ฟัดด้วยทีไร ฮัดเช่ยทุกที! “ภูมิแพ้ขนสัตว์” สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

ภูมิแพ้ขนสัตว์

เห็นน้องหมาน่ารักก็อยากเข้าไปเล่นด้วย เห็นแมวน้อย ก็อยากเป็นทาสแมวบ้าง แต่ก็ทำไม่ได้เหมือนคนอื่นเค้า เพราะเข้าใกล้พวกเจ้าตัวขนทีไร อยากกอด อยากฟัด ก็มีอาการฮัดเช่ย ฮัดชิ้ว ออกอาการที่เรียกว่า “ภูมิแพ้ขนสัตว์” ทุกที มาหาสาเหตุ อาการ และวิธีรักษาของอาการภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงกัน

ภูมิแพ้ขนสัตว์ คืออะไร ?

ภูมิแพ้ขนสัตว์ (Animal Allergy) คือ อาการภูมิแพ้ ที่เกิดจากการสูดหายใจ เอาสารก่อภูมิแพ้จาก ขนสัตว์ เช่น สุนัข แมว หรือสัตว์อื่น ๆ เช่น กระต่าย เป็ด ไก่ หนู เข้าสู่ทางเดินหายใจ เมื่อสูดหายใจเข้าไปทางจมูก หรือเข้าไปในหลอดลม ก็ทำให้เกิดอาการแพ้

Allernix อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ ไม่ทำให้ง่วง

สาเหตุของ ภูมิแพ้ขนสัตว์

บางคนที่มีอาการภูมิแพ้ หลังจากเข้าใกล้สัตว์เลี้ยงแล้วมีอาการไอ จาม คันตา น้ำตาไหล อาการเหมือนอาการภูมิแพ้ อาการแพ้เหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากขนสัตว์อย่างเดียว แต่ภูมิแพ้ สามารถเกิดจาก น้ำลาย รังแค ขี้ไคล มูลของสัตว์เลี้ยงด้วย จึงอาจเป็นคำตอบว่า ถึงแม้สัตว์บางตัวที่ไม่มีขนฟุ้ง ปลิว แต่ก็ทำให้มี อาการแพ้ ได้

1. สารก่อภูมิแพ้ในน้ำลายของสัตว์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ในน้ำลายของสัตว์ เมื่อสัตว์เลียขนจะทำให้สารก่อภูมิแพ้เคลือบอยู่บนขนของสัตว์เลี้ยง และสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้จะถูกสูดเข้าทางลมหายใจของคนได้

2. สะเก็ดผิวหนัง รังแค ที่หลุดออกมาลอยอยู่ในอากาศ สามารถเกาะติดเฟอร์นิเจอร์ เครื่องนอน ฝ้า พนังห้อง หรือแม้แต่ในบางพื้นที่ซึ่งไม่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นการผลิตฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดการแพ้ และทำอาจมีอาการภูมิแพ้ คัน ตาแดง หรือการบวม ระคายเคือง บริเวณผิวหนังได้

3. ไรฝุ่นบนขนสัตว์เลี้ยง ตัวไร ที่แฝงตัวอยู่ในขนสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ เช่น สุนัข แมว กระต่าย ฯลฯ ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นได้ ซึ่งตัวไร หรือ ไรฝุ่นสามารถวางไข่แล้วแพร่กระจายออกไปมากถึง 60 – 100 ฟองต่อวัน คนที่มีอาการแพ้ไรฝุ่นเกิดจากปฏิกิริยาไวต่อโปรตีนของตัวไรฝุ่นที่ตายแล้ว ส่งผลให้ร่างกายปล่อยสารฮีสตามีน และเกิดอาการภูมิแพ้ตามมา

ภูมิแพ้ขนสัตว์

แพ้สัตว์เลี้ยง อาจไม่ได้แพ้แค่ “ขนสัตว์”

บางคนที่มีอาการ ภูมิแพ้ หลังจากเข้าใกล้สัตว์เลี้ยงแล้วมีอาการไอ จาม คันตา น้ำตาไหล อาการเหมือนอาการภูมิแพ้ อาการแพ้เหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากขนสัตว์อย่างเดียว แต่ภูมิแพ้ สามารถเกิดจาก รังแค ขี้ไคล มูลของสัตว์เลี้ยงด้วย จึงอาจเป็นคำตอบว่า ถึงแม้สัตว์บางตัวที่ไม่มีขนฟุ้ง ปลิว แต่ก็ทำให้มี อาการแพ้ ได้

อาการภูมิแพ้ขนสัตว์

  • อาการภูมิแพ้จมูก อาการคัน จาม ไอ จาม มีน้ำมูก คัดจมูก หายใจไม่ออก ต้องอ้าปากหายใจ
  • อาการแพ้ทางผิวหนัง มีผื่นคัน ผื่นลมพิษ อาจมีอาการผิวหนังอักเสบ
  • อาการภูมิแพ้ออกตา คันตา น้ำตาไหล ตาแดง
  • ปอดและหลอดลม ถ้าเป็นหอบหืด อาจทำให้มีอาการไอ มีเสมหะ และหายใจเสียงดังวี๊ด ๆ

วิธีสังเกตภูมิแพ้ขนสัตว์ ด้วยตัวเอง

ลองสังเกตตัวเองว่า หากอยู่ใกล้สัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข หรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ แล้วมีอาการแพ้ เช่น อาการคัน ไอ จาม ผื่นคัน น้ำตาไหล บ้างไหม โดยอาการเหล่านี้มักกำเริบหลังสัมผัสสัตว์เลี้ยงภายใน 30 นาที จากนั้นให้ลองอยู่ห่างจากสัตว์ชนิดนั้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วสังเกตว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ หากอาการดีขึ้น หรืออยู่ใกล้สัตว์เลี้ยงชนิดนั้นแล้วมีอาการกลับมาอีก ก็พอจะคาดเดาได้ว่าเป็นภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง


วิธีรักษา “ภูมิแพ้ขนสัตว์”

1. กินยาแก้แพ้ หรือ ต้านฮิสทามีน (Antihistamine) เช่น ยาแก้แพ้ ลอราทาดีน (Loratadine) ซึ่งเป็นยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 เป็นยาแก้แพ้ไม่ง่วง ลอราทาดีน ไม่ผ่านเข้าสมอง จึงไม่กดระบบประสาทไม่มีผลง่วงซึม ช่วยบรรเทาอาการคันจมูก คันตา น้ำมูกไหล ไอ จาม จากอาการแพ้ ช่วยให้อาการแพ้ค่อย ๆ ดีขึ้น หลังจากกินยา ดังนั้นเมื่อมีอาการแพ้ อาการคัน น้ำมูกไหล ไอ จาม จากการแพ้ สามารถซื้อยาแก้แพ้ที่ปลอดภัย มากินเองได้

2. ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (intranasal steroids) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ มีความปลอดภัยสูง สำหรับยาสเตียรอยด์พ่นจมูกจะใช้กับคนที่มีอาการจมูกภูมิแพ้ที่เป็นชนิดคงที่ และอาการปานกลางถึงรุนแรง หรือมีอาการคัดจมูกมาก แต่ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

3. รักษาโดยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) หรือ ฉีดวัคซีน เป็นการรักษาด้วยการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุทำให้แพ้เข้าไปในร่างกาย โดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายทีละน้อย และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งต้องทำการทดสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นอาการภูมิแพ้จากสาเหตุใด


วิธีหลีกเลี่ยง ภูมิแพ้ขนสัตว์

– พยายามเลี่ยงไม่อยู่ใกล้ชิดสัตว์เลี้ยง ถ้ายังไม่ได้เริ่มเลี้ยง ควรหยุดพัก พับโครงการเลี้ยงสัตว์ไว้ก่อน หากมีอาการแพ้ขนสัตว์ เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด และไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง

– ดูแลทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง หากมีสัตว์เลี้ยงอยู่ หรือ เลี่ยงไม่ได้ ควรดูแลทำความสะอาด อาบน้ำสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ จะช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ได้ เลือกเลี้ยงสุนัขแทนแมว เพราะทำความสะอาด อาบน้ำได้มากกว่า ควรอาบน้ำให้สุนัขทุกสัปดาห์ หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เวลาแปรงขนให้สุนัข ควรแปรงในที่โล่ง และต้องสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน

– เลี้ยงไว้นอกบ้าน ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้าน โดยเฉพาะในห้องนอน เพราะอาจเพิ่มสารก่อภูมิแพ้ ขนสัตว์ เศษขี้ไคล รังแคสัตว์เลี้ยง มักสะสมตามหมอน ผ้าปูเตียงทำให้มีอาการแพ้ได้ ควรเลี้ยงแยกให้เป็นสัดส่วนอยู่นอกบ้าน และควรล้างมือ ล้างตัวหลังเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าด้วย

– ทำความสะอาดบ้าน หมั่นทำความสะอาด ดูดฝุ่นผ้าม่าน พรม เฟอร์นิเจอร์ที่เก็บฝุ่นให้สะอาดเป็นประจำ หากเป็นผ้าที่ซักได้ ควรซักด้วยน้ำร้อน หรือตากแดดเป็นประจำ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ควรบุด้วยหนัง ไม่ควรบุผ้า เช่น โซฟา

– ติดเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA หรือ เครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณละอองของสารก่อภูมิแพ้ลดลงได้


Allernix อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ ไม่ทำให้ง่วง

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close