ยาลดกรด ยารักษากรดไหลย้อน คืออะไร มีกี่ชนิด ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง?

ความเครียดก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อน

หากคุณคือคนหนึ่งที่ชอบกินอาหารรสจัด กินอาหารไม่ตรงเวลา และมีอาการแสบร้อนกลางอก แน่นอก เรอเปรี้ยว อาจต้องพึ่งพา “ยาลดกรด” เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว มาทำความรู้จักกับยาลดกรดให้มากขึ้น จะได้ใช้อย่างถูกกต้องกันดีกว่า

ยาลดกรด คืออะไร?

ยาลดกรด (acid reducers) คือ ยาที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับกรดในทางเดินอาหาร มีฤทธิ์สะเทิน (neutralize) กรดในกระเพาะอาหาร มักเป็นตัวยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เพื่อช่วยบรรเทาอาการแสบร้อน ปวดท้อง และอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรดไหลย้อน และแผลในกระเพาะอาหาร

ยารักษาภาวะกรดไหลย้อน จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่

  • ยาระดับที่ 1 ยาลดกรด (Antacids) หรือยาลดการผลิตกรด (H2-BLOCKERS)
  • ยาระดับที่ 2 ยาที่ทำให้หยุดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร คือ ยาในกลุ่ม Proton – Pump Inhibitors (PPIs)
  • ยาระดับที่ 3 คือ Prokinetic Agents ยาในกลุ่ม Prokinetic Agents

ในบทความนี้ จะกล่าวเฉพาะยาระดับที่ 1 คือ ยาลดกรด (Antacids) เพราะเป็นยาเบื้องต้นที่ผู้ป่วยกรดไหลย้อนเลือกใช้ก่อนเสมอ

ยาลดกรดระดับที่ 1 (Antacids)

เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดความเป็นกรด (acid) ภายในกระเพาะอาหารทำให้เป็นกลางมากขึ้น กลไกในการออกฤทธิ์ของยาลดกรด คือ การนำความเป็นด่างของยาสะเทินกับกรดในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ เพื่อลดความเป็นกรด เมื่อความเป็นกรดลดลง การกัดกร่อนของกรดที่จะทำให้เกิดแผลจึงลดลงตามไปด้วย อาการกรดไหลย้อนก็จะบรรเทาลงตามลำดับ โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นยังไม่มาก คือ น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์

ยาลดกรด มักประกอบด้วย 2 ตัวยา ได้แก่

  1. อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide, AlOH3)
  2. แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate, MgCO3)

ช่วยในการสะเทินกรดด่างในกระเพาะอาหาร เมื่อเกิดการย้อนกลับของอาหารในหลอดอาหาร จะช่วยให้ผนังของหลอดอาหารสัมผัสกับกรดในกระเพาะอาหารลดลง ข้อดีอีกประการหนึ่งของยานี้คือออกฤทธิ์บรรเทาอาการได้ภายใน 5 นาที

นอกจากตัวยาที่มีฤทธิ์ในการลดกรดแล้ว ยาที่วางขายในท้องตลาดมักผสมตัวยาชนิดอื่นเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษา และบรรเทาอาการอันเนื่องมาจากกรดอีกด้วย ยาดังกล่าวได้แก่

ไซเม็ททิโคนเป็นสารลดแรงตึงผิวที่ทำให้ฟอง และแก๊สในกระเพาะอาหารสามารถระบายออกจากอาหารที่กำลังถูกย่อยได้ เสริมประสิทธิภาพในการขับลม ท้องอืด แน่นท้อง โดยยาประเภทนี้มีให้เลือกทั้ง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ ผลิตภัณฑ์ยาลดกรดที่มีตัวยาไซเม็ททิโคน เช่น เครมิล ชนิดเม็ด (Kremil Tablets) ซองเขียว

สรรพคุณของยาลดกรด (ข้อบ่งใช้)

การใช้ยาลดกรด ชนิดน้ำ และชนิดเม็ด

การกินยาลดกรด (Antacid) มักแนะนำให้กินยาหลังอาหาร เนื่องจากการออกฤทธิ์ของตัวยา คือการสะเทิน หรือทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะหลั่งออกมามากหลังจากการกินอาหารเข้าไปกระตุ้น

ยาลดกรดชนิดเม็ด (ยาเม็ด-Tablet) / (ยาเคี้ยว-Chewable tablet)

วิธีใช้: เคี้ยวยาให้ละเอียดก่อนกลืน* และดื่มน้ำตามมาก ๆ กินหลังอาหาร 1 ชั่วโมง วันละ 3-4 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ และซ้ำได้ทุก 2-4 ชั่วโมง

ขนาดใช้: ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 1-2 เม็ด เด็กอายุ 4-7 ปี กินครั้งละ 1 เม็ด

คำเตือน: เช่นเดียวกับยาลดกรดชนิดน้ำ

*หากผู้ป่วยกรดไหลย้อน ไม่ชอบเคี้ยวเม็ดยาก่อนกลืน สามารถเลือกใช้ ยาลดกรดยี่ห้อ เครมิล (Kremil) ไม่ต้องเคี้ยว

ยาลดกรดชนิดน้ำ (Suspension)

สรรพคุณ: ใช้แก้โรคกระเพาะ, แก้อาการปวดแสบท้องเวลาหิวจัดหรืออิ่มจัด, แก้ท้องอืด, ท้องเฟ้อ, เรอเหม็นเปรี้ยว

วิธีใช้: เขย่าขวดก่อนใช้. กินหลังอาหาร 1 ชั่วโมง วันละ 3-4 ครั้ง หรือกินเมื่อมีอาการ และซ้ำได้ทุก 2-4 ชั่วโมง

ขนาดใช้: ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เด็กอายุ 7-12 ปี กินครั้งละครึ่งช้อนโต๊ะ 4-7 ปี กินครั้งละ 1-2 ช้อนชา

ผลข้างเคียงของยาลดกรด (Antacid)

  • ยาลดกรดแบบที่มีแมกนีเซียมอย่างเดียว (เช่น แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์) อาจทำให้ท้องร่วง
  • ยาลดกรดแบบที่มีแคลเซียม หรืออะลูมิเนียมเท่านั้น อาจทำให้ท้องผูก (และในระยะยาวแม้มีน้อย อาจก่อนิ่วไต)

ในปัจจุบัน มียาลดกรดแบบสูตรผสมกันระหว่างแมกนีเซียม (Magnesium Carbonate) และอะลูมิเนียม (Aluminium Hydroxide) ออกฤทธิ์เฉพาะที่กระเพาะอาหารจึงไม่รบกวนสมดุลกรด-ด่างในร่างกาย ดังนั้นเมื่อใช้เป็นสูตรผสมรับประทานร่วมกัน จึงมีผลต่อระบบขับถ่ายน้อย ไม่ทำให้ท้องผูก ท้องร่วง ยาในกลุ่มนี้เช่น เครมิล (Kremil)

ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรถ้าต้องทานยาลดกรดเป็นประจำและมีเหตุดังต่อไปนี้ คือ

  • มีโรคไต ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ
  • ทานอาหารมีเกลือน้อยอยู่
  • ทานแคลเซียมเพิ่มอยู่แล้ว

ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนการใช้ยาลดกรดในหญิงตั้งครรภ์ (หรือระหว่างให้นมบุตร) และในวัยเด็ก รวมถึงผู้สูงวัย

หากมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารดังต่อไปนี้ ควรเข้าพบแพทย์

ยาลดกรดไม่สามารถช่วยรักษาไส้ติ่งอักเสบ นิ่วถุงน้ำดี และปัญหาลำไส้ต่าง ๆ ได้ และควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ

  • เจ็บปวด หรือมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ดีขึ้นเมื่อใช้ยาลดกรดแล้ว
  • มีอาการทุกวัน หรือตอนกลางคืน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีเลือดในอุจจาระหรืออุจจาระมีสีเข้ม
  • ปวดท้องด้านล่าง ปวดสีข้าง ปวดหลัง
  • ท้องร่วงอย่างรุนแรง หรือไม่หาย
  • มีไข้เมื่อปวดท้อง
  • ปวดเจ็บหน้าอก หรือหายใจไม่ออก
  • กลืนลำบาก
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ

 

อ้างอิง : 1. bangkokhospital 2. หมอชาวบ้าน 3. th.wikipedia 4. haamor

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close