อาการเจ็บคอจากไวรัส vs แบคทีเรีย แตกต่างกันยังไง ควรกินยาฆ่าเชื้อหรือไม่?

อาการเจ็บคอจากไวรัส vs แบคทีเรีย

เจ็บคอ (Sore Throat) คืออาการเจ็บ หรือรู้สึกระคายเคืองในลำคอ ทำให้มีอาการไอมีเสมหะ คัดจมูก น้ำมูกไหล แต่ก่อนจะรักษา เราก็ควรรู้ก่อนว่าอาการเจ็บคอเกิดจากอะไร จะได้รักษาอย่างตรงจุด วันนี้ GED good life จึงขอแนะนำวิธีสังเกต อาการเจ็บคอจากไวรัส vs แบคทีเรีย ว่ามีความแตกต่างกันยังไง เจ็บคอแล้วต้องกินยาฆ่าเชื้อหรือไม่? รวมถึงวิธีป้องกันอาการเจ็บคอ

2 สาเหตุหลัก ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ

1. สาเหตุจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่พบได้บ่อยทั้งจากเชื้อไวรัส เช่น จากโรคหวัด, โรคไข้หวัดใหญ่, โรคคออักเสบ, โรคกล่องเสียงอักเสบ, โรคหลอดลมอักเสบ และจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคต่อมทอนซิลอักเสบ, โรคฝีรอบต่อมทอนซิล, โรคไซนัสอักเสบ, โรคคออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอที่พบได้บ่อยที่สุด

2. สาเหตุจากการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น จาก โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอ และกล่องเสียง, การใช้เสียงมากเกินควร, โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อากาศ, สายเสียงอักเสบเรื้อรัง, สิ่งแปลกปลอมที่ค้างอยู่ในลำคอ, โรคของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณคออักเสบ, การสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ควัน, ฝุ่น, สารเคมี, เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์, การคาท่อให้อาหารจากจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร, การคาท่อช่วยหายใจ, เยื่อบุลำคออักเสบ จากการฉายแสง หรือการได้ยาเคมีบำบัด

อาการเจ็บคอจากไวรัส vs แบคทีเรีย แตกต่างกันยังไง?

อาการเจ็บคอจากไวรัส กับ แบคทีเรีย มีความแตกต่างกัน โดย ผศ.พญ.ปาริชาติ สาลี อาจารย์ประจำหน่วยวิชาโรคติดเชื้อ และเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อธิบายไว้ดังนี้

อาการเจ็บคอจากไวรัส

อาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย

  • มีไข้ขึ้นสูง (หรืออาจมีไข้ต่ำเหมือนเชื้อไวรัสก็ได้)
  • เมื่อย เพลีย
  • ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ คอโตและอักเสบขึ้นมา
  • คลื่นไส้ อาเจียน ในบางราย
  • ปวดคอชัดเจน เช่น กลืนน้ำ กลืนอะไรก็เจ็บไปหมด
  • ไม่ค่อยมีอาการไอ ไม่คัดจมูก หรือน้ำมูกไหล

วิธีรักษาอาการเจ็บคอจากไวรัส และแบคทีเรีย

วิธีรักษาอาการเจ็บคอจากเชื้อไวรัส

พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเปล่าให้มาก พยายามดื่มน้ำอุ่น ทานอาหารที่ย่อยได้ง่าย และอย่าปล่อยให้คอแห้ง สามารถทาน ยาลดไข้ ยาแก้แพ้ หรือยาแก้ไอละลายเสมหะ (ต้องดูว่าเรามีอาการอะไร ก็ให้รักษาตามอาการนั้น ๆ) หรือกินยาตามที่แพทย์สั่ง

วิธีรักษาอาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย

ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อตรวจว่าในช่องคอมีหนองติดอยู่ที่ผนังคอด้านหลัง หรือในต่อมทอนซิลหรือเปล่า ถ้ามี แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะให้

เจ็บคอ จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อไหม?

ในการรักษาอาการเจ็บคอ ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักจะใช้ยาปฎิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บคอได้มีหลายชนิด เช่น Group A ß-hemolytic streptococcus (GAS), Streptococcus pneumonia, Haemophilus influenza เป็นต้น

แต่หากอาการเจ็บคอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ก็ไม่ต้องกินยาฆ่าเชื้อ เพราะไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ และหากกินเข้าไปอาจทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียง และอันตรายต่อสุขภาพได้ด้วย

ฉะนั้น จะกินยาฆ่าเชื้อหรือไม่ จำเป็นต้องทราบก่อนว่าเราเจ็บคอจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียกันแน่ หากไม่ทราบ หรือประเมินด้วยตัวเองไม่ได้ ควรเข้าพบแพทย์ หรือเภสัชกร ไม่ควรกินยาเองโดยขาดความเข้าใจโรค

หากไอมีเสมหะร่วมด้วย ควรกินยาแก้ไอละลายเสมหะ “คาร์โบซิสเทอีน”

คาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ยาแก้ไอละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอจากการมีเสมหะมาก เป็นยาที่ออกฤทธิ์เข้าไปย่อยโปรตีน มีผลทำลายการรวมตัวกันของโปรตีนที่จับตัวเป็นก้อนเสมหะเหนียวข้น รวมถึงลดแรงตึงผิวของเสมหะ ทำให้เสมหะใสขึ้น เหนียวข้นน้อยลง จนกลไกของร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น

สรรพคุณของยาแก้ไอ คาร์โบซิสเทอีน

  • บรรเทาอาการไอมีเสมหะ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด
  • ลดการเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้น
  • บรรเทาอาการไอ เนื่องจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • บรรเทาอาการไอ ที่เกิดจากโพรงจมูกอักเสบ

การป้องกันอาการเจ็บคอ

อาการเจ็บคอเกิดจากการติดเชื้อภายในอากาศ หรือการสัมผัสเชื้อโดยตรง การป้องกันจึงต้องลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เจ็บคอ หรือคออักเสบ

  • หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และไม่ควรเอามือเข้าปาก โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการดมควันบุหรี่
  • สวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ หากต้องไปยังสถานที่แออัด หรือมีอาการป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
  • หากพบว่ามีคนในครอบครัวเป็นคออักเสบให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสตัว และห้ามใช้ของร่วมกัน
  • กรณีพบผู้ป่วยในเด็ก ควรพาไปพบแพทย์ หรือเภสัชกร และให้เด็กพักผ่อนมาก ๆ และสอนให้เด็กระวังพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

 

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

อ้างอิง : 1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 2. คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. pharmacy.mahidol

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close