ป่วยกรดไหลย้อน สามารถกินเผ็ดได้มั้ย? พร้อมแนะ! ยาลดกรด บรรเทากรดไหลย้อน

ป่วยกรดไหลย้อน กินเผ็ดได้มั้ย

อาหารเผ็ดกับคนไทยนั้นเป็นของคู่กัน เพราะอาหารไทยมักจะมีรสชาติจัดจ้าน เผ็ดจี๊ดดดหลายเมนูเลยทีเดียว! แต่หากคุณป่วยกรดไหลย้อน มีอาการแสบร้อนกลางอกเมื่อกินเผ็ด คงสงสัยว่า “ป่วยกรดไหลย้อน กินเผ็ดได้มั้ย?” ไม่ต้องกังวลไป เพราะ GED good life มีคำตอบมาให้คุณแล้ว พร้อมคำแนะนำเรื่อง กินอย่างไรให้ห่างไกลกรดไหลย้อน และการใช้ยาลดกรดบรรเทาอาการกรดไหลย้อน…

ป่วยกรดไหลย้อน กินเผ็ดได้มั้ย?

อาหารรสเผ็ดประกอบด้วยสารแคปไซซิน (Capsaicin) เป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก โดยมีงานวิจัย พบว่าแคปไซซินในพริก สามารถกระตุ้นอาการ แสบร้อนกลางอก และเจ็บหน้าอกใน 28 คนจาก 31 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคกรดไหลย้อน Gastroesophageal reflux disease (GERD) และ 6 ใน 17 คนที่มีสุขภาพแข็งแรง ในขณะเดียวกัน การศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า การเติมแคปไซซินในอาหารทำให้เกิดอาการเสียดท้องสูงเร็วขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร

ส่วนการแพทย์ไทยก็ได้ชี้แจงว่า ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สภาวะของไหล (ลม) ภายในกระเพาะอาหารกำเริบ ได้แก่ การกินอาหารที่ย่อยยาก เช่น อาหารทอด อาหารมัน กะทิ และอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น รวมถึงการกินอาหารในลักษณะรีบเคี้ยว รีบกลืน หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด และรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลที่น่าสนใจจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย พญ.ฐนิสา พัชรตระกูล ได้กล่าวไว้ว่า การกินอาหารเผ็ดเป็นประจำต่อเนื่อง พบว่าช่วยลดอาการปวดแสบร้อนในทางเดินอาหารได้ ซึ่งตรงกับการศึกษาในไต้หวัน ที่พบว่า แม้ว่าแคปไซซินจะเพิ่มอาการเสียดท้องหากคุณกินเพียงครั้งเดียว แต่การรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดอาการได้อย่างมากในปริมาณที่สูงขึ้น

จึงสรุปได้ว่า ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้แปรปรวน ที่กินอาหารเผ็ดเป็นครั้งคราว ไม่ได้กินเป็นประจำ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเผ็ด เพราะอาหารเผ็ดจะทำให้อาการแย่ลง แต่หากกินอาหารเผ็ดเป็นประจำต่อเนื่อง พบว่าช่วยลดอาการปวดแสบร้อนในทางเดินอาหารได้

ถ้าอยากกินเผ็ดอยู่ และไม่ให้กระทบกับกรดไหลย้อน ควรทำอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน หากต้องการกินเผ็ด ควรเริ่มรับประทานจากทีละน้อยก่อน แล้วค่อยปรับเพิ่มความเผ็ดขึ้นทีละน้อย จะทำให้สามารถรับประทานอาหารรสเผ็ดได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการกำเริบ หรือสามารถปรึกษาแพทย์ประจำตัว เพื่อขอคำแนะนำในการกินอาหารเผ็ด

*หากกินเผ็ดแล้วรู้สึกแสบร้อนท้อง อาจแปลว่า เรากินเผ็ดเกินไป อาจลดความเผ็ดลง หรือหยุดกินเผ็ดไปจนกว่าอาการดีขึ้น

กินอย่างไรให้ห่างไกลกรดไหลย้อน?

  1. ไม่ควรนอน หรือเอนหลังภายใน 3 ชั่วโมง หลังมื้ออาหาร
  2. ไม่กินอาหารจนอิ่มกินไปโดยเฉพาะมื้อเย็น
  3. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่กินเร็วเกินไป
  4. ควบคุมน้ำหนัก อย่าให้อ้วนจนเกินไป
  5. กินอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ แทนการกินอาหารที่มากเกินไปในแต่ละมื้อ
  6. การเดินหลังมื้ออาหาร ช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันอาการเสียดท้อง
  7. หลีกเลี่ยงอาหารที่กินแล้วกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น กาแฟ อาหารมัน อาหารทอด อาหารรสจัด น้ำอัดลม เป็นต้น
  8. งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
  9. พยายามไม่ให้เกิดอาการท้องผูก โดยดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น (ดื่มน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ)

การกินยาลดกรด (Antacid) เพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อน

ยาลดกรดเป็นยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารให้มีความเป็นกลางมากขึ้น เช่น

1. อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide, AlOH3) เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี ออกฤทธิ์ไว ปลอดภัย ออกฤทธิ์ที่กระเพาะอาหาร ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดน้อย

2. แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate, MgCO3) ตัวยาจะเข้าทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) ในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้กรดมีฤทธิ์เจือจางลง ทำให้อาการระคายเคืองต่อแผลในกระเพาะอาหาร-ลำไส้ ลดน้อยลงไปด้วย

นอกจากตัวยาที่มีฤทธิ์ในการลดกรดแล้ว ยาที่วางขายในท้องตลาดมักผสมตัวยาชนิดอื่นเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษา และบรรเทาอาการอันเนื่องมาจากกรดอีกด้วย ยาดังกล่าวได้แก่

ไซเม็ททิโคน (simethicone) เป็นสารลดแรงตึงผิวที่ทำให้ฟอง และแก๊สในกระเพาะอาหาร สามารถระบายออกจากอาหารที่กำลังถูกย่อยได้ เสริมประสิทธิภาพในการขับลม ท้องอืด แน่นท้อง โดยยาประเภทนี้มีให้เลือกทั้ง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ ยาในกลุ่มนี้ เช่น เครมิล ชนิดเม็ด (Kremil Tablets)

วิธีใช้ยาลดกรด

• บรรเทาอาการที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหาร – รับประทานวันละ 2-4 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง หรือตามแพทย์สั่ง
• ลดกรดในกระเพาะอาหาร – รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร

 

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

อ้างอิง : 1. sciencefocus by Dr Emma Davies  2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ เรื่อง การศึกษาความแตกต่างในการรักษาโรคกรดไหลย้อนของการแพทย์แผนปัจจุบัน
กับการแพทย์แผนไทย 3. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 1 / 2 4. gedgoodlife.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close