หน้าฝนไอไม่หยุด ระวัง ” โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน “

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

อาการป่วยที่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน หรือ ช่วงอากาศเปลี่ยน นอกจากไข้หวัดแล้ว อีกหนึ่งโรคที่อาจตามมาพร้อมกับไข้หวัด คือ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เพราะมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ถ้าสังเกตว่าลูกป่วยเป็นหวัด แล้วไม่หายสักที หรือมีอาการไอไม่หยุด อาจจะกำลังเจอกับโรคนี้เข้าแล้ว

โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม มีเสมหะในหลอดลม ทำให้มี อาการไอ ไอมีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เจ็บคอได้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน และ โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง

ยาละลายเสมหะ

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis)

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน คือ การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือกของหลอดลมโตขึ้นและหลั่งเมือก หรือ เสมหะ ออกมามากกว่าปกติ เกิดอาการ ไอมีเสมหะ บางครั้งอาจอุดกั้นให้ช่องทางเดินของหลอดลมแคบลง เกิดอาการหอบเหนื่อยได้ ซึ่งมักมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์

สาเหตุโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

– การติดเชื้อไวรัส พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ที่อากาศเย็น อากาศชื้น ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งมักเป็นเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับ ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ โดย โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มักพบหลังจากป่วยเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เช่น rhinovirus, adenovirus, influenza virus, respiratory syncytial virus (RSV)โดยหากเจ็บป่วยเป็นหวัดนาน ๆ ไม่หาย อาจทำให้การติดเชื้อลามไปถึงหลอดลม จนป่วยเป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลันได้

– การระคายเคือง บางครั้งอาจเกิดการระคายเคืองจาก ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์ สารเคมี ทำให้หลอดลมอักเสบได้

อาการของ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

– มีอาการไอ อาการไอเป็นอาการหลัก โดยจะไอบ่อยครั้ง ไอถี่ ๆ หรือ ไอแห้ง ๆ ต่อมาอาจจะมี อาการ ไอมีเสมหะ ถ้าติดเชื้อไวรัสเสมหะจะมีสีใส ๆ หรือสีขาว แต่ถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย เสมหะอาจจะมีสีเขียวหรือสีเหลือง อาการไอมักเป็นอยู่นาน 1-3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจไอนานกว่านี้ อาจไอมากตอนกลางคืน (จนทำให้นอนไม่หลับ) หรือหลังตื่นนอนตอนเช้า

– อาการคล้ายหวัด เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ไข้ต่ำ ๆ

– เสียงแหบ เจ็บคอ บางรายอาจมีอาการเสียงแหบ เจ็บคอ หรือเจ็บหน้าอกเวลาไอ

– เหนื่อยหอบ ในเด็กเล็กอาจไอจนอาเจียน หรือมีอาการแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยร่วมด้วย

หาทางป้องกัน โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

– ระวังไม่ให้ป่วยเป็นหวัด เพราะหากป่วยเป็นหวัด มักมีโอกาสป่วยเป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลันตามมาได้

– ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด ในเด็กเล็ก ๆ ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด เพราะนอกจากจะลดความเสี่ยงของไข้หวัดแล้ว ยังลดความเสี่ยงของหลอดลมอักเสบเฉียบพลันได้ด้วย

– พักผ่อนให้เพียงพอ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทำให้ภูมิต้านทานน้อยลง คือความเครียด นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

– กินอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง กินอาหารที่ช่วยป้องกันไข้หวัด เช่น วิตามินซี ผัก ผลไม้

– ระวังโดนฝน ถ้าลูกตากฝนมา ต้องรีบทำความสะอาด ทำร่างกายให้อบอุ่น ป้องกันไม่ให้ป่วย

หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้ระคายเคือง เช่น ควันไอเสีย สารเคมี บุหรี่

– ควรพยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น และแห้ง ซึ่งจะทำให้ไอมากขึ้น ไม่เปิดแอร์เย็นเกินไป ควรเปิดแอร์ให้ลูกสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส และไม่ให้พัดลมเป่าโดนตัวของลูกโดยตรง

– นอนใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ถ้าลูกไม่ชอบห่มผ้า กลางคืนสวมเสื้อผ้าแขนยาว ขายาว สวมถุงเท้าให้ความอบอุ่นกับลูก

โรคหลอดลมอักเสบ มีกี่ชนิด อาการ และวิธีป้องกันโรค

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

– โรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน มักจะหายได้เอง ภายใน 7-10 วัน เพราะมักเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียารักษาให้หาย คุณหมอจะให้ยาเพื่อรักษาตามอาการ สิ่งสำคัญคือ ต้องดูแลให้แข็งแรงขึ้น

– รักษาตามอาการ ถ้ามีไข้ ให้กินยาพาราเซตามอล ลดไข้ หรือหมออาจจะให้ยาขยายหลอดลม

– กินยาแก้ไอละลายเสมหะ ถ้าไอมีเสมหะมาก อาจรับประทานยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาละลายเสมหะ แต่ควรปรึกษาหมอ เภสัชกรก่อนกินยาทุกครั้ง

– ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพราะน้ำอุ่นจะช่วยละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอได้

– ถ้ามีอาการไอไม่หยุด ไอต่อเนื่องนาน 2 สัปดาห์ หรือ ถ้ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด หายใจหอบเหนื่อย มีเสมหะเหลืองหรือเขียว มีไข้สูง ไอเป็นเลือด หายใจมีเสียงวี๊ด ควรรีบไปหาหมอ


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close