กรดไหลย้อนตอนกลางคืน แน่นหน้าอกจนนอนไม่หลับ ทำไงดี?

กรดไหลย้อนตอนกลางคืน

ใครที่เป็นกรดไหลย้อนอยู่ คงรู้ดีว่า มันทรมาน และทำให้เสียสุขภาพจิตขนาดไหน แถมโรคนี้ยังเล่นงานเราได้ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ตอนกลางคืนขณะหลับ! ยิ่งใครที่มีอาการนอนหลับยากอยู่แล้ว ยิ่งทรมานขึ้นไปใหญ่! วันนี้ GED good life จึงขออาสาพาไปเคลียร์ปัญหากวนใจ “กรดไหลย้อนตอนกลางคืน” ถึงสาเหตุ อาการ และวิธีดูแลรักษาให้หายดีกัน

กรดไหลย้อนตอนกลางคืน เกิดจากอะไร?

กรดไหลย้อนตอนกลางคืน  เกิดจากภาวะที่กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับขึ้นไปทางหลอดอาหารขณะนอนหลับ ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก รู้สึกเหมือนมีกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือปาก ไอเรื้อรัง เจ็บคอ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก หรือปวดท้อง

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนตอนกลางคืน มีดังนี้

  • ท่าทางการนอน การนอนราบหัวต่ำ จะทำให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะหลังจากกินอาหารไม่เกิน 3 ชั่วโมง แล้วเข้านอน
  • กินแล้วนอนทันที เป็นข้อที่ทุกคนน่าจะรู้ แต่ก็ยังทำจนเป็นนิสัยจนเกิดกรดไหลย้อนกลางดึกเป็นประจำ
  • อาหารและเครื่องดื่ม เช่น อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หากกินหรือดื่มเป็นประจำ ก็จะกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนขณะหลับได้
  • ยาบางชนิด ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาขยายหลอดลม ยารักษาโรคซึมเศร้า อาจทำให้กรดไหลย้อนกำเริบ
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พบมากในผู้ชาย เป็นภาวะที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้นมีการตีบแคบลง มีผลต่อกรดในกระเพาะอาหาร และยังก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย

แพทย์เผย! เป็นกรดไหลย้อนไม่ควรนอนตะแคงขวา

กรดไหลย้อนตอนกลางคืน

รศ.นพ. ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านความผิดปกติจากการนอนหลับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า

คนที่เป็นกรดไหลย้อนไม่ควรนอนตะแคงขวา เพราะกระเพาะจะถูกยกขึ้น กรดที่อยู่ในกระเพาะก็มีโอกาสไหลลงข้างล่างมากขึ้น ฉะนั้นในผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนควรนอนตะแคงซ้ายจะดีกว่า

นอกจากคุณหมอจะแนะนำให้นอนตะแคงซ้ายแล้ว ยังมีงานวิจัย พบว่า การนอนตะแคงซ้ายเป็นท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับโรคกรดไหลย้อน เพราะเมื่อเรานอนตะแคงซ้าย ทรงกระเพาะจะย้อยลง น้ำย่อยที่อยู่ในกระเพาะก็จะอยู่ต่ำกว่าระดับที่สามารถจะไหลย้อนขึ้นไปบริเวณหลอดอาหารได้

อยากหายต้องทำตาม! 5 กฎเหล็กลดกรดไหลย้อน

การปรับพฤติกรรมอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน แต่ถ้าอยากหายก็จำเป็นต้องปรับ! เพื่อไม่ให้กรดไหลย้อนมารังควาญเราระหว่างนอนหลับได้

  1. งดอาหารมื้อดึก หรือกินมื้อเย็นก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง งดพวกอาหารรสจัด อาหารเผ็ด เป็นต้น
  2. งด ละ เลิก เครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ เพราะมีผลต่อกรดไหลย้อนโดยตรง
  3. นอนหัวสูงเข้าไว้ นอนยกศีรษะสูงอย่างน้อย 10-15 เซนติเมตร และไม่นอนตะแคงขวา
  4. ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยให้กรดไหลย้อนดีขึ้น ยังส่วนให้ สุขภาพองค์รวม ดีขึ้นอีกด้วย
  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักผลไม้ เนื้อไม่ติดมัน ธัญพืชไม่ขัดสี (Whole grains) เป็นต้น

“ยาลดกรด” ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อน

นอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว การใช้ยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ใครที่เป็นกรดไหลย้อนควรมียาลดกรดติดตัวไว้ เมื่อมีอาการจะได้ใช้รักษาทันท่วงที

ยาลดกรด (Antacids) มักประกอบด้วย 2 ตัวยา ได้แก่

  1. อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide, AlOH3)
  2. แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate, MgCO3)

2 ตัวยานี้ ช่วยในการสะเทินกรดด่างในกระเพาะอาหาร เมื่อเกิดการย้อนกลับของอาหารในหลอดอาหาร ช่วยให้ผนังของหลอดอาหารสัมผัสกับกรดในกระเพาะอาหารลดลง ข้อดีอีกประการหนึ่งของยานี้คือออกฤทธิ์บรรเทาอาการได้ภายใน 5 นาที

นอกจากตัวยาที่มีฤทธิ์ในการลดกรดแล้ว ยาที่วางขายในท้องตลาดมักผสมตัวยาชนิดอื่นเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษา และบรรเทาอาการอันเนื่องมาจากกรดอีกด้วย ยาดังกล่าวได้แก่

ไซเม็ททิโคนเป็นสารลดแรงตึงผิวที่ทำให้ฟอง และแก๊สในกระเพาะอาหารสามารถระบายออกจากอาหารที่กำลังถูกย่อยได้ เสริมประสิทธิภาพในการขับลม ท้องอืด แน่นท้อง โดยยาประเภทนี้มีให้เลือกทั้ง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ ผลิตภัณฑ์ยาลดกรดที่มีตัวยาไซเม็ททิโคน เช่น เครมิล ชนิดเม็ด (Kremil Tablets) ซองเขียว

อ่านเพิ่มเติม -> ยาลดกรด ยารักษากรดไหลย้อน คืออะไร มีกี่ชนิด ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง?

เมื่อไหร่ควรเข้าพบแพทย์?

หากเป็นกรดไหลย้อนแล้ว อาการไม่ดีขึ้นหลังปรับพฤติกรรม หรือทานยาเบื้องต้น ยังคงมีอาการกรดไหลย้อนอยู่ กลืนเจ็บ กลืนลำบาก อาเจียนบ่อย อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ น้ำหนักลดผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

 

อ้างอิง : 1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 2. healthline 3. ThaiPBS 4. สภากาชาดไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close