เช็กอาการ! กรดไหลย้อน 4 ระยะ มีอาการ และวิธีรักษาอย่างไร?

กรดไหลย้อน 4 ระยะ

กรดไหลย้อน ใครไม่เป็นคงไม่รู้ว่ามันทรมานขนาดไหน! คนที่เป็นก็มีอาการที่แตกต่างกันออกไป โดยกรดไหลย้อนจะมีทั้งหมดด้วยกัน 4 ระยะ ใครที่เป็นน้อยอาจอยู่ในระยะที่ 1 แต่ใครที่เป็นมากก็อาจอยู่ระยะที่อันตรายได้ ฉะนั้นมาเช็กกันว่า กรดไหลย้อน 4 ระยะ มีอาการ และการรักษาอย่างไร…

กรดไหลย้อน 4 ระยะ มีอาการอย่างไรบ้าง?

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) นับเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เดือนสองเดือนแล้วหายไป แต่เป็นภาวะที่อยู่กับเราได้เป็นปี ๆ หรืออาจตลอดไป ฉะนั้นการศึกษาให้รู้ว่า เรามีโรคกรดไหลย้อนระยะใดนั้น มีความสำคัญต่อการรักษาที่เหมาะสม ระยะของโรคกรดไหลย้อนจะพิจารณาจากความถี่ และความรุนแรงของอาการ ดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 : ระยะอ่อนที่สุด มีอาการเพียงเล็กน้อย (Mild GERD)

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจะเข้าสู่ระยะที่ 1 ซึ่งมีอาการเสียดท้องเล็กน้อย โรคกรดไหลย้อนระยะนี้มักนำไปสู่การอักเสบเล็กน้อยในส่วนล่างของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการบ้าง หรือนาน ๆ มีอาการที (เช่น เป็นเดือนละ 1-2 ครั้งเท่านั้น) มีภาวะไหลย้อนนิดหน่อย ไม่ถึงกับรบกวนสุขภาพ เรียกว่า ภาวะการไหลย้อนที่กระเพาะอาหาร (Gastroesophageal Reflux – GER)

อาการของโรคกรดไหลย้อนระยะที่ 1

  • เรอเปรี้ยว แสบร้อนที่คอ
  • มีอาการเจ็บหน้าอก
  • รู้สึกเหมือนมีก้อนอะไรมาจุกอยู่ที่คอ
  • สำรอกอาหาร หรือของเหลว

การรักษา

การรักษาอาศัยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น ทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่กินแล้วนอนทันที และการใช้ ยาลดกรด (Antacid) ที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์

ระยะที่ 2 : ระยะที่มีอาการปานกลาง และควรเข้าพบแพทย์ (Moderate GERD)

ผู้ป่วยในระยะนี้ จะพบว่าอาการกรดไหลย้อนมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ในขณะที่ระยะที่ 1 จะพบอาการกรดไหลย้อน เพียงเดือนละ 1-2 ครั้งเท่านั้น) จำเป็นต้องเข้าพบแพทย์ เพื่อรับยาลดกรดในการบรรเทาอาการต่าง ๆ หากไม่ได้รับการรักษา

อาการของโรคกรดไหลย้อนระยะที่ 2

  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • หายใจได้ไม่สุด เหนื่อยง่าย
  • มีอาการแสบร้อนหน้าอก แสบคอได้
  • การถ่ายอุจจาระเริ่มไม่เป็นปกติ ท้องผูก ผายลมเหม็น
  • ปวดตึงบ่าไหล่ เป็นประจำ

การรักษา

ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนระยะที่ 2 ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์ อาจต้องได้รับใบสั่งยา เช่น ยาในกลุ่ม Proton – Pump Inhibitors (PPIs) หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดอาการหลอดอาหารอักเสบได้

ระยะที่ 3 : เกิดภาวะกรดไหลย้อนขั้นรุนแรง (Severe GERD)

ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะมีการอักเสบของหลอดอาหารอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยในระยะนี้ มีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหาอื่น ๆ อันเป็นผลมาจากโรคกรดไหลย้อนที่รุนแรง

อาการของโรคกรดไหลย้อนระยะที่ 3

การรักษา

ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนระยะที่ 3 ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์ เหมือนกับระยะที่ 2 และควรปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์

ระยะที่ 4 : ก่อให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร (Reflux induced precancerous lesions or esophageal cancer)

เป็นผลจากการที่ไม่ได้รับการรักษาอาการรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานหลายปี 10% ของผู้ที่มีโรคกรดไหลย้อนจะเข้าสู่ระยะนี้ได้ หากไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้อย่างถูกต้อง ในผู้ป่วยบางรายอาจพบมะเร็งหลอดอาหารก่อตัวในระยะนี้ได้ ฉะนั้นผู้ป่วยกรดไหลย้อนไม่ควรละเลยอาการที่เป็นอยู่ ควรรีบรักษาแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่ให้มาถึงระยะที่ 4 ได้

อาการของโรคกรดไหลย้อนระยะที่ 4

  • แสบร้อนกลางอกเป็นประจำ
  • กลืนลำบาก
  • สำรอกอาหาร หรือของเหลว
  • มีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุอาหารชนิดบาร์เร็ตต์ (Barrett’s esophagus) ซึ่งจะนำไปสู่มะเร็งหลอดอาหารต่อไป

การรักษา

ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในระยะที่ 4 จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตามการผ่าตัดไม่สามารถป้องกันมะเร็งหลอดอาหารได้ 100 % ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ผ่านการผ่าตัดมา 3-5 ปีอาจมีภาวะกรดไหลย้อนกลับมาใหม่ได้
ทั้งนี้การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา (ในคนไทยมีโอกาสที่จะกลายไปเป็นมะเร็งหลอดอาหารน้อยมาก ๆ)

สรุป โรคกรดไหลย้อนอาจไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างความน่ารำคาญ และมีผลต่อชีวิตประจำวันได้มากทีเดียว สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคกรดไหลย้อน อาจลองเปลี่ยน พฤติกรรมที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน เช่น การรับประทานอาหาร การนอน การลดน้ำหนัก การงดสูบหรี่ ฯ เป็นต้น หากไม่ดีขึ้นควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องต่อไป

อ้างอิง : 1. Houston Heartburn and Reflux Center 2. cooperhealth 3. medicalnewstoday 4. Institute of Esophageal and Reflux Surgery 5. กรดไหลย้อน 6. ดร.พิทักษ์ตับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close