ทำยังไงดี? ไวรัสโรต้า ระบาดหนัก ไม่มียาแก้!

ไวรัสโรต้า

ไวรัสโรต้า (Rotavirus) คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย ซึ่งอาการท้องร่วง หรือท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัสโรต้า จะมีอาการถ่ายท้อง หรือถ่ายอุจจาระเหลวมากผิดปกติควรระวังไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำจนช็อก โดยในเด็กเล็ก ๆ อาจมีอาการรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่ ซึ่งต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

ข้อเท็จจริงของ ไวรัสโรต้า

• เกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่มักแพร่ระบาดมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลง หรือในช่วงฤดูหนาวของทุก ๆ ปี
• ท้องร่วงจากไวรัสโรต้า มักเกิดในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 6 เดือน – 2 ปี แต่ในเด็กโต หรือในผู้ใหญ่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่มักจะเจอน้อย หรืออาการไม่รุนแรงเท่ากับในเด็กเล็ก
• การติดเชื้อไวรัสโรต้าครั้งแรกมักมีอาการรุนแรง แต่การติดเชื้อครั้งต่อไปอาการจะรุนแรงน้อยลง

อาการท้องร่วง ท้องเสีย จาก ไวรัสโรต้า

อาการท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า จะมีอาการใกล้เคียงกับอาการท้องร่วงทั่วไป เช่น อาหารเป็นพิษ ( Link : http://www.gedgoodlife.com/blogs/1268-อาหารเป็นพิษ ) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสอื่น ๆ คือขับถ่ายหรือถ่ายท้องมากผิดปกติ แต่อาการท้องร่วงจากไวรัสโรต้า ในเด็กเล็กกับผู้ใหญ่อาจมีอาการแตกต่างกันเล็กน้อย

  • อาการท้องร่วง ท้องเสียในเด็ก

อาการท้องร่วงจากไวรัสโรต้าในเด็ก ๆ ช่วงแรกมักมีอาการไข้ขึ้นนำมาก่อน ตามมาด้วยอาเจียนช่วง 2-3 วันแรก หลังจากนั้นจะมีอาการถ่ายท้อง หรือถ่ายอุจจาระเหลวอยู่ราว 1-2 วัน ซึ่งอุจจาระที่ออกมามักมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ในเด็กเล็กต้องระวังไม่ให้ไข้ขึ้นสูง และเกิดภาวะขาดน้ำจนอาจช็อกเสียชีวิตได้ พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และพามาพบแพทย์หากเด็กไม่สามารถกินสารละลายเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำได้เอง หรืออาเจียนออกมา เพราะอาจจะต้องรับเกลือแร่ หรือให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดแทน

  • อาการท้องร่วง ท้องเสียในผู้ใหญ่

สำหรับผู้ใหญ่ อาการท้องร่วง ท้องเสียที่เกิดจากไวรัสโรต้าโดยปกติมักไม่มีอาการอื่น ๆ แสดง นอกจากการถ่ายท้องที่มักเป็นลักษณะถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ แต่ในผู้ใหญ่บางคนอาจมีอาการรุนแรงคือถ่ายท้องไม่หยุด ถ่ายมาก มีไข้ และอ่อนเพลีย ได้เช่นเดียวกัน แต่มักพบได้ไม่บ่อยนัก เช่นเดียวกันกับในเด็กคือหากถ่ายท้องต่อเนื่องต้องระวังภาวะขาดน้ำ และช็อกได้

การรักษาอาการท้องร่วง ท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรต้า

การรักษาในปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาไวรัสโรต้าได้ แต่การรักษาอาการท้องร่วง จากไวรัสโรต้าจะเป็นการรักษาตามอาการ

• หากมีไข้ ควรหมั่นเช็ดตัวลดไข้ หรือให้ยาลดไข้ เพื่อไม่ให้ไข้ขึ้นสูง หรือหากอาการข้างเคียงอื่นเช่น อาการไอ ก็สามารถให้ ยาแก้ไอ เพื่อลดอาการไอจาม ที่อาจทำให้เกิดเชื้อแพร่กระจายได้

• ดื่มสารละลายเกลือแร่แก้ท้องร่วง ทดแทนน้ำ หรือของเหลวในร่างกาย เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำจากการถ่ายท้องมากผิดปกติ

• ในผู้ใหญ่หากมีอาการปวดท้อง หรือท้องอืด (Link : http://www.gedgoodlife.com/blogs/986-ท้องอืด) อาจให้ยาขับลม (Link : http://www.gedgoodlife.com/our-products/kremil ) ลดการปวดท้อง หรือท้องอืด

• รับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก ซุป ข้าวต้ม

• หากมีอาการอ่อนเพลีย พะอืดพะอม อาเจียนจนไม่สามารถรับประทานอาหารหรือเกลือแร่ได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับน้ำเกลือทางหลอดเลือด ลดอาการขาดน้ำและเกิดภาวะช็อก

การป้องกันอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรต้า

• ดูแลเรื่องความสะอาด สุขอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนทำอาหาร หรือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง

• รับประทานอาหารที่สะอาด ผ่านความร้อน เป็นอาหารสดใหม่

• กำจัดขยะ โดยเฉพาะขยะติดเชื้อเพื่อลดการปนเปื้อน เช่น ผ้าอ้อมของเด็กที่เกิดจากท้องเสียควรใส่ในถุงติดเชื้อเพื่อแยกทำลายอย่างถูกต้อง

• หมั่นทำความสะอาดของเล่นของลูก ๆ เป็นประจำสม่ำเสมอ

• ไม่ควรพาลูกไปในที่ชุมชน ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด เพราะเชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ทางการไอจาม

• ให้ทารกรับวัคซีนโรต้าไวรัส สำหรับวัคซีนโรต้าไวรัสเป็นวัคซีนแบบรับประทาน ที่ให้กับเด็กช่วง 6 สัปดาห์ – 8 เดือนเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันยังเป็นวัคซีนเสริมไม่ใช่วัคซีนหลัก โดยวัคซีนโรต้าสามารถช่วยป้องกัน หรือลดความรุนแรงอาการท้องร่วงจากไวรัสโรต้าได้

โรคท้องร่วงจากเชื้อ ไวรัสโรต้า เป็นอีกหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว ท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด สามารถพบได้ทุกปี ดังนั้นไม่ควรตื่นตระหนก แต่ควรหาข้อมูล และทำความเข้าใจอาการท้องร่วงจากไวรัสโรต้าเพื่อจะได้ดูแล ป้องกันร่างกายของตัวเอง และคนในครอบครัวให้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากเจ้าไวรัสโรต้าให้มากที่สุด


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close