เลิกสูบบุหรี่แล้ว แต่ยังไม่เลิกไอ เกิดจากอะไร ควรดูแลตนเองยังไงดี?

เลิกบุหรี่แล้ว แต่ยังไม่เลิกไอ

เลิกสูบบุหรี่ไปแล้ว แต่ทำไมยังมีอาการไอ? คำถามยอดนิยมจากนักสูบผู้กลับใจเลิกบุหรี่ วันนี้ GED good life จะมาเฉลยให้ได้รู้ไปพร้อม ๆ กันเลยว่า เลิกสูบบุหรี่แล้ว แต่ยังไม่เลิกไอ เกิดจากอะไร และควรดูแลตนเองยังไงดี? มาติดตามกันเลย!

Solmax ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

สูบบุหรี่ ทำให้ไอ ได้อย่างไร?

อาการไอ เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ เพื่อกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และในบุหรี่ก็มีสารพิษต่าง ๆ มากมาย ที่ก่อให้เกิดโทษ และเป็นภัยต่อระบบทางเดินหายใจของเรา เมื่อเราสูบบุหรี่ ก็เหมือนสูบเอาสารพิษเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจึงต้องพยายามขับสารพิษเหล่านี้ออกมาจากปอด ด้วยการไอนั่นเอง

 

4 สารอันตรายในบุหรี่ ที่ทำให้ไอเรื้อรังได้!

ในบุหรี่มีสารพิษอันตรายอยู่มากมาย แต่สารพิษที่เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการไอ และไอเรื้อรังได้ มีดังนี้

1. ทาร์ – มีลักษณะเป็นละอองของเหลวเป็นยางสีน้ำตาลเข้มคล้ายน้ำมันดิบ ร้อยละ 50 ของทาร์จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้เซลล์ของปอดไม่ทำสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เมื่อรวมตัวกับฝุ่นที่สูดเข้าไปจะยังอยู่ในถุงลมปอด ทำให้เกิดการระคายเคือง เป็นสาเหตุของการไอเรื้อรัง ก่อให้เกิดมะเร็งปอด และถุงลมโป่งพอง

2. แอมโมเนีย – มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ เกิดอาการไอ และมีเสมหะมาก

3. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ – เป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดอาการไอมีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

4. สารจำพวกอัลดีไฮด์ และคีโตน – สารเหล่านี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวของระบบทางเดินหายใจ

รู้หรือไม่!? ในบุหรี่ 1 มวน เมื่อเกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิดเลยทีเดียว และยังมีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด เช่น นิโคติน ทาร์ หรือน้ำมันดิน คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ แอมโมเนีย สารกัมมันตรังสี ฟอร์มาลดีไฮด์ ไซยาไนด์ และสารปรอท เป็นต้น

เลิกสูบบุหรี่แล้ว แต่ยังไม่เลิกไอ เป็นเพราะอะไร?

หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมเราเลิกบุหรี่ไปนานแล้ว แต่ยังมีอาการไออยู่เลย ไม่ยอมหายเสียที เป็นเพราะอะไร? เรื่องนี้ได้ถูกไขให้หายสงสัยแล้ว โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ถาม : ลูกอายุ 18 ปีเลิกบุหรี่ตามพ่อที่เลิกได้ ถามคุณพยาบาลที่ห้วยยอดว่า “เลิกได้ 10 วัน มีอาการไอ มีเสมหะ สีเขียว เจ็บคอ เพราะอะไรครับ” ?

ตอบ : เป็นปกติที่จะมีอาการไอ และมีเสมหะมากขึ้นหลังเลิกสูบสองสามอาทิตย์แรก ซึ่งเป็นสัญญาณว่าปอดของคนที่หยุดสูบบุหรี่ กำลังฟื้นตัว และมีอาการไอมากขึ้นเพื่อขับของเสียที่คั่งค้างจากการสูบบุหรี่มานานออกจากปอด

ที่เป็นเช่นนี้เพราะขณะที่สูบบุหรี่อยู่ สารพิษต่าง ๆ จากควันบุหรี่ จะระคายเคือง และทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม และทำให้เนื้อเยื่อที่มีลักษณะคล้ายขนอ่อนเล็ก ๆ (cilia) ที่มีอยู่ที่ผิวของเยื่อบุหลอดลม ซึ่งปกติจะทำหน้าที่โบกพัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ๆ ที่คนเราหายใจเข้าไป ค่อย ๆ พัดส่งต่อจากหลอดลมส่วนลึก ขึ้นมาจนถึงลำคอ แล้วก็จะถูกกลืนลงกระเพาะอาหาร โดยไม่มีอาการไอ

ในคนที่เลิกสูบบุหรี่ใหม่ ๆ ขนเล็ก ๆ (cilia) จะเริ่มกลับมาทำงาน โบกพัดของเสียออกจากผิวหลอดลม และจะมี cilia ที่งอกขึ้นมาใหม่ ทดแทน cilia ที่ถูกทำลายไป การที่ cilia กลับมาทำงานใหม่ ทำให้ปอดขับของเสียที่เกิดจากการอักเสบจากควันบุหรี่ เป็นเหตุให้เกิดการไอมากขึ้นหลังเลิกสูบบุหรี่ได้

อาการไอ และมีเสมหะมากขึ้นจะเกิดหลังเลิกบุหรี่ และเป็นต่อเนื่องอยู่ได้หลายอาทิตย์ แล้วค่อย ๆ ไอน้อยลงจนไม่มีอาการไออีก ยกเว้นคนที่สูบบุหรี่นานจนผิวหลอดลมถูกทำลายจนเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาการไอจะไม่หายไป แม้จะหยุดสูบบุหรี่แล้วก็ตาม พูดง่าย ๆ คือเลิกสูบช้าเกินไป

กรณีของชายอายุ 18 ปีที่ถามคำถามนี้ อาการไอมากที่มีเสมหะ และเจ็บคอ อาจจะเกิดจากหลอดลมอักเสบจากการติดเชื้อก็ได้

ข้อแนะนำสำหรับคนที่เลิกสูบบุหรี่ได้แล้ว ยังมีอาการไอไม่หายเกิน 2-3 สัปดาห์ ควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ชัดว่า ไม่ได้มีสาเหตุอื่นที่ทำให้ไอเรื้อรัง เพื่อจะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที

วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการไอเรื้อรัง

  • ไม่กลับไปสูบบุหรี่อีก และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันพิษ มลภาวะต่าง ๆ
  • ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผึ้งผสมมะนาวอุ่น ๆ
  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ เพื่อช่วยกำจัดเสมหะ
  • นอนพักผ่อนให้มาก ๆ ไม่เครียดจนเกินไป
  • ใช้ยาละลายเสมหะที่มีส่วนผสมของยา คาร์โบซิสเตอีน
  • ปรึกษาแพทย์ถ้าดูแลด้วยตนเองแล้วยังไม่หาย

 

อันตรายของควันบุหรี่ต่อสุขภาพร่างกาย

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุของการป่วย และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่มากถึงปีละ 52,000 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน โดยจะเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ มะเร็งปอด และถุงลมโป่งพอง และยังทำให้หน้าตาเหี่ยวย่น ดูแก่เร็วกว่าวัยอันควรอีกด้วย

13 โรคร้ายที่เกิดจากการสูบบุหรี่
  1. สมองเสื่อมสมรรถภาพ เส้นเลือดสมองแตก
  2. โรคปอด มะเร็งปอด
  3. หลอดลมอักเสบ
  4. โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง
  5.  โรคถุงลมโป่งพอง
  6. หัวใจวาย
  7. เล็บเหลือง นิ้วเหลือง
  8. นิ้วเป็นแผลเรื้อรัง นิ้วกุด
  9. โรคระบบทางเดินอาหาร ท้องแน่น อืด เบื่ออาหาร
  10. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  11. มีบุตรยาก แท้งง่าย
  12. โรคกระดูกพรุน
  13. โรคเหงือก ฟันดำ และกลิ่นปาก

จะเห็นได้ว่าแม้เราจะเลิกบุหรี่ไปนานแล้ว แต่ความร้ายกาจของบุหรี่ ก็ยังมีผลทำให้เรามีอาการไอเรื้อรัง และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ฉะนั้นใครที่ยังสูบบุหรี่อยู่ ลองพิจารณาถึงโทษภัยไข้เจ็บที่จะเกิดขึ้นกับเราดู เมื่อเห็นโทษเห็นภัยแล้ว ก็ลองลด ละ เลิกบุหรี่ให้ได้ ก่อนที่จะเกิดโรคร้ายขึ้นกับตัวเรา จนสายเกินแก้ไขนั่นเอง…

เลิกบุหรี่แล้ว แต่ยังไม่เลิกไอ

เมื่อหยุดสูบบุหรี่ ร่างกายจะดีขึ้นอย่างไร?

เชื่อหรือไม่ว่า… หลังจากเลิกบุหรี่ไปแค่ชั่วโมงเดียว เราก็จะรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแล้วนะ

  • 20 นาที: ความดันโลหิต และชีพจรจะเริ่มกลับสู่ปกติ
  • 8 ชั่วโมง: ระดับออกซิเจนในเลือดกลับสู่ปกติ นิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์จะลดระดับลงมากกว่าครึ่ง
  • 24 ชั่วโมง: คาร์บอนมอนอกไซด์ถูกกำจัดออกจากร่างกาย ปอดจะเริ่มกำจัดเสมหะ และคราบสิ่งสกปรกจากบุหรี่
  • 48 ชั่วโมง: ร่างกายจะไม่มีนิโคตินหลงเหลืออยู่ ความสามารถในการรับรส และกลิ่นจะดีขึ้นมาก
  • 72 ชั่วโมง: หายใจคล่องขึ้น หลอดลมเริ่มผ่อนคลาย และมีกำลังเพิ่มขึ้น
  • 2–12 สัปดาห์: การไหลเวียนโลหิตดีขึ้นทั่วทั้งร่างกาย ทำให้เดินและวิ่งได้ดีขึ้นมาก
  • 3–9 เดือน: อาการไอและปัญหาในระบบทางเดินหายใจลดลง การทำงานของปอดก็ดีขึ้นถึง 10%
  • 1-5 ปี: ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวลงครึ่งหนึ่ง
  • 10 ปี: ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดลงไปครึ่งหนึ่ง และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวลงเหลือเท่ากับคนทั่วไปที่ไม่เคยสูบบุหรี่

ถ้าต้องการเลิกบุหรี่ โทร 1600 – ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ

เว็บไซต์ : thailandquitline.or.th
เฟซบุ๊ก : 1600quitline

 

อ้างอิง :
1. webdb.dmsc.moph.go.th 2. ashthailand.or.th 3. quitforbetterlife.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close