โรคลมชัก อันตรายที่อยู่ใกล้ตัว! มาดูผลกระทบ และการดูแลรักษากัน

โรคลมชัก เป็นหนึ่งในโรคของกลุ่มโรคทางระบบประสาท ซึ่งโรคลมชักเกิดจาก ระบบกระแสประสาทในสมองเกิดการทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการชักขึ้นมา

โรคลมชักมักจะพบมากในเด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 2 ปี หรือผู้สูงอายุอายุมากกว่า 65 ปี โดยอาการชักนั้นมีหลายรูปแบบที่เราพบเจอได้ เช่น อาการชักเกร็ง เราจะเห็นตัวผู้ป่วย ตัวเกร็ง แข็ง อาการชักกระตุก ก็จะมีอาการชัก และกระตุกร่วมกัน และอาการชักเหม่อ ซึ่งจะสังเกตอาการได้ยาก เพราะ เป็นอาการชักที่นิ่งไปเฉย ๆ คนอื่นอาจจะไม่รู้ อาการชักอาจจะเกิดช่วงเวลาสั้น ไม่นาน แล้วผู้ป่วยก็กลับมาเป็นปกติ

984-ลมชัก

ผลกระทบจากโรคลมชัก

ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก อาจได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเข้าสังคม การเรียน และครอบครัว เป็นต้น ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา หรือไม่ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการทำการรักษา หากเกิดอาการขึ้นขณะทำงานที่มีความเสี่ยงกับความปลอดภัย หรือขับขี่ยานพาหนะ หรือใช้ชีวิตประจำวันอยู่ อาจมีความเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุ และส่งผลกระทบต่าง ๆ ตามมาได้นะคะ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยควรที่จะเข้ารับการรักษาทันท่วงที และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

984-unconscious

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็น โรคลมชัก

การให้ยากันชัก ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่าเป็นโรคลมชัก หรือเป็นแค่อาการชัก เพราะ ถ้าเป็นแค่อาการชักที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่หากเป็นโรคลมชัก จำเป็นต้องใช้ยากันชัก ซึ่ง 70% ของผู้ป่วยถ้ารับประทานยาอย่างต่อเนื่องสามารถกลับมาหายได้

ครอบครัว คนรอบข้างต้องคอยดูแล เตือนผู้ป่วยให้รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะยาควรต้องทานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยาอาจมีผลให้เกิดอาการข้างเคียง ทั้งนี้หากมีอาการข้างเคียงควรแจ้งแพทย์เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำ หรือปรับเปลี่ยนยาตามความเหมาะสม ผู้ป่วยไม่ควรหยุด หรือปรับการใช้ยาเอง โดยไม่ได้รับการพิจารณาจากแพทย์

โรคลมชักนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด คนที่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ คนก็เคยประสบปัญหาจากโรคนี้ แต่การได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถหาย และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

เรียบเรียงจาก ภญ. วรินทร ศรีประโมทย์
บริษัท เกร๊ต อิสเทอร์น ดรั๊ก จำกัด

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close