ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ต้องปรับ 5 พฤติกรรมนี้!

ท้องอืด

คุณกำลังมีอาการ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย อยู่หรีอเปล่า? คงรู้ดีว่ามันทรมานแค่ไหน แต่ถ้าไม่อยากเป็นอีก อาจต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ท้องอืดอีก ตามมาดูกันเลยว่า พฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย จะมีอะไรบ้าง และถ้าหากปล่อยไว้อาจร้ายแรงกว่าที่คิดนะ!

รู้ให้ชัด! ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คืออะไร มีอาการยังไง และใครคือกลุ่มเสี่ยง?

ท้องอืด (Bloated stomach) คือ อาการจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร กินอาหารไปแล้ว 3-4 ชั่วโมง ก็ยังรู้สึกว่ามีอาหารค้างอยู่ในท้อง อึดอัดแน่นท้อง เรอ ผายลม หรือท้องโต จนทำให้ท้องดูมีลักษณะบวม (ท้องป่อง) หรือดูอ้วนกว่าปกติ ทั้งนี้หากอาการเป็นต่อเนื่องนาน ๆ โดยไม่มีสาเหตุ อาเจียนไม่หยุด อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด หมดสติ ควรรีบพบแพทย์

“ใคร” คือกลุ่มเสี่ยง

ท้องอืดสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งทุกเพศ ทุกวัย แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ จะมีโอกาสท้องอืดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ได้แก่

  1. ผู้ป่วยที่มีโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ มะเร็งกระเพาะอาหาร ฯ
  2. ผู้ป่วยที่ต้องกินยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท จะทำให้กระเพาะและลำไส้บีบตัวน้อยลง
  3. โรคทางร่างกายอย่างอื่น ๆ เช่น เบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคตับอ่อน เป็นต้น

ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ต้องปรับ 5 พฤติกรรมนี้!

1. ไม่รับประทานอาหารครั้งละมากเกินไป

เมื่อรู้สึกว่าอิ่มแล้ว ก็ควรเลิกทานต่อ ควรเลี่ยงอาหารประเภทบุฟเฟต์ ที่ต้องทานคราวละมาก ๆ และควรเคี้ยวให้ละเอียด อย่าเร่งเร็วจนเกินไป

2. หลังรับประทานอาหารอิ่ม อย่าล้มตัวลงนอนทันที

หลังทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ควรเดินย่อยบ้าง ไม่ควรอยู่ในท่าก้มงอตัว หรือนอนทันที เพราะจะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ท้องอืดได้ง่าย ส่วนอาหารมื้อเย็นก่อนควรทานก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

3. ไม่ทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแก๊สเยอะ

เช่น ถั่ว ผักบางชนิดที่มีไฟเบอร์สูง เครื่องดื่มอย่าง น้ำอัดลม โซดา เบียร์ เป็นต้น ทานเข้าไปมาก ๆ ก็สะสมจนกลายเป็นแก๊สในกระเพาะอาหารได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ถ้าผนังหน้าท้องแข็งแรงมาก มีระบบย่อยอาหารแข็งแรงดีก็อาจจะท้องไม่อืดก็ได้

4. ปรับพฤติกรรมไม่ให้กลืนอากาศเยอะเกินไป

เช่น เคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม สูบบุหรี่บ่อย หรือแม้กระทั่ง การพูดจา หัวเราะ หายใจทางปาก ก็ล้วนทำให้ลมเข้าท้องได้ทั้งสิ้น เมื่อร่างกายได้รับลมเข้าไปแล้ว ลมจะไหลไปตามระบบทางเดินอาหาร และถูกกำจัดออกมาโดยการผายลม แต่ถ้าลมเยอะเกินไป อาจจะมีการเรอ สะอึก หรือท้องอืดร่วมด้วยได้

5. เลิกเครียด และวิตกกังวลจนเกินไป

เนื่องจากภาวะเครียดจะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ รวมไปถึงกระเพาะอาหารที่หลั่งกรดออกมามากกว่าปกติ เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และการย่อยอาหารช้าลง

 

ไขข้อข้องใจ ทำไมดื่มนมแล้วท้องอืด?

ข้อมูลจากกรมอนามัย ได้ระบุไว้ว่า หลายคนที่เกิดอาการนี้มักจะคิดว่า ตัวเองแพ้นมรึเปล่า? ในกรณีที่มีอาการท้องอืด จุกเสียด ท้องเสียหลังการดื่มนม ไม่ใช่การแพ้นม แต่เป็นเรื่องของการที่อายุมากขึ้น ร่างกายย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้น้อยลง เพราะผลิตเอนไซม์ที่ชื่อว่า แลกเตส (lactase) ได้ลดลง ไม่เพียงพอสำหรับย่อยน้ำตาลในนมที่ชื่อว่า แลคโตส (Lactose) จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าว

วิธีแก้ ค่อย ๆ ดื่มนมทีละน้อย (ไม่เกินครึ่งแก้ว) ต่อครั้ง ไม่ควรดื่มตอนท้องว่าง และสามารถเพิ่มเป็นครั้งละหนึ่งแก้วได้ในเวลาประมาณ 1–2 สัปดาห์ ก็จะช่วยให้อาการเบาลง ทำให้สามารถดื่มนมได้ดีขึ้น หรือบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมอื่น ๆ เช่น โยเกิร์ต และหากอาการดีขึ้นไม่มีอาการท้องเสีย ขอให้ดื่มนมสูตรปกติ และควรเป็นรสจืด ไม่จำเป็นต้องดื่มนมแลคโตสฟรี หรือปราศจากแลคโตส

วิธีใช้ยาจัดการกับภาวะท้องอืด

  • การใช้ยาลดกรด เป็นยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร ให้มีความเป็นกลางมากขึ้น เช่นตัวยาอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminum Hydroxide)
  • การใช้ยาขับลม ทำหน้าที่ขับลมในกระเพาะและลำไส้ เช่น ไซเมธิโคน (Simethicone)
  • การใช้ยาแก้ปวดท้อง เช่น ไดไซโคมีน (Dicyclomine)

ปัจจุบันมียาสูตรผสม (combination drug) หลายตัวที่ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด แน่น จุกเสียด แสบร้อนกลางอก เช่น เครมิล แก๊สเปคเอส เนื่องจากให้ประโยชน์มากกว่ายาเดี่ยวหลายประการ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพยา ให้ผลในการรักษาเร็วขึ้น รักษาได้หลายอาการมากขึ้น  ลดอาการไม่พึงประสงค์ (เนื่องจากการใช้ยาเดี่ยวอาจต้องใช้ยาขนาดสูง) เพิ่มความสะดวกในการใช้ยา (กินยาเพียงครั้งเดียว ) และทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการใช้ยาง่ายขึ้น

 

อ้างอิง : 1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 2. โรงพยาบาลพญาไท 3. กรมอนามัย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close