12 โรคสัตว์สู่คน ไม่อยากป่วย ต้องระวังให้ดี!

28 มิ.ย. 24

 

โรคสัตว์สู่คน มีแนวโน้มจะเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะ ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องคลุกคลีกับสัตว์ และยังบริโภคเนื้อสัตว์แบบไม่ถูกสุขอนามัย รวมถึงจับสัตว์ที่ไม่ควรกินมากิน เช่น ค้างคาว งู ที่สันนิษฐานกันว่าเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 นั่นเอง

ทั้งนี้สหประชาชาติ (United Nations หรือ UN) ออกมาเตือนว่า อัตราการเกิดโรคติดต่อที่แพร่ระบาดจากสัตว์สู่คน จะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุเพราะแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ถูกทำลาย การค้าสัตว์ป่า การทำเกษตรด้วยระบบที่ไม่ยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ล้วนเป็นปัจจัยทั้งสิ้น

โรคสัตว์สู่คน คืออะไร?

โรคสัตว์สู่คน (Zoonoses) ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (WHO) หมายถึง โรคทั้งหลายและการติดเชื้อ ที่มีการติดต่อตามธรรมชาติระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลัง และคน

โดยเชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ไม่มีเพียงเชื้อไวรัสเท่านั้น แต่ยังมีเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอีกมากมายที่เราไม่รู้จักมาก่อน

การติดต่อของ โรคสัตว์สู่คน หลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ทาง เช่น

  1. การสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรค หรือมูลสัตว์ที่เป็นโรค
  2. ถูกกัดจากสัตว์ที่เป็นโรค เช่น สุนัข แมว กระต่าย
  3. บริโภคสัตว์ที่เป็นโรค เช่น นก หนู หมู วัว ค้างคาว งู ฯ
  4. หายใจเอาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคเข้าสู่ร่างกาย

12 โรคสัตว์สู่คน ที่พบได้บ่อย

โรคสัตว์สู่คน ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายโรคให้ต้องระวังกัน แต่วันนี้เราจะขอหยิบยกมา 12 โรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน และเป็นโรคที่ใกล้ชิดตัวเรา ที่ต้องระวังกัน!

1. โรคไข้เลือดออก (Dengue)

โรคสัตว์สู่คน

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – ยุงลาย

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคอันตรายร้ายแรงที่คร่าชีวิตมนุษย์มาแล้วมากมาย โดยในประเทศไทย ปี 2556 นั้น มีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกมากถึง 142,925 ราย! และในปี 2563 นี้ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 5 พฤษภาคม มีผู้ป่วยจากไข้เลือดออกถึง 10,938 ราย เข้าไปแล้ว ซึ่งมากกว่าผู้ป่วยโควิด-19 ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว!

อาการของโรคไข้เลือดออก – มีไข้ขึ้นสูง, มีผื่นขึ้น, ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนังร่วมด้วย เช่น มีจุด หรือมีเลือดกำเดาออก เป็นต้น

อ่านบทความเรื่องไข้เลือดออก เพิ่มเติมที่นี่ —>
“ไข้เลือดออก” ภัยร้ายถึงตาย รู้เท่าทันก่อนสาย!
9 สัญญาณ อาการไข้เลือดออก เช็คให้เป็น ป้องกันตัวเองให้ดี!


2. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

โรคสัตว์สู่คน

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – สุนัข แมว ม้า วัว หนู ค้างคาว แพะ แกะ ลิง เป็นต้น

ถึงแม้โรคพิษสุนัขบ้าจะไม่ได้เกิดจากสุนัขเท่านั้น แต่โดยส่วนมากก็มักจะเกิดจากสุนัขเป็นหลัก โรคเกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ มีระยะฟักตัวของโรคที่ 1-3 เดือน แต่อาจสั้นเพียง 7 วันหรือยาวเกินกว่า 1 ปีได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อที่ได้รับ

อาการของโรคพิษสุนัขบ้า – จะเริ่มต้นจาก มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ชา เจ็บแปลบหรือปวดบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด คันอย่างรุนแรงที่แผลและลำตัว กลัวแสง ต่อมา เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่สมองและระบบประสาท ผู้ป่วยอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง กระวนกระวาย ระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ประสาทหลอน ชัก หายใจหอบ หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

อ่านบทความเพิ่มเติม —> เขี้ยวสั่งตาย! พิษสุนัขบ้า&#8221 อาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน


3. โรคฉี่หนู (Leptospirosis)

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – หนู สุนัข โค กระบือ ต้างคาว สุกร แพะ แกะ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคนี้ไม่ได้เกิดกับเฉพาะหนูเท่านั้น สัตว์อื่น ๆ ก็สามารถแพร่เชื้อโรคฉี่หนูได้ และเป็นโรคที่ระบาดบ่อยในฤดูฝน ซึ่งโรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ คนมักติดเชื้อในขณะเดินเหยียบดินโคลน แช่น้ำท่วม หรือว่ายน้ำ หรืออาจติดโรคโดยตรงจากการสัมผัสเชื้อในปัสสาวะ เนื้อเยื่อ หรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่ติดเชื้อ

อาการของโรคฉี่หนู – อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อน่อง โคนขา หลัง ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและไตวาย มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไอเสมหะมีเลือดปน


4. โรคผิวหนังจากเชื้อรา (Fungal Infections In Animals)

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – สัตว์เลี้ยงใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว กระต่าย

ถึงแม้เชื้อราจะไม่ใช่สัตว์ แต่เชื้อราเป็นส่วนนึงที่อยู่ในตัวสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้ และเชื้อรานี้สามารถติดต่อมาสู่คุณได้ จากการกอด อุ้ม นอนร่วมกัน โรคผิวหนังจากเชื้อรา เป็นหนึ่งในโรคผิวหนังที่คนรักสัตว์ต้องทำความเข้าใจก่อนเลี้ยง เพราะ จะได้ไม่ทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงตนเองเมื่อนำภัยเชื้อรามาให้

อาการของโรคผิวหนังจากเชื้อรา – มีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ลักษณะเป็นวง มีขุยรอบ ๆ และสามารถขยายเป็นวงกว้างกว่าเดิมได้ เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกคันตลอดเวลา หากเกาแล้ว นิ้วที่เกาเผลอไปเกาบริเวณอื่นอาจทำให้บริเวณนั้นติดเชื้อราด้วยได้


5. โรคแมวข่วน (Cat Scratch Fever)

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – แมว

โรคแมวข่วนเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bartonella henselae ซึ่งทำให้แมวติดเชื้อ และสามารถติดต่อจากแมวสู่คนได้จากการถูกแมวกัด หรือข่วน ส่วนใหญ่มักพบว่าคนจะแสดงอาการหลังจากถูกแมวที่มีเชื้อกัด ข่วน หรือเลียประมาณ 3-10 วัน

อาการของโรคแมวข่วน – ผื่นแดง ตุ่มพอง แผลหลุมที่บริเวณบาดแผล มีไข้ และในรายที่รุนแรงอาจเกิดการติดเชื้อทั่วร่างกาย หากโดนข่วนหรือกัด ให้รีบล้างแผลให้สะอาด อย่าให้สัตว์เลี้ยงเลียแผล และหมั่นอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันเห็บหมัด ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อ


6. กาฬโรค (Plague)

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – สัตว์ชนิดฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระต่าย มาร์มอต เป็นต้น

กาฬโรค หรือ มรณะดำ คือโรคระบาดที่เกิดจากแบคทีเรีย Yersinia pestis และนับเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุด เลวร้ายที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไปประมาณ 200 ล้านคนทั่วโลกเลยทีเดียว! และปัจจุบันโรคนี้ก็ยังคงมีอยู่ เพียงแค่มนุษย์สามารถควบคุมโรคนี้ได้ดีกว่าแต่ก่อนนั่นเอง เชื้อกาฬโรคเป็นเชื้อที่พบตามธรรมชาติในสัตว์ฟันแทะในป่า เช่น กระรอก กระจง หนู แมวสามารถติดเชื้อได้ง่าย

อาการของกาฬโรค – อาการที่มีบันทึกไว้บ่อยที่สุด คือ การพบฝีมะม่วงที่ขาหนีบ คอ หรือรักแร้ ซึ่งฝีนี้มีหนองซึม เมื่อผ่าเปิดแล้วมีเลือดออก มีไข้สูง อาเจียนเป็นเลือด และเสียชีวิตได้ใน 2-7 วัน

อ่านบทความเพิ่มเติม —> ย้อนอดีตโรคระบาด สะท้านโลก! สุดสยอง ตายกว่า100ล้านศพ!!


7. โรคเอดส์

โรคสัตว์สู่คน

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – สันนิษฐานว่ามาจากลิงในทวีปแอฟริกา

ในอดีตโรคเอดส์ คือโรคติดต่อร้ายแรง และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (มีชื่อเต็มว่า Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) มีการสันนิษฐานกันว่าโรคเอดส์นี้น่าจะมีต้นตอมาจากลิงในทวีปแอฟริกา ต่อมาจึงมีการติดเชื้อไวรัสจากลิงมาสู่คน และมีการวิวัฒนาการจนกลายเป็นสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

อาการของโรคเอดส์ – มีอาการหนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง มีจุดสีขาวภายในช่องปาก น้ำหนักลดลงผิดปกติ มีอาการไอ อย่างต่อเนื่อง

อ่านบทความเพิ่มเติม —> โรคเอดส์ จุดจบของสายล่า! สาเหตุ อาการ การรักษา


 8. โรคไข้หวัดนก (Bird Flu)

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – นก และสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด เป็นต้น

โรคไข้หวัดนก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถพบได้ในสัตว์ปีกทั่วโลก เช่น นก เป็ด ไก่ โดยสัตว์ที่ป่วย อาจแสดงอาการป่วยตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรงมากขึ้นอยู่กับเชื้อที่ได้รับ เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรครุนแรงที่สุด คือ ไข้หวัดนกชนิดก่อโรครุนแรง ชนิด H5 หรือ H7 โดยส่วนใหญ่ คนจะติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ป่วยอย่างใกล้ชิด

อาการของโรคไข้หวัดนก – เนื้อเยื่อรอบตาบวม เยื่อตาขาวอักเสบ มีอาการป่วยคล้าย ไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย สามารถทำให้เสีบชีวิตได้ แต่น้อยมาก


9. โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)

โรคสัตว์สู่คน

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – โค แพะ แกะ

โรคแอนแทรกซ์ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันเกิดจากเชื้อ Bacillus anthracis พบได้ 3 ชนิด คือ เป็นแผลที่ปอด เป็นแผลที่ผิวหนัง หรือ เป็นแผลที่ทางเดินอาหาร คนติดโรคแอนแทรกซ์ได้สามทางคือ จากการสัมผัสทางผิวหนัง การหายใจ และการกิน โดยพบการติดเชื้อทางผิวหนังได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่คนติดโรคแอนแทรกซ์ผ่านรอยแยกบนผิวหนังที่สัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วย หรือเลือด ขน หนังของสัตว์ที่เป็นโรค

อาการของโรคแอนแทรกซ์ – มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอกรุนแรง หายใจลำบาก


10. โรคซาร์ส

โรคสัตว์สู่คน

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – ชะมด แรคคูน และค้างคาว

โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) หรือโรคทางระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส (Coronavirus) เดิมพบการติดเชื้อนี้ได้เฉพาะในสัตว์ที่มีขนาดเล็ก แต่ต่อมามีการกลายพันธุ์ เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ขึ้น และแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว

อาการของโรคซาร์ส – มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีอาการติดเชื้อที่ปอด และทางเดินหายใจ เช่น ไอแห้ง หรือหายใจลำบาก เป็นต้น


11. ภูมิแพ้ขนสัตว์

โรคสัตว์สู่คน

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว

สัตว์เลี้ยง เป็นหนึ่งในแหล่งสร้างสารกระตุ้นภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ และหอบหืด ความจริงแล้ว สิ่งที่คนแพ้ไม่ใช่ขนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นรังแค และเศษผิวหนังของพวกมันด้วย ยังไม่นับการที่สัตว์เลี้ยงของเรา ไปตบตีกัดเล่นกันสัตว์ตัวอื่น ๆ ทั้งหนู แมลงสาบ จิ้งจก ฯลฯ ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามีเชื้อโรคอะไรอยู่บ้าง ก่อนที่จะมาเล่นกับเรา ทางแก้คือ หมั่นรักษาความสะอาดสัตว์เลี้ยงอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการเอาสัตว์เลี้ยงมานอนบนเตียง หรือนั่งบนโซฟาด้วย

อนึ่งการทาน ยาแก้แพ้ เช่น ลอราทาดีน สามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ลงได้ และไม่ทำให้ง่วงซึมอีกด้วย

อาการของโรคภูมิแพ้ หอบหืด – คัน จาม ไอ จาม มีน้ำมูก มีผื่นคัน มีอาการไอ มีเสมหะ

อ่านบทความเพิ่มเติม —> ฟัดด้วยทีไร ฮัดเช่ยทุกที! ภูมิแพ้ขนสัตว์ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา


12. โควิด-19 (Covid-19)

โรคสัตว์สู่คน

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค – สันนิษฐานว่ามาจาก ค้างคาว และ งู

โควิด-19 โรคระบาดที่กำลังคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกอยู่ ณ ขณะนี้ โดยมีผู้ติดเชื้อไวรัสนี้แล้วหลักสิบล้านคนทั่วโลก และมีทีท่าจะเพิ่มสถิติขึ้นเรื่อย ๆ เป็นโรคที่เกิดขึ้นในปลายปี 2019 เริ่มระบาดจากประเทศจีน เริ่มขึ้นที่ตลาดค้าสัตว์ ในเมืองอู่ฮั่น สันนิษฐานว่ามาจากการบริโภค ค้างคาว และ งู

อาการของโรคโควิด-19  – มีไข้ขึ้นสูง ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น กินไม่รู้รส ปอดอักเสบ

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ —>
คุมเข้ม! อู่ฮั่น ไวรัสโคโรนา สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน
ซากเชื้อโควิด-19 คืออะไร มีโอกาสติดเชื้อมั้ย? พร้อมบทเรียนออนไลน์ Covid-19


จะเห็นได้ว่าโรคที่ติดเชื้อจากสัตว์สู่คนส่วนใหญ่เกิดจาก เราไปสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ ดังนั้น การป้องกันที่สำคัญคือพาสัตว์เลี้ยงไปตรวจกับสัตวแพทย์เป็นระยะ รวมถึงการให้วัคซีนในสัตว์อย่างเหมาะสม นอกจากนี้แล้วควรมีการล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์ หากถูกสัตว์กัดและมีแผลลึก มีเลือดออกควร ไปพบแพทย์

อ้างอิง :

1. www.npr.org
2. www.noozup.me
3. www.rama.mahidol.ac.th
4. http://www.eidas.vet.chula.ac.th
5. http://www.piyavate.com

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save