ไอเรื้อรัง มีเสมหะตลอดเวลา ระวัง! โรคหลอดลมโป่งพอง • สาเหตุ • อาการ • วิธีรักษา

1 ก.ค. 24

โรคหลอดลมโป่งพอง

 

หากคุณมีอาการไอเรื้อรัง เสมหะเยอะ เช่น ไอทีมีเสมหะออกมาประมาณครึ่งช้อนได้ อาจสงสัยได้ว่าคุณกำลังป่วยเป็น “โรคหลอดลมโป่งพอง” ซึ่งเป็นโรคที่ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อควบคุมอาการของโรคให้ทันกาลก่อนจะลุกลาม วันนี้ Ged Good Life จะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น พร้อมสาเหตุ อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน

โรคหลอดลมโป่งพอง คืออะไร?

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นภาวะที่หลอดลมโป่งและพองใหญ่ขึ้น ๆ เป็นกระเปาะ (ขยายตัวขึ้นอย่างผิดปกติ) ทำให้ปัญหาที่ตามมาคือ เสมหะเกิดการคั่งอยู่ในหลอดลม หลอดลมไม่สามารถหดบีบกำจัดออกมาได้ และจะทำให้มีเชื้อโรคสะสมในบริเวณนี้ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียทำให้ไอมีเสมหะ เสมหะเปลี่ยนสี ถ้าเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจทำให้ไอเป็นเลือดได้

โรคหลอดลมโป่งพอง หากเป็นแล้วหลอดลมจะเสียหายอย่างถาวร ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงต้องระวังไม่ให้เป็นมากขึ้น ด้วยการรู้จักดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ตามคำแนะนำของแพทย์ ในปัจจุบัน การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (CT scan) เป็นการวินิจฉัยโรคหลอดลมโป่งพอง ที่ได้รับความนิยมที่สุด และชัดเจนที่สุด

ข้อควรรู้ : หลายคนเข้าใจว่า “โรคหลอดลมโป่งพอง” กับ “ถุงลมโป่งพอง” เป็นโรคเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้ว เป็นคนละโรคกัน อ่านเรื่องถุงลมโป่งพองเพิ่มเติมได้ที่นี่ -> ถุงลมโป่งพอง โรคร้ายของสิงห์นักสูบ

สาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพอง

สาเหตุที่ทำให้หลอดลมเกิดความเสียหายมีหลายประการ แต่ที่พบได้บ่อยคือ โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis: CF) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายมีการสร้างสารคัดหลั่งผิดปกติ หากไม่นับรายที่เกิดจาก “โรคซิสติก ไฟโบรซิส” แล้ว ผู้ป่วยหลอดลมโป่งพองร้อยละ 10-50 เกิดขึ้นโดยที่ไม่พบสาเหตุ

นอกจากนี้ โรคหลอดลมโป่งพอง อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ เช่น

  • ปอดอักเสบ
  • การติดเชื้อที่ปอด เช่น โรคไอกรน วัณโรค ภาวะปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง เป็นต้น
  • ภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  • โรคทางกรรมพันธุ์
  • มะเร็งอุดตัน หรือมีสิ่งแปลกปลอมอุดตัน
  • หลอดลมตีบ

ความแตกต่างระหว่าง “โรคหลอดลมโป่งพอง” และ “โรคหลอดลมอักเสบ” คืออะไร?

โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) และ หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) นอกจากมีชื่อภาษาอังกฤษคล้ายกันแล้ว ยังมีอาการคล้ายคลึงกันอีกด้วย ทั้งมีเสมหะในปอด และไอเหมือนกัน แต่โรคหลอดลมโป่งพองทำให้ทางเดินหายใจของคุณกว้างขึ้นอย่างถาวร ส่วน โรคหลอดลมอักเสบเป็นการติดเชื้อชั่วคราว ที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายถาวร

อาการของโรคหลอดลมโป่งพอง

อาการที่พบได้บ่อย

  • อาการไอเรื้อรัง
  • มีเสมหะจำนวนมาก โดยเสมหะนั้นอาจมีสีใส สีเหลืองอ่อน หรือสีเขียว (บางรายอาจไม่มีอาการไอ หรือมีเสมหะเพียงเล็กน้อย)

ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ มีดังนี้

  • หายใจถี่ หายใจมีเสียงหวีด
  • เจ็บหน้าอก โดยอาจรู้สึกเจ็บแปลบอย่างเฉียบพลันขณะหายใจ
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดตามข้อ
  • น้ำหนักลด
  • มีอาการนิ้วปุ้ม ซึ่งเป็นภาวะที่เนื้อเยื่อบริเวณเล็บหนาตัวขึ้นเนื่องจากได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเป็นเวลานาน ทำให้ปลายนิ้วมีลักษณะกลมและโป่งขึ้นผิดปกติ
  • เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจบ่อยขึ้น

ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการติดเชื้อที่ปอดร่วมด้วย ส่งผลให้มีอาการรุนแรงขึ้นภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน อาการที่สังเกตได้ มีดังนี้

  • ไอ และมีเสมหะจำนวนมาก
  • เสมหะมีสีเขียวกว่าปกติ หรือมีกลิ่นเหม็น
  • ไอเป็นเลือด
  • หายใจถี่อย่างรุนแรง
  • รู้สึกเหนื่อย หรือรู้สึกไม่สบาย
  • มีอาการเจ็บแปลบที่หน้าอก ซึ่งจะรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อหายใจ

หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรติดต่อแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัย และรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

อาการไอ 2 ประเภท

การรักษาโรคหลอดลมโป่งพอง

ความเสียหายที่เกิดกับปอดจากโรคหลอดลมโป่งพองจะคงอยู่ถาวร แต่การรักษาสามารถช่วยบรรเทาอาการ และหยุดความเสียหายที่แย่ลงได้ (ควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ) การรักษาหลัก ๆ ได้แก่

  1. การออกกำลังกาย และการใช้อุปกรณ์พิเศษที่จะช่วยล้างเมือกออกจากปอด (ควรได้รับคำแนะนำโดยนักกายภาพบำบัด)
  2. ยาที่ช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของอากาศภายในปอด เช่น ยาขยายหลอดลมชนิดพ่น ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น
  3. ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อในปอดที่เกิดขึ้น
  4. เลิกสูบบุหรี่

การรักษาด้วยกายภาพบำบัด ได้แก่

  1. สอนไอเพื่อเป็นการขับเสมหะ
  2. เคาะปอด หรือการสั่นปอดในรายที่มีเสมหะมาก และไม่สามารถไอออกเองได้
  3. สอนหายใจ โดยการหายใจเข้าทางจมูก และหายใจออกทางปาก โดยอัตราการกายใจเข้า : ออก เป็น 1: 4

การป้องกันโรคหลอดลมโป่งพอง

  1. ไม่สูบบุหรี่ และหากเป็นผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ ควรลด ละ เลิก เพราะบุหรี่มีผลเสียโดยตรงต่อปอด และหลอดลม
  2. ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี และ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ปอด
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  4. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอเป็นประจำทุกวัน
  5. หมั่นล้างมือให้สะอาด
  6. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไข้หวัด หรือโรคไข้หวัดใหญ่
  7. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง และสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ หากต้องไปยังสถานที่เหล่านี้

อ้างอิง : 1. นพ.วินัย โบเวจา 2. pobpad  3. clevelandclinic 4. firstphysioclinic

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save