พระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสด้าน การกีฬา เพื่อสุขภาพ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙

การกีฬา

“… การกีฬา นั้น ย่อมเป็นที่ทราบกันอยู่โดยทั่วไปแล้วว่า เป็นปัจจัยในการบริหารร่างกายให้แข็งแรง และฝึกอบรมจิตใจให้ผ่องแผ้วร่าเริง รู้จักแพ้ และชนะไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีการให้อภัยซึ่งกันและกัน สามัคคีกลมเกลียวกัน อย่างที่เรียกกันว่า มีน้ำใจเป็นนักกีฬา…”

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท ในพิธีเปิดการแข่งขันกรีฑาประจำปี ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๘

 

“…ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสำหรับให้ ออกแรงใช้งาน มิใช่ให้อยู่เฉย ๆ ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดีโดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็เจริญแข็งแรง คล่องแคล่ว ดังนั้น ผู้ที่ปรกติทำการงานโดยไม่ได้ใช้กำลัง หรือใช้กำลังแต่น้อย จึงจำเป็นต้องหาเวลาออกกำลังกาย ให้พอเพียงกับความต้องการตามธรรมชาติเสมอ ทุกวัน…”

ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส ในพิธีเปิดการประชุมใหญ่สัมมนาเรื่องการออกกำลังเพื่อสุขภาพ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๓

1053-พระราชดำรัส1

“…การกีฬานั้นมีหลักสำคัญอยู่ที่ว่าจะต้องฝึกฝนตนเองให้แข็งแรง ให้มีความสามารถในกีฬาของตน เพื่อจะพร้อมที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขัน และได้ชัยชนะมา ถึงเวลาเข้าแข่ง ข้นก็จะต้องตั้งสติให้ดี เพื่อให้ปฏิบัติได้เต็มที่ตามที่ได้ฝึกฝนมา…”

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักกีฬาที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๕ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๒

1053-พระราชดำรัส2

“… การกีฬา นั้น จะต้องมีการฝึกซ้อมให้ดี ทั้งในทางวิชาการ คือเทคนิค และทั้งในทางกาย คือ ความแข็งแรงสมบูรณ์ ถ้าขาดสองอย่างนี้ จะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติภาระของตัวให้ได้ชัยชนะ จึงต้องเตรียมตัวเตรียมกายของตนให้ดีเพื่อที่จะได้ไม่ต้องปราชัย…”

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดการแข่งขันฟุตบอล ส.ส.มหากุศล ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๑๒

 

“…นักกีฬาที่ดีนอกจากต้องมีการแสดงทั้งในทางกายในทางสมอง คือ ใช้ความคิดและวิทยาการแล้ว ก็ต้องมีจิตใจเป็นนักกีฬา อันนี้จะทำให้มีชัยเหมือนกัน ถ้าแสดงตนเป็นคนที่มีจิตใจเป็นนักกีฬาจะทำให้ใจเย็นขึ้น เกิดเรื่องอะไรก็สามารถที่จะแก้ปัญหาได้…”

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดการแข่งขันฟุตบอล ส.ส.มหากุศล ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๑๒

1053-พระราชดำรัส

“…การรักษาความสมบูรณ์แข็งแรง เป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดี และสังคมที่มั่นคง เพราะร่างกายที่แข็งแรงจะอำนวยผล ให้สุขภาพจิตใจสมบูรณ์ และเมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดีพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์ สร้างสรรค์เศรษฐกิจ และสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่…”

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒

ขอขอบคุณแหล่งที่มา
http://www.thaihealth.or.th

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close