ไอกลางคืน หนักมาก จนนอนไม่หลับ ควรทำไงดี?

อาการ ไอกลางคืน จนนอนไม่หลับ หรือหลับไปแล้วก็ยังสะดุ้งตื่นขึ้นมาไอได้อีก!! ใครที่เป็นอยู่ คงรู้ดีว่ามันทรมานแค่ไหน!… งั้นมาดูกันดีกว่าว่า จะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยแก้อาการไอตอนกลางคืน อย่างได้ผล และปลอดภัย

อาการไอ คืออะไร?

อาการไอ (Cough) เกิดจากการที่มีสิ่งกระตุ้น หรือสารระคายเคืองบริเวณ ทางเดินหายใจส่วนบน และล่าง ทำให้มีการส่งสัญญาณไปที่บริเวณสมองส่วนควบคุมการไอ และส่งสัญญาณมาที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อกระบังลม เกิดการตีบแคบของหลอดลม จึงเกิดอาการไอขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกาย เพื่อกำจัดเชื้อโรค เสมหะ และสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ


ไอกลางคืน มีสาเหตุจากอะไรบ้าง?

สำหรับใครที่มีอาการไอกลางคืนเป็นหลัก ให้สงสัยว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เราสัมผัสตอนกลางคืน อาจเกี่ยวข้องกับอาการไอของเรา โดยเฉพาะ ฝุ่นในห้องนอน เป็นต้น

1. แรงโน้มถ่วง – เมื่อเราเอนกายลงนอน กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร จะไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ทำให้รู้สึกระคายบริเวณลำคอ จนเกิดอาการไอได้

2. อากาศแห้ง – อากาศที่แห้ง ทำให้จมูกที่มีอาการระคายเคืองอยู่แล้ว แย่ขึ้นไปอีก และยังทำให้อาการไอรุนแรงขึ้นได้ในตอนกลางคืน

3. เกิดการสะสมตัวของน้ำมูก และเสมหะ – ขณะที่เรานอนหลับ น้ำมูก และเสมหะจะค่อย ๆ เกิดการสะสมตัวเพิ่มขึ้น จนปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้รู้สึกหายใจไม่สะดวก ร่างกายจึงต้องกำจัดน้ำมูก และเสมหะกลางดึก ด้วยการไอออกมานั่นเอง

4. ภูมิแพ้ – เช่น ภูมิแพ้ไรฝุ่นภูมิแพ้อากาศ ในห้องนอน เช่น หมอน ที่นอน มักจะมีไรฝุ่นอาศัยอยู่ และบางคนมักจะแพ้อากาศเย็นในตอนกลางคืน ยิ่งเปิดแอร์เย็น ๆ ยิ่งกระตุ้นอาการไอมากขึ้น

5. มีลมจากพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เป่าโดนหน้าตลอดเวลา – เพราะอากาศที่เป่ามาจากพัดลมหรือแอร์มักจะแห้ง ทำให้ทางเดินหายใจระคายเคืองง่าย ไอง่าย

6. นำเอาสัตว์เลี้ยง มาไว้ในห้องนอน – เพราะรังแคสัตว์ ที่ติดมากับขน อาจทำให้เราเกิดภูมิแพ้ และมีอาการไอได้

7. โรคกรดไหลย้อน – ถ้านอนปุ๊บไอปั๊บ ให้สงสัยว่าเกิดจากโรคกรดไหลย้อน แม้กรดเพียงหยดเดียว ก็สามารถทำให้ระคายคอ และไอได้

อาการไอกลางคืน อาจเป็นสัญญาณระบบทางเดินหายใจมีปัญหาได้ ดังนี้

– โรคหวัด แม้จะหายจากหวัดไปแล้วก็ตาม แต่บางคงอาจยังมีอาการไออยู่หลายสัปดาห์ โดยเฉพาะไอตอนกลางคืน โดยสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากไข้หวัด

– โรคไอกรน หรือ ไอ100วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไอถี่ และ ไออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในช่วงกลางคืนอาการไอจะเกิดขึ้นถี่กว่าเวลากลางวัน ผู้ป่วยอาจมีอาการไอสูงสุดนานถึง 10 สัปดาห์

– หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน อาการไอจะเริ่มจากไอแห้ง ๆ และ อาจไอพร้อมกับมีเสมหะสีขาว หรือใส ๆ หรือ อาจไอแบบไม่มีเสมหะเลยก็ได้ เนื่องจากเยื่อบุหลอดลมถูกทำลายจนเกิดอาการอักเสบ ส่งผลให้หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น

– โรคหอบหืด  มีอาการไอแห้ง ๆ ไอถี่ ติดกัน ร่วมกับอาการหายใจไม่สะดวก หอบ เจ็บหน้าอก มีสาเหตุจากระบบทางเดินหายใจ อักเสบ หรือ ติดเชื้อ

– โรคกรดไหลย้อน จะไอหนัก เป็นช่วงสั้น ๆ ร่วมกับอาการ แสบร้อนกลางอก มักเป็นประจำหลังกินอาหารอิ่มใหม่ ๆ หรือขณะล้มตัวลงนอน เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหารจะไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร ส่งผลให้รู้สึกระคายเคืองคอ จนเกิดอาการไอ

– โรคภูมิแพ้ อาการไอจากโรคภูมิแพ้ จะเป็นอาการไอแห้ง ๆ และคันคอ มักมีอาการคันจมูก และ จาม ร่วมด้วย โดยอาการไอมักจะรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน สาเหตุมาจากสิ่งแปลกปลอมในห้องนอน เช่น ไรฝุ่น, ฝุ่นละออง ที่กระตุ้นให้เกิดอาการระคายเคืองที่หลอดลมจนเกิดอาการไอ

– ปอดมีปัญหา ช่วงเวลาตีสามถึงตีห้า เป็นช่วงที่ปอดกำลังขับสารพิษ ดังนั้นหากตื่นขึ้นมาไอกลางดึก อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าปอดของคุณกำลังมีปัญหาอยู่นะ

ถ้าอาการไอยังคงดำเนินต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป


วิธีแก้อาการ ไอกลางคืน

1. จัดสภาพห้องนอนให้เหมาะสม

ห้องที่คุณใช้นอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืนควรโล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่เป็นแหล่งสะสมของ ไร่ฝุ่น รวมถึงต้องมีการรักษาความสะอาดของพื้นที่ และเครื่องนอนต่าง ๆ อย่างที่นอน หมอน และผ้าห่มอยู่เสมอ โดยการนำเครื่องนอน ไปซักในน้ำร้อน ตากแดดให้แห้งสนิท

ไอกลางคืน

2. นอนหนุนหมอนสูง

ควรนอนหนุนหมอนมากกว่าหนึ่งใบ เพราะ วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำมูก เสมหะที่กลืนลงคอไประหว่างวันย้อนกลับขึ้นมาตอนนอนได้ รวมถึงป้องกันกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาได้อีกเช่นกัน

3. เพิ่มความชื้นให้กับอากาศในห้อง

สภาพแวดล้อมที่แห้ง เป็นภัยต่อคนที่มีอาการไอบ่อย ๆ ในตอนกลางคืน ควรเพิ่มความชื้นภายในห้องเล็กน้อย หรืออาจใช้วิธีล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อลดสารคัดหลั่งในจมูก ทำให้หายใจโล่งขึ้น

4. จิบน้ำอุ่น

การจิบน้ำอุ่นก่อนนอน จะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจของคุณโล่งขึ้นน้ำ การจิบชาสมุนไพร หรือน้ำผึ้งผสมมะนาวอุ่น ๆ ยังสามารถช่วยกำจัดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการไอ และเพิ่มความอบอบให้เยื่อบุจมูกได้อีกด้วย แต่ก็อย่าจิบจนเกินไป เพราะอาจทำให้ปวดปัสสาวะระหว่างนอนได้

ไอกลางคืน

5. ล้างจมูก

การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการทำความสะอาดภายในโพรงจมูก ซึ่งจะช่วยให้ทางเดินหายใจของคุณโล่งขึ้น สะอาดขึ้น ลดน้ำมูก เสมหะ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ในโพรงจมูก และหากล้างจมูกก่อนนอน ก็จะช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้นด้วย

6. ยาลดน้ำมูก

ยาลดน้ำมูก สามารถช่วยลดอาการไอ และระคายคอ ได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยจะช่วยลดน้ำมูก และเสมหะระหว่างที่เรากำลังนอนหลับอยู่

7. ไม่รับประทานอาหารก่อนนอน

อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ก่อนนอน ไม่ควรรับประทานอาหาร และหลังรับประทานอาหารอย่านั่งเฉย ๆ อย่านอน ให้เดินสักพักประมาณ 20-30 นาที เพื่อให้ไม่มีอะไรอยู่ในกระเพาะขณะที่นอน วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนด้วย

8. ทาวิคส์ที่ฝ่าเท้าแล้วสวมถุงเท้าก่อนนอน

ถึงแม้วิธีนี้จะดูแปลก ๆ แต่การทาวิคส์ วาโปรับ (vicks vaporub) ที่ฝ่าเท้า พร้อมนวดเบา ๆ แล้วสวมถุงเท้าก่อนเข้านอน เป็นวิธีที่โลกโซเชียลนำมาแชร์กันมาก แล้วมีหลายคนนำไปใช้แล้วได้ผลจริง บรรเทาอาการไอ ลดอาการไอ ได้จริง

หากอาการไอของคุณเริ่มแสดงอาการเรื้อรัง หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น มีเลือดปนออกมากับเสมหะ หรือมีอาการไอติดต่อกันนานเป็นเดือน ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close