“8 โปรตีนจากพืช” ทดแทนเนื้อสัตว์ สุดยอดประโยชน์ ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ

28 มิ.ย. 24

โปรตีนจากพืช

 

เนื้อหมู แพงขึ้น จะกินอะไรแทนดี?? คำถามที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ นั่นก็เพราะช่วงนี้เกิดโรคระบาดใหญ่ในหมู จึงทำให้เนื้อหมูมีราคาแพงขึ้นเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว! วันนี้ Ged Good Life จึงขอแนะนำ “8 โปรตีนจากพืช” เป็นอีกทางฉลาดเลือก หากินง่าย ได้ประโยชน์ ดีต่อสุขภาพมากมาย จะมีอะไรบ้าง มาติดตามกันเลย!

decolgen ดีคอลเจน

เหตุผลดีดีที่ควรกิน “โปรตีนจากพืช” โปรตีนสะอาดไม่ก่อให้เกิดโรคภัย

โปรตีนจากพืช (Plant-based protein) เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่สำคัญรองจากเนื้อสัตว์ และปัจจุบันกำลังเป็นเทรนที่มาแรงสำหรับสายเฮลท์ตี้ หรือกลุ่มวีแกน ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ นั่นก็เพราะ โปรตีนจากพืชมีประโยชน์มากมาย ดังนี้

  1. มี Phytonutrient (สารพฤกษเคมีที่มอบประโยชน์ต่อร่างกาย)
  2. มีกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย
  3. มีวิตามิน และแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด
  4. มีใยอาหารสูงดีต่อลำไส้
  5. แคลอรี่ต่ำ ลดความอ้วนได้
  6. เหมาะกับผู้ที่ต้องการเสริมกล้ามเนื้อ แต่มีภาวะ Lactose-intolerance ทำให้ไม่สามารถทานเวย์โปรตีนได้
  7. เป็นโปรตีนที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย

โปรตีนจากพืชแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม

โปรตีนจากพืชมีแหล่งที่มาหลากหลาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

  1. โปรตีนจากธัญพืช (cereal) เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์
  2. โปรตีนจากถั่ว (legume) เช่น ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลายเสือ กลุ่มถั่วฝักเมล็ดกลม
  3. โปรตีนจากเมล็ดพืช (seed) และนัท (nut) เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดลินิน เมล็ดกัญชง เมล็ดป๊อปปี
  4. โปรตีนจากหญ้าที่ไม่ใช่ธัญพืช (pseudo-cereal) เช่น บักวีท (buckwheat) เจีย (chia) ควินัว (quinua) อะมารัน (amaranth)
  5. โปรตีนจากพืชผัก (vegetable protein) เช่น บร็อกโคลี เคลป์ กะหล่ำดอก มันฝรั่ง สะตอ ผักหวาน ชะอม
    ยอดแค ยอดกระถิน ขี้เหล็ก ใบมะรุม และใบชายา

8 โปรตีนจากพืช ที่ควรกินเป็นประจำ เพื่อสุขภาพดีดี

โปรตีนจากพืช

1. ถั่วเหลือง

โปรตีนจากถั่วเหลืองนั้นเรียกได้ว่ามีสูงกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์เสียอีก เพราะในถั่วเหลือง 100 กรัม มีโปรตีนถึง 36 กรัม เลยทีเดียว (เนื้อวัว และเนื้อหมู 100 กรัม มีโปรตีนเพียง 23 กรัม เท่านั้น)​ แถมยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีเส้นใยอาหารสูงจึงช่วยป้องกัน และบรรเทาอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี

2. เมล็ดฟักทอง

เมล็ดฟักทอง มีโปรตีนสูงถึง 19 กรัม​ ต่อ 100 กรัม เป็นของกินที่หลายคนติดใจ เนื่องจากเคี้ยวเพลิน กินง่าย คลายเครียด แถมได้ประโยชน์ เมล็ดฟักทอง อุดมด้วยสังกะสีสำคัญต่อการทำงานของต่อมลูกหมาก มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยเพิ่มการขับถ่าย และลดอาการท้องผูกในระยะยาว

3. เต้าหู้

เต้าหู้เกิดจากการแปรรูปของถั่วเหลือง จึงมีโปรตีนสูงไม่แพ้กัน แถมยังมีกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 8 ชนิด ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท ที่เกี่ยวกับความทรงจำ เต้าหู้มีโปรตีนที่ให้ไฟเบอร์ หรือกากใยอาหารที่ช่วยในระบบย่อยอาหาร

4. ข้าวกล้อง

ข้าวถือเป็นอาหารหลักของเราทุกคนอยู่แล้ว จึงแนะนำให้เลือกกินข้าวกล้อง เป็นประจำทุกวันไปเลย ในข้าวกล้อง อุดมไปด้วยโปรตีน และวิตามินต่าง ๆ มากมาย เช่น มีวิตามินบี 3 วิตามินอี ช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้เปล่งปลั่งสดใส มีแคลอรี่ต่ำ เส้นใยสูง และข้าวกล้องยังช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิดได้ด้วย

5. ธัญพืช

พืชตระกูลถั่ว ให้พลังงานสูง มีโอเมก้า 3 บำรุงหัวใจ และร่างกาย เป็นโปรตีนย่อยง่าย ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ควรเลือกใช้ที่เป็นแบบเมล็ดเต็มรูปแบบ เพื่อให้ได้รับสารอาหารเต็มที่ ไม่ควรเลือกแบบบด, ขัดสี หรือบี้ป่นแล้ว

6. ลูกเดือย

ลูกเดือยเป็นธัญพืชที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับข้าว มีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส โดยเฉพาะวิตามินบี 1 ที่มีปริมาณสูงมาก

7. ผักโขม

ผักโขม ที่หลายคนคิดว่าจะมีรสขม แต่จริง ๆ ไม่ได้ขมอย่างที่คิด กินง่ายแน่นอน มีโปรตีนสูง กรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 ฯ ช่วยบำรุงกำลังทำให้มีสุขภาพแข็งแรง

8. ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ต เหมาะที่จะรับประทานเป็นอาหารมื้อเช้า เพราะอุดมไปด้วยเส้นใย และให้พลังงานสูง มีแมกนีเซียมที่สำคัญต่อระบบการทำงานของเอนไซม์ในระบบย่อยอาหาร แคลอรีต่ำ กินแล้วทำให้รู้สึกอิ่มได้นาน ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่อยากลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนัก เป็นอย่างดี

สุดท้ายนี้ 8 โปรตีนจากพืช ที่ Ged Good Life ได้แนะนำไป อาจทดแทนรสชาติของเนื้อหมูไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นสมาร์ทช้อยส์ ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ และคนที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี และอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งกว่าเดิม!

 

อ้างอิง : 1. bdmswellness 2. การเกษตรราชภัฏ 3. medthai

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save