กินอาหารไม่ตรงเวลา เสี่ยงสุขภาพพังยังไงบ้าง ทำให้เป็นโรคกระเพาะจริงหรือไม่?

กินอาหารไม่ตรงเวลา

จำไว้เลยว่า เรื่องอาหารการกิน ต้องใส่ใจ หากละเลยอาจนำพาโรคมาสู่เราได้! วันนี้ Ged Good Life มีเรื่องมาเตือนสำหรับคนที่ กินอาหารไม่ตรงเวลา กินน้อยเกินไป หากทำเป็นประจำ อาจทำให้สุขภาพพังได้นะ และโรคที่เกี่ยวกับช่องท้อง มักจะเรื้อรัง ไม่ใช่ว่าจะรักษากันง่าย ๆ! ฉะนั้น มาดูกันว่า หากกินอาหารไม่ตรงเวลาจะเสี่ยงสุขภาพพังยังไงบ้าง พร้อมไขข้อข้องใจ กินไม่ตรงเวลาทำให้เป็นโรคกระเพาะ จริงหรือไม่..?

– 7 อาหารโรคกรดไหลย้อน ที่ควรกิน-ไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง?
– มะเร็งกระเพาะอาหาร – สาเหตุ อาการ วิธีรักษา
– อาหารช่วยชีวิต ควรเริ่มกินตั้งแต่เด็ก อะไรควรกิน-ควรงด มาดูกัน! โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

กินอาหารไม่ตรงเวลา เสี่ยงสุขภาพพัง เป็นโรคอะไรได้บ้าง?

1. เสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร

เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นกับหญิงสาวท่านหนึ่ง ที่ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Pattaraporn Suriyamanee เคยโพสต์เตือนคนที่มีพฤติกรรมกินข้าวไม่ตรงเวลาไว้ว่า

“สำหรับตัวเราเป็นคนทานน้อย ทานไม่ค่อยตรงเวลา กินตามใจปาก เวลาเครียดจะปวดท้อง เราป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่3 ตอนนี้เราได้ผ่าตัดกระเพาะอาหารออกหมดแล้ว (ไม่มีกระพาะอาหาร) “อยากให้เรื่องเราเป็นอุทาหรณ์ อยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพ ทานอาหารให้เป็นเวลา และหากปวดท้องกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน ควรพบแพทย์”

อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ยังมีสาเหตุสำคัญอื่น ๆ อีกด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ -> มะเร็งกระเพาะอาหาร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

กินอาหารไม่ตรงเวลา

2. เสี่ยงกรดไหลย้อน

ในปัจจุบัน คนไทยป่วยด้วยโรคกรดไหลย้อนมากขึ้น เพราะ วิถีชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้พฤติกรรมการกินของเราเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย บางคนก็กินไม่เป็นมื้อ บางคนเลิกงานดึก กลับมาบ้านก็ กินแล้วนอน เลย พอทำแบบนี้นาน ๆ ไป ก็จะเริ่มมีอาการจุกเสียด แน่นคล้ายอาหารไม่ย่อย จุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ แสบร้อนบริเวณอกบ่อย ๆ บางครั้ง มี เรอ คลื่นไส้ อาจมีน้ำรสเปรี้ยว หรือขม ไหลย้อนขึ้นมาในปากและคอ อาการเหล่านี้กำลังชี้ชัดว่า คุณกำลังเป็น กรดไหลย้อน

อ่านเพิ่มเติม -> เช็กอาการ! กรดไหลย้อน 4 ระยะ มีอาการ และวิธีรักษาอย่างไร?

3. มีผลต่อน้ำตาลในเลือด

เมื่อน้ำตาลในเลือดของคุณลดลง จะทำให้ความสามารถในการคิดของคุณหยุดชะงัก สมองจะใช้กลูโคสเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าน้ำตาลไม่เพียงพอที่สมองจะใช้ ร่างกายของคุณก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ พอน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็จะทำให้รู้สึกหงุดหงิด สับสน และเหนื่อยล้า ร่างกายเริ่มผลิตคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ทำให้เราเครียด และหิวตามมา

4. มีผลต่อระบบย่อยอาหาร

การกินอาหารไม่ตรงเวลาเป็นประจำ ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ เพราะขาดสารอาหารที่จะนำไปใช้เป็นพลังงานให้แก่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายตามเวลาที่เหมาะสม ส่งผลให้กระเพาะอาหารทำงานช้าลง เผาผลาญแคลอรี่ได้น้อยลง ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายจึงทำงานผิดปกติตามไปด้วย ทำให้ปวดท้อง อืดท้อง แน่นท้อง เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวน โรคกระเพาะอาหาร และโรคท้องผูกเรื้อรังได้

5. เสี่ยงต่อโรคอ้วน

การกินอาหารไม่เป็นเวลา หรือปล่อยให้ร่างกายอดอาหารเป็นเวลานานจนรู้สึกหิว จะไปกระตุ้นฮอร์โมนความเครียดที่ชื่อ Cortisol ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารกลุ่มที่มีน้ำตาล และไขมันสูง การกินอาหารกลุ่มนี้มาก ๆ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการได้รับพลังงานเกินกว่าความต้องการ และเกิดโรคอ้วนได้


หากกินอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้เป็นโรคกระเพาะ จริงหรือไม่?

เชื่อว่าใครหลายคน คงคุ้นหูกับประโยคที่ว่า “กินข้าวไม่ตรงเวลา ระวังโรคกระเพาะนะ” แท้จริงแล้ว โรคกระเพาะอาหาร เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่ว่ากินอาหารไม่ตรงเวลาอย่างเดียว แล้วจะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของโรคกระเพาะ

  • สาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย “เอชไพโลไร (H.pylori)”
  • การรับประทานยากลุ่มยาต้านการอักเสบ หรือยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น
  • ความเครียด ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่กระตุ้นให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้
  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และรับประทานอาหารรสจัดบ่อย ๆ จะทำให้เกิดการกัดกร่อนทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก

จะเห็นได้ว่า โรคกระเพาะมีสาเหตุหลักจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร และอื่น ๆ ฉะนั้น การกินอาหารไม่ตรงเวลา เป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น ไม่ใช่ว่ากินไม่ตรงเวลาเพียงแค่ไม่กี่วัน แล้วจะทำให้เป็นโรคกระเพาะเลยสะทีเดียว

อย่างไรก็ตาม… โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่ไม่ควรละเลย ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เช่นรับประทานอาหารที่สะอาด ตรงต่อเวลา รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เป็นต้น

 

อ้างอิง : 1. deccanherald 2. samitivejhospitals 3. hellokhunmor 4. vibhavadi 5. sanook

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close