น้ำตาลในเลือด คุมอย่างไรให้อยู่หมัด! ห่างไกลจากโรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือด

รู้หรือไม่!? ผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้มีเพียงร้อยละ 40 เท่านั้นเอง ซึ่งการจะควบคุมเบาหวานได้นั้น ต้องรู้วิธีควบคุมที่ถูกต้อง และอยู่ที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิถีชีวิต ของผู้ป่วยด้วย แล้วเราจะคุม น้ำตาลในเลือด อย่างไรให้ห่างไกลโรคเบาหวาน ตามมาดูกันเลย!

น้ำตาลในเลือดสูง เป็นอย่างไร?

น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่า 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (ระดับน้ำตาลที่ปกติคือประมาณ 70-100 มิลลิกรัม / เดซิลิตร) ถ้าเกิน 140 มก./ดล. หลังมื้ออาหาร 2 ชม. จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน

decolgen ดีคอลเจน

สัญญาณอันตรายของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย
  • น้ำหนักลด
  • ผิวแห้ง
  • รู้สึกหิวแม้จะเพิ่งกิน
  • อ่อนเพลีย
  • สายตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด

อย่างไรก็ตาม… ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนี้ อาจไม่ได้แสดงอาการให้เห็นเสมอไป การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยบอกถึงภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้

รู้หรือไม่? ถ้าเราคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากจะช่วยให้ห่างไกลจากโรคเบาหวานแล้ว ยังช่วยป้องกันการเป็น โรคมะเร็งตับ ด้วยนะ

ตารางแสดงระดับค่า น้ำตาลในเลือด

การควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีมีความสำคัญต่อความรุนแรง COVID-19 หรือไม่?

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในผู้เป็นเบาหวานที่มีการติดเชื้อ การศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่าระดับน้ำตาลที่สูงจะเพิ่มการแบ่งตัวของไวรัส และกดการทำงานของภูมิตุ้มกัน และพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต

ผู้เป็นเบาหวานถ้าหากขาดยา หรือขาดการออกกำลังกาย ไม่ควบคุมอาหาร หรือมีความเครียดทางจิตใจ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หากติดเชื้อจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการที่รุนแรงได้ ดังนั้นผู้เป็นเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ดูแลร่างกายให้แข็งแรง และผ่อนคลายจิตใจให้มีสุขภาวะที่ดี โดยเฉพาะในช่วงที่มีการโรคระบาดของ COVID-19

ที่มา: รศ. พญ.พิมพ์ใจ อันทานนท์
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ


น้ำตาลในเลือด คุมอย่างไรให้อยู่หมัด ห่างไกลจากโรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือด

1. หลีกเลี่ยงน้ำตาล สำคัญสุด!

การจะคุมน้ำตาลในเลือดได้ ก็ต้องลดน้ำตาลนั่นเอง โดยเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น การปรุงอาหารด้วยน้ำตาลทราย, เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงต่าง ๆ เช่น กาแฟ น้ำอัดลม ชาไข่มุก, ของหวานต่าง ๆ เช่น เค้ก ไอศกรีม เป็นต้น

อาจเลือกกินอาหารที่มีรสหวานจากธรรมชาติ เช่นผลไม้รสหวาน หรือจะลองปรับวิธีการกินอาหารหวาน เปลี่ยนมาเป็นการเติมความหวานด้วยผลไม้ต่าง ๆ แทน

ทั้งนี้ควรระวังการกินผลไม้ที่มีความหวานสูง เช่น องุ่น ลำใย ลิ้นจี่ สัปปะรด เป็นต้น ควรกินแต่น้อยต่อวัน เช่น องุ่น ลำใย ควรกินไม่เกินวันละ 7 – 8 ผลเล็ก เป็นต้น

2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การจิบน้ำบ่อย ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สามารถช่วยป้องกันการเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ด้วย เพราะเมื่อร่างกายมีความชุ่มชื้นจากการดื่มน้ำเข้าไป จะช่วยให้ตับขับน้ำตาลส่วนเกินในเลือดออกมา และเราก็จะขับออกจากร่างกายในรูปแบบของปัสสาวะนั่นเอง

3. ลดการปรุงอาหาร

ลองปรับเปลี่ยนวิธีการปรุงรสอาหาร เช่น หากติดหวานก็ค่อย ๆ ลดปริมาณน้ำตาลลง ลองกินอาหารแบบที่รสชาติไม่ต้องจัดจ้านมาก ลดการเติมเครื่องปรุงที่มีรสจัดต่าง ๆ เช่น รสเผ็ด หวาน และรสเค็ม เพราะการกินอาหารรสจัดจะส่งผลเสียต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน

4. ควบคุมอาหาร

วิธีคุมน้ำตาลในเลือด วิธีนี้เป็นการเลือกกินอาหารที่ให้ประโยชน์กับร่างกาย เช่น ผักผลไม้ หรือเน้นการกินให้ครบ 5 หมู่ คือ เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก และกินอาหารที่มีน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม

5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายจะช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น จึงเป็นการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แถมยังช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นด้วย

6. กินอาหารที่มีโครเมียม และแมกนีเซียม

หากอยากลดน้ำตาลในเลือด การกินอาหารที่มีแมกนีเซียมและโครเมียม อย่าง อัลมอนด์ ถั่วเปลือกแข็ง และถั่วเขียว ก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย เพราะแมกนีเซียมเป็นสารอาหารสำคัญต่อการไหลเวียนของเลือด ส่วนโครเมียมก็มีการศึกษาที่พบว่าสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้นั่นเอง

น้ำตาลในเลือด

7. กินผักเยอะ ๆ

เพราะไฟเบอร์จากผักช่วยชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดตรหรือแป้งที่เรากินเข้าไป จึงทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเป็นไปอย่างช้า ๆ ฉะนั้นถ้าไม่อยากให้น้ำตาลในเลือดพุ่งไวจนอันตราย ลองหันมากินผักที่มีไฟเบอร์สูง ๆ อย่าง ผักบุ้ง ผักใบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ เมล็ดฟักทอง และข้าวโอ๊ต ก็จะช่วยลดระดับไขมันในร่างกายได้ แถมยังช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานได้ด้วย

8. พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนน้อยทำให้ร่างกายอยากอาหารเพื่อไปชดเชย จึงอาจทำให้เราต้องการกินอาหารในปริมาณมาก โดยเฉพาะความหวานที่ลดความเหนื่อยล้าและอาการง่วงได้ ลองเปลี่ยนวิธีการ นอนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก ไม่กินจุ หรือกินอาหารที่มีรสหวานจัดเกินไป ก็สามารถช่วยให้เราควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อยู่หมัดมากยิ่งขึ้น

9. อย่าเครียด

เพราะ ความเครียด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้เหมือนกัน ฉะนั้นใครไม่อยากน้ำตาลสูงปรี๊ดก็ผ่อนคลายความเครียดลงกันบ้างนะ

10. ลดน้ำหนัก

น้ำหนักตัวที่มากเกินไป เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน และก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ในที่สุด

สุดท้ายนี้ ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ก็ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อเช็กว่าระดับน้ำตาลในเลือดของเราปกติ หรือผิดปกติอย่างไร จะได้รับมือได้ทันท่วงทีนั่นเอง


อ้างอิง :

1. https://www.dmthai.org 2. https://www.samitivejhospitals.com 3. https://www.pobpad.com 4. https://www.honestdocs.co

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close