รู้หรือไม่? ยาลดความดันทำให้ไอเรื้อรัง ได้นะ!

มีคนไข้หลายคนที่ป่วยเป็น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไมเกรน เป็นต้น ไปหาหมอด้วยอาการ ไอเรื้อรัง เมื่อรับยาแก้ไอมากินแล้วก็ไม่หายจากอาการไอ ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่นานแรมเดือน โดยไม่รู้สาเหตุว่า อาการไอที่เกิดขึ้นนั้นมาจากผลข้างเคียงของยาลดความดันกลุ่ม ACEI นั่นเอง งั้นเรามาไขข้อสงสัยกันเลยดีกว่าว่า ยาลดความดันทำให้ไอเรื้อรัง ได้อย่างไร…

Solmax ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ยาลดความดันกลุ่ม ACEI คืออะไร?

ยาลดความดัน ACE inhibitor (เอซีอี อินฮิบิเตอร์ – ACEI) เป็นยาขยายหลอดเลือด และลดการทำงานของหัวใจ เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษา ป้องกัน และบรรเทาภาวะ หรือโรคหลายชนิด เช่นความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรังบางชนิด ภาวะหัวใจขาดเลือด โรคหนังแข็ง ไมเกรน เป็นต้น

โดยยานี้ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ในร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนแองจีโอเทนซิน 2 (Angiotensin II) ที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ตีบตัน จนมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นนั่นเอง เมื่อปริมาณ Angiotensin II ในร่างกายลดลง ก็ทำให้หลอดเลือดหดตัวน้อยลง เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้หัวใจทำงานน้อยลง ความดันโลหิตก็ลดลงเช่นกัน

ยากลุ่มนี้ได้แก่ Enalapril Captopril Ramipril Benazepril (ให้สังเกตว่ายากลุ่มนี้ลงท้ายด้วย pril ทุกตัว) เป็นยากลุ่มที่ลดความดันได้ดี แพทย์นิยมจ่ายให้ผู้ป่วย และมีราคาที่ไม่แพง


ผลข้างเคียงจากการใช้ยากลุ่ม ACEI

  • ไอแห้ง ๆ
  • อ่อนเพลีย
  • เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • สูญเสียการรับรสอาหาร
  • ทำให้เกิดการสะสมโพแทสเซียมในไต
  • มีอาการบวมที่คอ ใบหน้า และลิ้น
  • อาเจียน ท้องเสีย อย่างรุนแรง
  • ชาที่มือ เท้า และริมฝีปาก

จะเห็นได้ว่ายาลดความดันในกลุ่มนี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างมากทีเดียว จึงจำเป็นต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น และหากประสบอาการแพ้ยาดังกล่าวมา ควรรีบกลับไปพบแพทย์ท่านเดิม เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนกลุ่มยา


ยาลดความดันทำให้ไอเรื้อรัง

ยาลดความดันทำให้ไอเรื้อรัง ได้อย่างไร?

ผู้ป่วยที่ใช้ยาลดความดันโลหิตอยู่ แล้วมีอาการไอเรื้อรัง ไอแห้ง ๆ (ไม่มีเสมหะ) ไอกลางคืน คันคอ ขอให้ตั้งข้อสังเกตไว้เลยว่า อาการไอมาจากยาลดความดันโลหิต ที่ชื่อ Enalapril (อีนาลาพริล)

เพราะยาตัวนี้มีผลทำให้สาร Bradykinin (แบรดดีไคนิน) เพิ่มสูงขึ้น โดยสาร Bradykinin นั้นมีฤทธิ์ในการกระตุ้นศูนย์เกิดการไอ จึงทำให้มีอาการไอแห้ง ๆ ขึ้นมาได้ ซึ่งอาการไอแห้งนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือนเลยทีเดียว

หากผู้ป่วยไอมากจนทนไม่ได้ ให้เข้าพบแพทย์ เพื่อแจ้งถึงอาการไอที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา Enalapril อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาลดความดันกลุ่มอื่นทดแทน

กล่าวโดยสรุปคือ การหยุดยาลดความดันในกลุ่ม ACEI เช่น Enalapril เป็นหนทางเดียวในการรักษาภาวะไอแห้งที่เป็นอาการข้างเคียงจากยาได้ แต่… ไม่ควรหยุดใช้ยาลดความดันเอง เพราะ มีผลต่อโรคได้ ควรพบแพทย์เท่านั้น


สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง

นอกจากผลข้างเคียงของ ยาลดความดันทำให้ไอเรื้อรัง ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ไอเรื้อรังได้อีกมากมาย เช่น

  1. โรคติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อวัณโรค ทำให้น้ำหนักลด มีไข้ได้
  2. ภูมิแพ้ เช่น ภูมิแพ้จมูกอักเสบ หอบหืด (เป็นสาเหตุที่เจอได้บ่อย)
  3. กรดไหลย้อน
  4. สูบบุหรี่
  5. น้ำมูก หรือเสมหะไหลลงคอ
  6. ไซนัสอักเสบ เรื้อรัง
  7. หลอดลมอักเสบ
  8. โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมโป่งพอง

ควรรีบพบแพทย์ หากมีอาการไอเรื้อรังดังต่อไปนี้

ถ้าผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรังติดต่อกันหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะผู้ที่ ไอมีเสมหะ หรือมีเลือดปน และอาการดังต่อไปนี้ อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • กลืนลำบาก กลืนเจ็บ
  • เสียงแหบ
  • เบื่ออาหารน้ำหนักลด
  • เหนื่อยเฉพาะกลางคืน หรือขณะพัก
  • มีประวัติปอดอักเสบบ่อย ๆ


การป้องกันอาการไอเรื้อรัง

  • งดสูบบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของอาการไอเรื้อรัง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับฝุ่นควัน มลพิษ
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ปอดบวม หลอดลมอักเสบ เพื่อป้องกันการติดโรค
  • ในผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการทานผักผลไม้ ดื่มน้ำมาก ๆ ออกกำลังกายประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่อาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบ หรือปอดปวม

อ้างอิง :
1. www.pobpad.com 1 / 2
2. cities.trueid.net
3. Rational Drug Use

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close