ไอบ่อย มีเสมหะ กลืนจนเจ็บคอไปหมด เป็นเพราะอะไร แก้ไขยังไงดี?

ไอบ่อย มีเสมหะ

ช่วงนี้ใครที่มีอาการ ไอบ่อย มีเสมหะ อยู่ตลอดเวลา ถึงขั้นกลืนเสมหะจนเจ็บคอ คงต้องรีบตรวจเช็คสุขภาพตัวเองกันให้ไวหน่อย เพราะ เป็นช่วงที่มีโรค โควิด-19 กำลังระบาดอยู่ด้วย มีอาการไอบ่อย ๆ ขึ้นมา จะปล่อยทิ้งไว้ไม่สนใจเลย เดี๋ยวคนรอบข้างจะรังเกียจเอาได้! ฉะนั้นใครที่กำลังประสบปัญหาเรื่อง ไอบ่อย มีเสมหะ อยู่ ณ ตอนนี้ มารีบเช็คกันเลยว่า เป็นเพราะอะไร และอาจเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง…?

Solmax ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

อาการไอ คืออะไร?

อาการไอ (Cough) เกิดจากการที่มีสิ่งกระตุ้น หรือสารระคายเคืองบริเวณ ทางเดินหายใจส่วนบน และล่าง ทำให้มีการส่งสัญญาณไปที่บริเวณสมองส่วนควบคุมการไอ และส่งสัญญาณมาที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อกระบังลม เกิดการตีบแคบของหลอดลม จึงเกิดอาการไอขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกาย เพื่อกำจัดเชื้อโรค เสมหะ และสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ

โดยอาการไอ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายนอก สารกระตุ้นที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ อากาศแห้ง หรือการหดเกร็งของหลอดลม

เสมหะ คืออะไร?

เสมหะ หรือ เสลด (Phlegm) คือ สารคัดหลั่ง ข้นเหนียวเหมือนเมือก ที่ร่างกายสร้างออกมาจากต่อมสร้างสารคัดหลั่ง ที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินหายใจ เสมหะประกอบด้วยน้ำร้อยละ 95 และอีกร้อยละ 1 ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และสารอินทรีย์ (inorganic) เสมหะจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

สาเหตุที่คนเราไอมีเสมหะ ก็เพราะว่า หลอดลมเกิดการอักเสบ จนทำให้ทางเดินหายใจบวม และทำให้เกิดเสมหะ เสมหะมักเกี่ยวข้องกับไวรัส และอาจมีอาการหนักขึ้น หากคุณมีไข้


ไอบ่อย มีเสมหะ กลืนจนเจ็บคอ อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1. ภูมิแพ้อากาศ นอกจากจะไอ และมีเสมหะแล้ว มักมีอาการ น้ำมูกใส จาม คันจมูก คันหัวตา ร่วมด้วย

2. โรคกรดไหลย้อน เกิดจากการที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาถึงบริเวณลำคอ ทำให้เกิดการระคายเคืองคอ และมีเสมหะได้ โดยเฉพาะตอนนอน (คนที่มีโรคกรดไหลย้อน จึงมักมีอาการไอ มีเสมหะ ในช่วงกลางคืนบ่อย ๆ) และเมื่อมีเสมหะ ก็จะกระตุ้นให้เกิดการไอได้

นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากกรดไหลย้อนร่วมด้วย เช่น แสบร้อน-เจ็บกลางอก ถึงลิ้นปี่ มีน้ำรสเปรี้ยว หรือขมในคอ เจ็บคอ ระคายเคืองคอ และเรอบ่อย เป็นต้น

3. เป็นไข้หวัด  โรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เช่นจมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง ทำให้มีอาการไอมีเสมหะเล็กน้อย ลักษณะใส หรือขาว ๆ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว ร่วมด้วย

4. โรคหอบหืด อาจทำให้มีเสมหะในลำคอ และไอได้ โดยสัญญาณเตือนเริ่มแรกของโรคหอบหืด คือ มีอาการไอมาก

5. การหายใจเอามลพิษ ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ควันธูป เข้าไปบ่อย ๆ ทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ อาจทำให้มีน้ำมูกมาก และไหลลงคอจนเป็นเสมหะได้นั่นเอง วิธีแก้ไขคือให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องออกไปเจอกับมลพิษภายนอก

6. หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นภาวะปอดติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็น 1 ใน 5 สาเหตุที่ทำให้ต้องไปพบแพทย์มากที่สุด สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เหมือนไข้หวัด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากมีอาการไข้หวัด ทำให้มีอาการไอ ไอมีเสมหะ ได้

7. ไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นโรคที่มักทำให้มีน้ำมูกมาก ซึ่งน้ำมูกอาจไหลลงคอ ทำให้รู้สึกเหมือนมีเสมหะตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อนอนลง น้ำมูกก็จะไหลลงคอมากขึ้น

8. หลอดลมโป่งพอง เป็นภาวะที่หลอดลมโป่ง และพองใหญ่ขึ้น ๆ ทำให้เกิดเสมหะคั่งอยู่ในหลอดลม ถ้าเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจทำให้ไอเป็นเลือดได้


สีของเสมหะ อาจนำมาใช้วินิจฉัยโรคต่าง ๆ ในเบื้องต้น ได้ดังนี้

สีของเสมหะ

เสมหะสีใส – โรคภูมิแพ้ โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ

เสมหะสีขาว – โรคหลอดลมอักเสบ โรคกรดไหลย้อน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และภาวะหัวใจล้มเหลว

เสมหะสีเขียว หรือเหลือง – โรคปอดบวม โรคหลอดลมอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ

เสมหะสีแดง – เป็นสัญญาณของภาวะเลือดออกภายในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว โรคมะเร็งปอด โรคฝีในปอด โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด และวัณโรค

เสมหะสีน้ำตาล – อาจมีเลือดเก่าที่ค้างอยู่ภายในร่างกาย ได้ปะปนออกมาพร้อมกับเสมหะ อาจเป็นอาการที่เกิดจากโรคปอดบวม โรคหลอดลมอักเสบ โรคพยาธิในปอด โรคฝีในปอด และโรคฝุ่นจับปอด (Pneumoconiosis) ที่เกิดจากการหายใจนำเอาฝุ่นเข้าไปในปอดเป็นจำนวนมาก

เสมหะสีดำ โรคฝีในปอด โรคฝุ่นจับปอด โรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา รวมถึงการสูบบุหรี่

หากไอมีเสมหะรุนแรงกว่าปกติ เช่น ไอมีเลือดออกมาพร้อมเสมหะ ไอจนนอนไม่หลับ เป็นต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างทันท่วงที


การดูแลตนเองจากอาการไอมีเสมหะ

1. พยายามขับน้ำมูก และเสมหะออกมา – การขับเสมหะออกมาเป็นวิธีการกำจัดเสมหะที่ดีที่สุด สิ่งที่ไม่ควรทำคือ อย่ากลืนเสมหะลงคอ

2. ดื่มน้ำให้มากขึ้น – การดื่มน้ำสะอาด หรือดื่มน้ำอุ่น (ไม่ควรดื่มน้ำเย็นในช่วงที่ไอมีเสมหะ) ทุกชั่วโมง จะช่วยละลายเสมหะ ทำให้ร่างกายขับเสมหะออกมา และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไปด้วย แนะนำเป็นน้ำผึ้งผสมมะนาวอุ่น ๆ จะช่วยให้อาการไอหายไวขึ้น

3. ใช้ไอน้ำช่วย – การใช้ไอน้ำจะช่วยทำให้น้ำมูก และเสมหะในช่วงอก จมูก และคอแตกตัวออก ซึ่งจะทำให้เสมหะถูกขับออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น สำหรับวิธีทำคือ ต้มน้ำ 1 หม้อ ผสมกับน้ำมันยูคาลิปตัส 2-3 หยด จากนั้นก้มหน้าลงไปเหนือชามน้ำร้อน สูดหายใจเข้าเอาไอน้ำเข้าไปหลาย ๆ นาที

4. หายใจเข้าออกลึก ๆ – การหายใจเข้าและออกลึก ๆ ติดต่อกันสัก 5-7 ครั้ง จะช่วยให้ถุงลมขยายใหญ่ขึ้น และฟีบลงสลับกัน วิธีนี้จะทำให้เสมหะหลุดออกจากถุงลม และระบายสู่หลอดลมใหญ่ได้ง่าย

5. ทานยาละลายเสมหะ – ยาละลายเสมหะ เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อโครงสร้างของเสมหะ โดยการลดแรงตึงผิวของเสมหะ จึงช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัด หรือขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างยาคือ คาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) เป็นต้น


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close