แพทย์เตือน! เป็นหวัด เจ็บคอบ่อย สัญญาณภูมิต่ำที่ต้องระวัง

เป็นหวัด เจ็บคอบ่อย

“ไม่พูดเยอะเจ็บคอ” เป็นวลีเด็ดที่วัยรุ่นใช้กันอยู่ช่วงหนึ่ง  นั่นเป็นเพราะอาการหวัดเจ็บคอ เป็นอาการที่พบได้บ่อยทุกคน จะบ่อยเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองเช่นกัน จริง ๆ แล้วอาการเจ็บคอมาจากหลายสาเหตุนอกเหนือจากการพูดเยอะนะคะ อาการหวัดก็ทำให้เจ็บคอได้เหมือนกัน และเกิดได้บ่อยกว่าด้วยค่ะ

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

แล้วคนเราจะติดหวัดได้บ่อยขนาดไหน เมื่อไหร่ถึงเรียกว่าผิดปกติ?

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทาน และปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างค่ะ อาจจะปีละ 1-2 ครั้ง ตามปัจจัยแวดล้อมที่พบบ่อย คือช่วงอากาศเปลี่ยน ไวรัสระบาด ไม่ว่าจะเป็นไวรัสธรรมดา หรือ โคโรนาไวรัส ก็มีอาการคล้ายเคียงกันได้เหมือนกัน นอกจากฤดูกาลแล้วสถานที่ที่เราอยู่มีความชุกของเชื้อหวัดมากขนาดไหน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ก็จะมีโอกาสเจอเชื้อหวัดได้บ่อยกว่าคนอื่น โอกาสที่จะติดหวัดก็มีมากเช่นกัน เมื่อเราเข้าใจดังนี้ การใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ ก็จะทำให้ลดโอกาสการติดเชื้อหวัดได้เช่นกัน

หากทำทุกอย่างแล้วยังมีการติดหวัดบ่อยครั้ง มากกว่า 4-6 ครั้งต่อปี ควรพิจารณาภูมิต้านทานตนเองค่ะ ว่าต่ำกว่าปกติหรือไม่ เพราะภูมิต้านทานคือเกราะล้อมรอบตัวเราคอยปกป้องเราจากเชื้อโรคภายนอก

4 สาเหตุที่พบบ่อยของภูมิต้านทานที่ต่ำลง

1. คนที่มีความเครียดตลอดเวลา พักผ่อนนอนน้อย และมีการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ติดหวาน เมื่อเป็นแบบนี้นานวันก็จะพบการติดเชื้อบ่อย เป็นโรคภูมิแพ้ และภูมิต้านทานไวเกิน จากกระบวนการอักเสบเรื้อรัง พบมากในคนที่ทำงานกะกลางคืน หรือคนที่เป็น gamer ที่ต้องไลฟ์ตอนกลางคืน หมอบุคลากรการแพทย์ที่ต้องอยู่เวร และมีความเครียดร่วมด้วย กลุ่มนี้เวลามาเจาะดูปริมาณตัวเม็ดเลือดขาวนักฆ่า (NK cell) แล้วปริมาณค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์

2. คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตวาย ไขมันพอกตับ ตับอักเสบเรื้อรัง รูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง สะเก็ดเงิน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ และลุกลามรุนแรงง่าย

3. คนสูงอายุ หลายคนคงเคยได้ยินแล้วกับคำว่าภูมิแก่ (Immunosenecence) มาบ้างแล้ว เมื่ออายุมากขึ้นเม็ดเลือดขาวมีปริมาณลดลง มีตัวคอยจับเชื้อโรคน้อยลง และเชื่องช้าทำให้คนสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

4. คนที่ได้ยากดภูมิคุ้มกันจากการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ หรือคนที่อยู่ในระหว่างการให้ยาเคมีบำบัดเป็นประจำ ก็จะทำให้ภูมิต้านทานต่ำลง มีโอกาสติดเชื้อ เป็นหวัด ไอ คัดจมูก เจ็บคอ ได้ง่ายกว่าคนอื่น

เป็นหวัด เจ็บคอบ่อย

ทำอย่างไรเมื่อเป็นหวัดเจ็บคอ?

เพราะนอกเหนือจากการคัดจมูกแล้ว อาการเจ็บคอยังเป็นสิ่งที่กวนใจ ควรไปตรวจร่างกาย หรือส่องดูคอตัวเองก่อนว่ารุนแรงขนาดไหน บางคนเป็นแค่คอแดง ซึ่งอาจจะเกิดจากเชื้อไวรัส อย่างนี้เราประมาณการได้ว่าไม่เกิน 3-4 วัน ก็จะหายไปโดยไม่ต้องกินยา เพียงแค่ดูแลตัวเองด้วยการ นอนเยอะ ๆ ทานอาหารอ่อน ๆ เสริมวิตามินบางตัวเช่น วิตามินซี โปรไบโอติก วิตามินดี พ่นคอด้วยกลุ่มสเปรย์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสมุนไพรช่วยลดการอักเสบของคอได้

แต่หากคออักเสบถึงขั้นเป็นหนอง และเป็นแผล คล้านร้อนในหลายวงที่บริเวณคอ จนทำให้เกิดการกลืนลำบากเป็นไข้สูง ไม่สบายตัว ควรไปพบแพทย์เพราะอาจจะต้องได้ยาปฏิชีวนะ อาจเป็นรุนแรงถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาปฏิชีวนะควบคุมอาการเลยทีเดียว

ถ้าอาการดังกล่าวรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม และเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ให้สงสัยว่าเราอาจจะเป็นภาวะภูมิต้านทานต่ำเรื้อรัง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในคนที่เป็นโรคเรื้อรังคนสูงอายุข้างต้นโดยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงูสวัด หรือติดเชื้อลงปอดไปจนถึงการติดเชื้อราก็จะเกิดขึ้นได้

ดังนั้นเราควรดูแลภูมิต้านทานตัวเองกันนะคะ สิ่งที่เรายังควบคุมกันได้นั่นก็คือ

1. เลือกกินอาหารที่ดี ไม่กินของหวาน ของทอด ของมัน จนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิด oxidative class ที่เป็นสาเหตุของภูมิต้านทานที่ต่ำลง

2. ผ่อนคลายความตึงเครียด การฝึกสมาธิ การฝึกปล่อยวาง ไม่ยึดติดอะไรมากเกินไปจะทำให้ข้อติซอลหลั่งออกมาปกติสารสื่อประสาทต่าง ๆ คืนกลับสู่ปกติทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้นได้

3. การนอนแต่หัวค่ำ ต้องมาแล้วค่ะ ถ้าเป็นติดเชื้อหวัดเรื้อรังเกือบทุกเดือนเรายิ่งควรจะต้องกลับมาดูแลตัวเองโดยการนอนตั้งแต่ 20:00 น. เลยทีเดียว เพื่อฟื้นฟูภูมิต้านทานให้กลับมาปกติโดยเร็วที่สุด

4. การออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายสูบฉีดโลหิตได้ดีขึ้น ความแข็งแรงก็จะมากขึ้น

5. อย่าลืมตรวจร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่ให้น้ำตาล และไขมัน สูงเกินไปจนเป็นโรคเรื้อรังตามมา

เท่านี้ก็จะทำให้ภูมิต้านทานกลับมาแข็งแรงขึ้น ช่วยปกป้องร่างกายเราจากการติดเชื้อหวัดไปนาน ๆ ค่ะ

 

บทความโดย พญ.กอบกาญจน์  ชุณหสวัสดิกุล
แพทย์เวชศาสตร์ป้องกันผู้มีประสบการณ์ด้าน Integrative Medicine กว่า 20 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close