ไขมันพอกตับ โรคร้าย ๆ ของคนกินไม่ยั้ง!

ไขมันพอกตับ

ถ้าคุณเป็นคนที่กินอะไรก็อร่อย ฟาดเรียบหมด ตื่นเช้ามา อยากกินชาบู อยากกินซูชิ อยากกินหมูกระทะตลอดเวลา ไม่แคร์ว่าน้ำหนักจะขึ้นไปขนาดไหน ขอเตือนเลยว่าไขมันไม่ได้สะสมอยู่ตามเอว ตามแขนขาอย่างเดียว แต่อาจจะไปสะสมที่ตับจนเป็นโรค “ไขมันพอกตับ” ขึ้นได้

ไขมันพอกตับ หรือ โรคไขมันเกาะตับ (fatty liver disease) คือ ภาวะที่มีไขมันเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับเกินปกติ คือ ประมาณ 5% ของตับ โดยทั่วไปมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ เมื่อไขมันสะสมในตับเป็นปริมาณมาก จะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ

ไขมันพอกตับ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

– โรคไขมันพอกตับที่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic fatty liver disease , AFLD)

– โรคไขมันพอกตับที่มิได้มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD)

โรคไขมันพอกตับ ใกล้ตัวกว่าที่คิด

จากสถิติพบว่า ในคนไทย ทุก ๆ 10 คน จะพบกลุ่มที่มีภาวะไขมันเกาะตับ (ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์) ได้ถึง 4 คน ดังนั้น โรคไขมันเกาะตับไม่ใช่โรคไกลตัวอีกต่อไป และโรคไขมันในตับยังอาจทำให้เกิดภาวะเสี่ยงของการเกิดตับแข็ง และมะเร็งตับตามมาได้ จากสถิติยังพบว่ามะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้ชายไทย และเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิง

สาเหตุของ ไขมันพอกตับ

– การมีไขมันไปสะสมอยู่ในเซลล์ตับ สาเหตุหลัก ๆ มาจากการกิน โดยเฉพาะไขมัน คาร์โบไฮเดรต น้ำตาลมากเกินไป โดยเมื่อมีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในร่างกายมากเกินความต้องการจนตับนำไปสร้างเป็นไขมัน ไขมันส่วนเกินจะถูกสะสมในรูปเนื้อเยื่อไขมัน เนื้อเยื่อไขมันจะค่อย ๆ สะสมในตับ

– ภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาจเกิดจากมีการผิดปกติในการเผาผลาญอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตจากฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) จากตับอ่อน ภาวะที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลินเป็นปัจจัย ที่สำคัญของการเกิดภาวะไขมันสะสมในตับ

– การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับทั้งปริมาณแอลกอฮอล์ ประเภท และระยะเวลาที่ดื่ม

– สาเหตุจากไวรัสตับอักเสบ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดไขมันพอกตับได้ ดังนั้นควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบทุกครั้งด้วย เมื่อตรวจร่างกายประจำปี

รู้หรือไม่ คนที่มีความเสี่ยงเกิดไขมันพอกตับ คือ คนอ้วน หรือ มีภาวะอ้วนลงพุง ดูเบื้องต้นง่าย ๆ คือ ผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว และผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้

อาการไขมันพอกตับ

  • ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ
  • บางคนอาจรู้สึกไม่สบายบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ไขมันพอกตับ

การรักษาไขมันพอกตับ

– ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ถ้ามีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคเบาหวาน อาจตรวจพิเศษเพื่อหาภาวะไขมันพอกตับ

– ปรับการกิน ในการรักษาโรคไขมันพอกตับ ยังไม่มียาที่รักษาเฉพาะเจาะจงสำหรับโรคนี้ สิ่งสำคัญคือ ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกินใหม่ กินแป้ง น้ำตาล ไขมัน ให้น้อยลง

ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย นอกจากการปรับเรื่องอาการการกินแล้ว ควรตั้งใจลดน้ำหนักตัวลงด้วย เพราะถ้าลดน้ำหนักลงได้ 5-10% จะทำให้ภาวะไขมันในตับลดลง และถ้าน้ำหนักลดลงมากกว่า 10% จะทำให้การอักเสบของตับซึ่งเกิดจากภาวะไขมันพอกตับดีขึ้นได้ แต่ไม่ควรรีบร้อนลดน้ำหนัก หักโหมเกินไป ควรค่อย ๆ ลด โดยอาจจะมีเป้าหมาย คือ ลดให้ได้ 0.5-1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

– กินยาช่วยลดภาวะการอักเสบของตับ ทำให้การทำงานของตับดีขึ้น ช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน

ไขมันพอกตับ ป้องกันได้! แค่ปรับการกิน

วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันหรือรักษาโรคไขมันพอกตับ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะเรื่อง อาหารการกิน

– หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ควรเลี่ยงอาหารประเภท นม เนย ไอศกรีม เค้ก ชีส กะทิ อาหารทะเล ไข่แดง ที่ให้ไขมันสูง

– ลดแป้งและน้ำตาล เพราะไตรกลีเซอไรด์ เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป นอกจากนี้ ขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม ที่มีน้ำตาลสูง ยังเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และเบาหวานได้

– เน้นกินผัก ผลไม้ ธัญพืช เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ด ฟักทอง งา นอกจากนี้ผักบางชนิดยังสามารถช่วยเร่งกระบวนการกำจัดพิษออกจากตับได้ เช่น บรอกโคลี กะหล่ำ กระเทียม หัวหอม

– หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไขมันตับจากการดื่มแอลกอฮอล์

– ลดของหวาน อาหารที่มีน้ำตาลสูง ขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม ที่มีน้ำตาลสูง เพราะเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และเบาหวานได้

– หลีกเลี่ยงการรสจัด ไม่ว่าจะเป็นอาหารเค็มจัด มันจัด เปรี้ยวจัด หรือหวานจัด แต่ควรกินอาหารรสชาติกลาง ๆ

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close