรืออาจเรียกว่า “ไข้หวัดใหญ่จากสุกร (Swine Influenza)” เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน เริ่มพบเมื่อ ค.ศ. 2009 หรือ พ.ศ. 2552 ที่ประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา และได้ระบาดไปอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน

เชื้อสาเหตุ

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1 เกิดจากการผสมผสานของไวรัสสายพันธุ์ของคน หมู และนก

การแพร่ติดต่อ

โรคนี้ติดต่อระหว่างคนสู่คน เหมือนโรคไข้หวัดใหญ่อื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เชื้อไวรัสนี้จะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และผู้ติดเชื้อ สามารถแพร่ไปยังผู้อื่นโดยการ ไอ หรือจาม รดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ นอกจากนี้เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก และตา เช่น การแคะจมูก ขยี้ตา ที่สำคัญ ผู้ที่มีอาการรุนแรง และถึงแก่กรรมมักจะอยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี

ระยะติดต่อ (หมายถึง ระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น)

1 วันก่อนเกิดอาการ 5 วันหลังจากมีอาการในเด็ก อาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้ นาน 10 วัน

อาการป่วย ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) มีอะไรบ้าง?

อาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ จะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป (Common cold) แต่จะมีอาการรุนแรงกว่า และรวดเร็วกว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1-3 วัน (น้อยรายที่นานถึง 7  วัน) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

โดยส่วนใหญ่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) จะมีอาการไม่รุนแรง อาการจะทุเลา และหายป่วยภายใน 5-7 วัน แต่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะโรคปอด โรคหัวใจ โรคเรื้อรังต่าง ๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม ปอดอักเสบรุนแรง หายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หัวใจวาย และเสียชีวิตได้

ไข้หวัด vs ไข้หวัดใหญ่

วิธีรักษา ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1)

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาที่ดี แต่ควรใช้เท่าที่จำเป็นและภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะหากใช้พร่ำเพรื่อเชื้ออาจดื้อยาได้

ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ตํ่า ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยา และคำแนะนําจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน ดังต่อไปนี้

  • รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุณหภูมิห้องเป็นระยะ
  • หมั่นจิบน้ำให้ได้ตลอดทั้งวัน งดดื่มนํ้าเย็น
  • พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และกลืนได้ง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
  • นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
  • ไม่จําเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมด ตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา

แพทย์แนะ! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดอาการรุนแรงได้

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า “การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากจะช่วยลดความรุนแรงของการป่วย และการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อของทั้ง 2 โรค และลดอัตราการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่”

วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด

สำหรับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงที่มีสิทธิรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ฟรี ได้แก่

  1. หญิงมีครรภ์ (แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เมื่อมีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป)
  2. เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี
  3. ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน)
  4. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  6. โรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  7. โรคอ้วน มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป หรือดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

ถ้าไม่ได้รับวัคซีนหลังจากระยะ 1 ปีถึงแม้เป็นเชื้อตัวเดิมก็จะป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้

วิธีป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ-แพร่เชื้อ ไข้หวัดใหญ่

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ หากต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ ควรรีบล้างมือด้วยนํ้า และสบู่ให้สะอาดทันที
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ในที่สาธารณะ
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงติดโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เป็นต้น
  • ปิดปาก และจมูกเวลาไอ หรือจามด้วยกระดาษทิชชู่ แล้วทิ้งขยะทันที (ในกรณีที่ไม่มีกระดาษทิชชู่ ควรปิดปาก และจมูก ด้วยต้นแขนเสื้อ) เพื่อไม่ให้เชื้อโรคสัมผัสกับมือ หรือแพร่กระจายในอากาศ
  • ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
  • ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส ตัวช่วยเสริมภูมิเด็กในหน้าฝน

NUTROPLEX OLIGO PLUS ( นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส ) วิตามินรวมสำหรับเด็ก ที่มีส่วนผสมของมัลติวิตามิน ใยอาหารธรรมชาติ กระตุ้นการขับถ่าย เสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส มี “ไลซีน” ช่วยเพิ่มความอยากอาหารของเด็ก สำหรับเด็กที่กินน้อย กินยาก ไม่ได้กินอาหารครบหมู่ หรือ ไม่กินผักผลไม้เป็นประจำได้ทุกวัน

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส เป็นวิตามินรวมสำหรับเด็กตัวเดียวที่มี “ธาตุเหล็ก” ซึ่งมีส่วนเสริมสร้างและพัฒนาสมอง

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส มี Oligofructose ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี

สั่งซื้อ NUTROPLEX OLIGO PLUS ได้ที่นี่

• แอดไลน์ ID : @nutroplexclub
• Inbox Facebook : https://www.facebook.com/nutroplexclub

หรือสั่งซื้อตามร้านขายยาชั้นนำ เช่น Boots, Health up, Fascino, P&F, Pure, Save Drug, D Chain, Tesco (แผนกร้านขายยา), Drug Core, I Care, Drug Square, Ameditec และทาง ออนไลน์ Konvy.com

อ้างอิง : 1. si.mahidol 2. nkp-hospital 3. en.wikipedia 4. ekachaihospital 5. กรมควบคุมโรค 6. รพ. ขอนแก่นราม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close