gedgoodlife

อาการประสาทมือชา เกิดจากอะไร แล้วใครคือกลุ่มเสี่ยง!?

  มนุษย์เงินเดือน หรือ ชาวออฟฟิศ รู้สึกบ้างไหมว่า… เวลาทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ใช้มืออยู่กับเม้าส์ เกร็งมือเป็นเวลานาน จะรู้สึกเจ็บแปล๊บ ๆ เหมือนมีไฟฟ้าช็อต อยู่เป็นประจำ? ความรู้สึกเจ็บแปล๊บ ๆ แบบนี้แหละเรียกว่า อาการประสาทมือชา โดยมากมักเกิดกับเพศหญิงมากกว่าชาย ถึง 3 เท่า ๓ เท่า (เนื่องจากช่องใต้กระดูกข้อมือของผู้หญิงมีลักษณะแคบกว่า) งั้นมาทำความรู้จักกับอาการนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า!  อาการประสาทมือชา คืออะไร? โรคกลุ่มอาการประสาทมือชา หรือ พังผืดรัดเส้นประสาท (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก และ การเคลื่อนไหวบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางบางส่วน ถูกกดทับ หรือ ถูกตึงตัวมากเกินไป จะทำให้มีอาการชาได้ แต่ถ้าชาอยู่เป็นประจำ ไม่หายไป ก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อที่มือลีบได้ ไม่มีแรงในการจับสิ่งของแบบคนปกติทั่วไป เส้นประสาทมีเดียน คืออะไร? เส้นประสาทมีเดียน หรือ Median nerve เป็นเส้นประสาทที่วิ่งลงมาตามแขน อาการประสาทมือชา เกิดจากอะไร แล้วใครคือกลุ่มเสี่ยง!?

รู้จักกับ ภูมิแพ้ โรคที่ต้องรู้สาเหตุและรักษาให้ถูกจุด – หมอกอล์ฟ นพ.สิทธา ลิขิตนุกูล

  ภูมิแพ้ โรคที่ทำให้เกิดอาการ คัดจมูก มีน้ำมูกใส เป็นประจำทุกเช้า เนื่องจากปัจจุบันมลพิษทางอากาศมีมากขึ้น ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น อยู่กันอย่างแออัด ทำให้ประชากรที่ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ พบมากกว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้วถึง 3-4 เท่า! วันนี้ หมอกอล์ฟ จึงขออาสาพาทุกคนไปรู้จักกับโรคยอดฮิตนี้กันให้มากขึ้น มาติดตามกันเลย! ภูมิแพ้ คืออะไร ทำไมเราถึงป่วยกัน? เป็นคำถามที่หมอกอล์ฟพบบ่อยมาก จากคนไข้ที่เข้ามารักษา ซึ่งอธิบายไม่ยาก กล่าวคือ คนเราทุกคนมีภูมิต้านทานต่อสิ่งแปลกปลอมกันอยู่ทั้งนั้น แต่สำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะไวต่อโปรตีน หรือสารก่อภูมิแพ้ มากกว่าคนปกติ ซึ่งปกติสารพวกนี้จะไม่ทำอันตรายต่อร่างกายคนปกติ เช่น ฝุ่น มลพิษ แมลงสาบ เชื้อรา ขนสัตว์ ละอองเกสร อาหารบางชนิด ยาเพนนิซิลิน พิษแมลง เป็นต้น โดยเมื่อร่างกายรับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในครั้งแรก ก็จะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อรับเข้าไปซ้ำในครั้งที่สอง ภูมิต้านทานจะเยอะขึ้น ทำให้ร่างกายหลั่งสารฮีสตามีน เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับเชื้อเพิ่ม แต่มันดันมากเกินจนทำให้เราเกิดอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมูกไหล รู้จักกับ ภูมิแพ้ โรคที่ต้องรู้สาเหตุและรักษาให้ถูกจุด – หมอกอล์ฟ นพ.สิทธา ลิขิตนุกูล

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน – สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

  เมื่อป่วย มีอาการจาม น้ำมูกใสไหล คัดจมูก คอแห้ง ไอแห้ง ๆ เราอาจจะคิดว่า ก็แค่อาการไข้หวัด ไอ หรือภูมิแพ้ทั่ว ๆ ไปเท่านั้น แต่อาการดังกล่าว อาจบ่งบอกถึง โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว แล้วเราจะดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้อย่างไร ? ไปติดตามกับ GedGoodLife กันเลย โรคไข้หวัด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และข้อควรรู้เรื่องหวัดกับ หมออ้อม ไซนัส คืออะไร? ไซนัสอักเสบ มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษาอย่างไร? ต่อมทอนซิลอักเสบ รุมเร้า เจ็บคอทรมานมาก ทำยังไงอาการจะดีขึ้น? โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract infection)  – เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่เกี่ยวกับ จมูก หู คอ กล่องเสียง หลอดลม โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน – สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ยาเจริญอาหาร ช่วยให้ลูกกินข้าวได้จริงมั้ย อันตรายหรือเปล่า?

  เวลาที่ลูกไม่กินข้าว กินยาก ตัวเล็ก น้ำหนักน้อย คนเป็นแม่อาจจะเคยมองหาตัวช่วยที่ชื่อว่า “ยาเจริญอาหาร” แล้วยาเจริญอาหาร คือ ยาอะไรกันแน่ มีผลให้ลูกกินข้าวมากขึ้นได้อย่างไร แล้วอันตราย หรือมีผลข้างเคียงอะไรกับลูกบ้างไหม ? ยาเจริญอาหาร คือ ยาอะไร ? ยาเจริญอาหาร ที่นิยมกัน มี 2 ชนิด คือ 1. ยาประเภทพิโซติเฟน (Pizotifen) เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้แพ้ ซึ่งปกติใช้รักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนหรืออาการปวดศีรษะข้างเดียว แต่พบว่าเป็นยาที่มีฤทธิ์เพิ่มความอยากอาหารได้ จึงนำมาใช้ในยาเจริญอาหาร 2. ยาประเภทซัยโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) จัดเป็นยาที่มีฤทธิ์เป็นยาแก้แพ้และมีฤทธิ์กระตุ้นให้อยากอาหาร เป็นยากลุ่มที่ใช้กันมากที่สุด ยาเจริญอาหาร อันตรายไหม ? มีการถกเถียงกันว่า ยาเจริญอาหารใช้ได้ผลจริง ๆ ไหม ช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้จริงหรือ แล้วมีอันตรายไหม ? สำหรับการใช้ยาเจริญอาหาร แม้อาจจะช่วยให้เด็กอยากกินอาหารมากขึ้น แต่เป็นยาที่มีผลข้างเคียงมาก ซึ่งไม่ควรซื้อมาให้ลูกกินเอง หรือขอกับแพทย์ให้แพทย์สั่งจ่ายให้ เพราะโดยตัวยาแล้ว เป็นยาต้านฮีสตามีน หรือยาแก้แพ้ ไม่ใช่ยา ยาเจริญอาหาร ช่วยให้ลูกกินข้าวได้จริงมั้ย อันตรายหรือเปล่า?

10 สูตรสู้หนาว ป้องกันอาการไอ ไข้หวัดหน้าหนาว เมื่ออากาศเปลี่ยน

  อากาศช่วงปลายฝนต้นหนาว เป็นอีกช่วงที่ไข้หวัดระบาดเพิ่มขึ้น อากาศเย็นทำให้ลูก ๆ เจ็บป่วยกันเป็นว่าเล่น สามวันดีสี่วันไข้ ทั้ง ไอ จาม เจ็บคอ ลามมาเป็นไข้หวัด ยิ่งถ้าวางแผนเตรียมเที่ยวหนาวนี้ อย่าให้แผนล่มเพราะอาการป่วย มาเตรียมพร้อม ป้องกัน ไข้หวัดหน้าหนาว ด้วย 10 สูตรรับมืออาการไอ ไข้หวัดในหน้าหนาวนี้กัน 10 สูตรรับมืออาการไอ ป้องกัน ไข้หวัดหน้าหนาว 1. หอมแดง ป้องกัน ไข้หวัดหน้าหนาว สูตรสมุนไพรที่ส่งต่อจากหลายรุ่น ทำต่อกันมา คือ แก้หวัดด้วย “หอมแดง” ซึ่งทำได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น วางไว้บนหัวนอน โดยนำหอมแดงมาทุบให้พอพอแหลก แล้วห่อผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าบาง ๆ วางไว้บนหัวนอน หรือใต้หมอน ตอนช่วงกลางคืนที่ลูกหลับ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดง ช่วยลดอาการหวัดคัดจมูกได้ ต้มน้ำสูดกลิ่น ต้มน้ำให้พออุ่น ๆ โขลกหอมแดง และขิงลงไป นำน้ำที่พออุ่น ๆ มีไอน้ำระเหยขึ้นมา ให้ลูกสูดดมไอน้ำ 10 สูตรสู้หนาว ป้องกันอาการไอ ไข้หวัดหน้าหนาว เมื่ออากาศเปลี่ยน

อาหารคนท้อง 3 ไตรมาส ควรกินอะไรดี? เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกรักในครรภ์

  ใครที่คิดว่าคนท้องต้องกินมากขึ้นเพื่อลูกในท้อง ในความเป็นจริงแล้ว คนท้องต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ที่สำคัญคือ อาหารคนท้อง ในแต่ละไตรมาสคนท้องควรเน้นสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุอะไรบ้าง เพื่อบำรุงทั้งตัวเอง และลูกในท้อง เพราะสารอาหาร วิตามินบางอย่างถ้าขาดไป ได้ไม่ครบ อาจทำให้แท้ง หรือลูกถึงกับพิการ! ได้เลย คนท้อง กินเท่าไหร่ถึงจะพอ ? ไตรมาสที่ 1 คนท้อง ต้องการพลังงานประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี เท่ากับตอนก่อนตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 คนท้อง ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 300 กิโลแคลอรี คือ ประมาณ 2,300 กิโลแคลรี ไตรมาสที่ 2 คนท้อง ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 300 กิโลแคลอรี คือ ประมาณ 2,300 กิโลแคลรี อาหารคนท้อง สารอาหารสำคัญอะไรบ้างที่คนท้องต้องการ ? สารอาหาร วิตามินคนท้อง แร่ธาตุ ที่คนท้องต้องการเพื่อใช้ในการนำไปสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาหารคนท้อง 3 ไตรมาส ควรกินอะไรดี? เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกรักในครรภ์

3 โรคหน้าหนาว แม่ท้องต้องรับมือเมื่ออากาศเปลี่ยน

  เข้าหนาวแล้ว คุณแม่หลายคนอาจจะชอบ เพราะ ไม่ต้องทนร้อน ทนฝน และรู้สึกอึดอัดคูณสอง เพราะ มีลูกในท้องอยู่ด้วย แต่หน้าหนาวก็ไม่ใช่ว่าจะดีไปเสียหมดนะคุณแม่ เพราะ ยังมี 3 โรคหน้าหนาว ที่คุณแม่ท้องต้องระวังมากเป็นพิเศษเลยแหละ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น มาติดตามกันด้านล่างได้เลย 3 โรคหน้าหนาว แม่ท้องต้องเตรียมพร้อมรับมือ 1. ไข้หวัดใหญ่ เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว เป็นอีกช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza มีความแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาที่ ไข้หวัดใหญ่อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงได้ โดยเฉพาะคนท้อง เด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ เช่น ทำให้เกิดปอดบวม ปอดอักเสบติดเชื้อ อาการ มีอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ ไอแห้ง ๆ อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 3 โรคหน้าหนาว แม่ท้องต้องรับมือเมื่ออากาศเปลี่ยน

ลูกเป็นหวัดบ่อย ทำยังไงดี 10 ทริคที่พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนลูกป่วย

  ทำไม ลูกเป็นหวัดบ่อย ? พอไปหาหมอกลับมาได้ไม่กี่วัน ยาหมด ก็กลับมาป่วยอีก เรื่องนี้มีการศึกษาระบุว่า เด็กป่วยเป็นไข้หวัดได้บ่อย มีการศึกษาระบุว่าสามารถป่วยได้ถึงปีละ 10 -12 ครั้ง ถ้าเป็นไข้หวัดธรรมดา จากการติดเชื้อไวรัส ทำให้เด็กมีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ส่วนใหญ่เป็นอยู่ประมาณ 5-7 วัน จะหายไปได้เอง แล้วสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นหวัดบ่อย เกิดจากอะไร มีวิธีไหนที่จะช่วยป้องกัน รักษาไม่ให้ลูกป่วยบ่อย ๆ ได้ไหม​ ? ทำไม ลูกเป็นหวัดบ่อย ? – อาจไม่ใช่หวัด แต่เป็นภูมิแพ้ เพราะอาการภูมิแพ้ กับ ไข้หวัด มีอาการบางอย่างคล้าย ๆ กัน เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล ทำให้อาจจะเข้าใจผิดว่าลูกเป็นหวัดบ่อย แต่จริง ๆ อาจจะเกิดจากการแพ้ สารก่อภูมิแพ้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งฝุ่นละออง ควัน มลพิษ ลูกเป็นหวัดบ่อย ทำยังไงดี 10 ทริคที่พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนลูกป่วย

คลำเจอก้อนที่คอ อาจเสี่ยงเป็น “โรคไทรอยด์” สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

  ในปัจจุบันมีผู้ป่วย โรคไทรอยด์ จำนวนมากในประเทศไทย และส่วนมากจะไม่รู้ตัวเองว่า กำลังเป็นโรคนี้อยู่ บางคนสงสัยว่า ทำไมกินอาหารก็น้อย แต่น้ำหนักขึ้นเอา ๆ บางคนเดินไม่นานก็รู้สึก เหนื่อย หอบง่าย มือสั่น และหงุดหงิดบ่อยขึ้น สัญญาณเหล่านี้แหละ กำลังบ่งบอกว่า คุณอาจเป็น โรคไทรอยด์ เข้าให้แล้ว! มาทำความรู้จักกับ โรคไทรอยด์  ไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) นี้ เป็นต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ ด้านล่างลูกกระเดือก มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย, ควบคุมการใช้ฮอร์โมน และวิตามินอื่น ๆ เป็นต้น เมื่อใดที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ทุกระบบในร่างกายแปรปรวน ทั้งร่างกาย จิตใจ โดยที่เห็นออกข่าวกันเป็นประจำตามที่ดาราเป็นกัน ก็คือ น้ำหนักตัวขึ้นเยอะมาก เป็นสิบกิโลกรัม หน้าบวม ตัวบวม ทั้งที่พยายามคุมอาหารแล้วก็ตามที นั่นก็เพราะ ระบบในร่างกายแปรปรวนนั่นเอง ซึ่งอาการตัวบวม น้ำหนักขึ้นนี้ คลำเจอก้อนที่คอ อาจเสี่ยงเป็น “โรคไทรอยด์” สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ตัวร้อนไข้ไม่ลด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีลดไข้ตัวร้อนผู้ใหญ่

บทความโดย เภสัชกร ธร อำนวยผลวิวัฒน์ เป็นไข้ ตัวร้อนไข้ไม่ลด เกิดจากอะไร อาการเป็นไข้ ตัวร้อนไข้ไม่ลด เกิดได้หลายสาเหตุโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากตอบสนองต่อการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการขึ้น โดยหากร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายสูง ตัวร้อนแค่ไหน เรียกว่าเป็นไข้ ตัวร้อนไข้ไม่ลด อาการไข้ หรืออาการตัวร้อน หมายถึง อุณหภูมิที่สูงเกิดอุณหภูมิร่างกายที่ 37.5 องศาเซลเซียส ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหนาว ทั้งที่อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น อาการไข้จะเกิดขึ้นตามอุณหภูมิของร่างกาย ไข้ต่ำ คืออุณหภูมิ 37.5 – 4 องศาเซลเซียส ไข้สูง คืออุณหภูมิ 38.5 – 4 องศาเซลเซียส ไข้สูงมาก คืออุณหภูมิมากกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป หากพบว่าอุณหภูมิสูงกว่า 41.5 องศาเซลเซียสถือว่ามีไข้สูงอย่างรุนแรง ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อลดโอกาสการเสียชีวิตที่จะตามมา อาจนำไปสู่ ภาวะช็อก ระบบอวัยวะล้มเหลว หรือเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ตัวร้อนไข้ไม่ลด บอกโรคอะไรได้บ้าง 1. ไข้หวัดธรรมดา ตัวร้อนไข้ไม่ลด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีลดไข้ตัวร้อนผู้ใหญ่

คลื่นไส้ ท้องอืด แน่นท้อง หน้าเหลือง อาจเสี่ยงเป็น… “นิ่วในถุงน้ำดี”

  สุขภาพก็ปกติดี เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ แต่แล้วจู่ ๆ ก็มีอาการปวดท้องอย่างหนัก หน้าซีด หน้าเหลือง ไปหาหมอได้ยาฆ่าเชื้อ แก้ปวดมา กลับบ้านมากินก็หายแหละ แต่พอยาหมดฤทธิ์เท่านั้นล่ะ อาการปวดท้องก็ยังกลับมาเป็นอีก! สุดท้ายไปตรวจสุขภาพ ทำอัลตร้าซาวด์จึงรู้ว่าเป็น “นิ่วในถุงน้ำดี” !!! นิ่วในถุงน้ำดี คืออะไร? มาทำความรู้จักกัน นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วถุงน้ำดี หรือ โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Cholelithiasis หรือ Gallstones) – เป็นโรคในระบบทางเดินอาหาร ที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย นิ่วที่เกิดขึ้นมักจะมีขนาดแตกต่างกันไป และอาจเกิดขึ้นเพียงก้อนเดียว หรือ หลายก้อนก็ได้ แล้วแต่บุคคล นิ่วที่อยู่ในถุงน้ำดี จะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ๆ อาจมีสีขาว เหลือง หรือเขียว ในถุงน้ำดี เกิดจากการตกตะกอนของหินปูน (แคลเซียม), คอเลสเตอรอล, และ บิลิรูบิน (เป็นของเสียส่วนเกินในน้ำดี) ที่มีอยู่ในน้ำดี โดยเชื่อว่า คลื่นไส้ ท้องอืด แน่นท้อง หน้าเหลือง อาจเสี่ยงเป็น… “นิ่วในถุงน้ำดี”

รู้มั้ย ยาลอราทาดีน คืออะไร รักษาอาการอะไรได้บ้าง?

  ยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้กลุ่มใหม่ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่ายาต้านฮีสทามีน (Antihistamines) กลุ่มไม่ทําให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines) ออกฤทธิ์นานถึง 24 ชั่วโมง ใช้ลดอาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันตา บรรเทาอาการน้ำมูกไหล ใช้รักษาลมพิษ และโรคผิวหนังที่เกิดจากภูมิแพ้ ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม แต่ยาในกลุ่มนี้ผ่านเข้าสมองได้น้อยมาก จึงทําให้อาการข้างเคียง เช่น อาการง่วงนอน พบได้น้อย หรือผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการง่วงนอนเลยหลังจากกินยานี้ ทําให้ไม่ส่งผลเสียในการ ดําเนินชีวิตประจําวัน ซึ่งจะแตกต่างจากยาแก้แพ้กลุ่มเก่า ที่ทําให้เกิดอาการง่วงนอนมาก ปากแห้ง คอแห้ง หรือ ปัสสาวะคั่งได้ มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารฮีสทามีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านสารก่อภูมิแพ้ และก่อให้เกิดอาการแพ้ตามมา เช่น จาม น้ำมูกไหล ผื่นคัน ลมพิษ ยานี้ช่วยลดอาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้ รูปแบบ และปริมาณการใช้ยาแก้แพ้ “ลอราทาดีน” – มีจําหน่ายทั้งในรูปแบบยาเม็ด ยาแคปซูล และยาน้ำเชื่อม – เด็กอายุ 2-5 ปี รับประทานชนิดน้ำ 5 มิลลิกรัม วันละ 1 รู้มั้ย ยาลอราทาดีน คืออะไร รักษาอาการอะไรได้บ้าง?

ทำความรู้จักกับ ยาแก้แพ้ คืออะไร มีกี่ชนิด และวิธีใช้

  ทุกวันนี้คนไทยมีอาการแพ้มากขึ้น ไม่ว่าจะแพ้อากาศ หรือแพ้มลพิษต่าง ๆ เช่น ฝุ่น ควัน ฯลฯ โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบบ่อยตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยในวัยเด็กเล็กพบอาการแพ้ เช่น แพ้นมวัว หรือโรคผิวหนัง ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่จะพบอาการแพ้ เช่นโรคภูมิแพ้ทางอากาศ เยื่อบุตาขาว โรคหอบหืด หรือ โรคภูมิแพ้อาหารทะเล เป็นต้น การที่พบโรคภูมิแพ้ของระบบการหายใจเพิ่มขึ้นเนื่องจากวิถีชีวิต และสภาวะอากาศรอบตัวเราเปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยทําให้อุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมอาการแพ้จะเกิดขึ้น โดยสารก่อภูมิแพ้จะกระตุ้นให้เซลล์หลั่งสารฮีสตามีน (histamines) ออกมา ซึ่งฮีสตามีนเป็นสารที่มีอยู่ในเซลล์ทั่ว ร่างกาย ทั้งระบบประสาท ทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อฮีสตามีนถูกหลั่งออกมาจะทําให้เกิดอาการคัน ผื่น แดงที่ผิวหนัง อาจมีหลอดลมตีบ หายใจลําบาก ที่ทางเดินหายใจ และถ้าไปออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหารจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ยาแก้ภูมิแพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) มีสรรพคุณบรรเทาอาการน้ำมูกไหล อาการจามเนื่องจากหวัด บรรเทาอาการคันจากสาเหตุต่าง ๆ ลดสารคัดหลั่ง และบรรเทาอาการคัน โดยออกฤทธิ์ยาแก้แพ้ยับยั้งผลของฮีสตามีน (histamine) ซึ่งมีผลทําให้การหลั่งน้ำมูก และอาการแพ้ อาการคันลดลง ยาแก้แพ้แบ่งเป็น ทำความรู้จักกับ ยาแก้แพ้ คืออะไร มีกี่ชนิด และวิธีใช้

อาการแพ้ขนสัตว์เลี้ยง ต้นเหตุของภูมิแพ้ขนสัตว์ที่ควรระวัง

โชติมา หาญณรงค์ ผู้ชำนาญการด้านเภสัชกรรม การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นความสุขของใครหลายคน แต่สำหรับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ขนสัตว์ โดยเฉพาะ อาการแพ้ขนแมวอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตได้ การทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอาการแพ้ขนสัตว์เลี้ยงเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้ในสัตว์เลี้ยง ซึ่งสามารถส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างมีนัยสำคัญ ภูมิแพ้ขนสัตว์ คืออะไร ภูมิแพ้ขนสัตว์เป็นภาวะที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากสัตว์เลี้ยง เช่น น้ำลาย สะเก็ดผิวหนัง หรือรังแค ของสุนัขหรือแมว ทำให้เกิดอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล คันจมูก หรือหายใจลำบาก สาเหตุของอาการแพ้ขนสัตว์ อาการแพ้ขนสัตว์เกิดจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ที่อยู่ในขนหรือผิวหนังของสัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจทำให้เกิดการผลิตแอนติบอดีที่ไม่เหมาะสมในร่างกาย ส่งผลให้เกิด อาการแพ้ขนแมว หรือสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 1. สารก่อภูมิแพ้ในน้ำลายของสัตว์ สัตว์เลี้ยงเลียขนทำความสะอาดตัวเอง น้ำลายของสัตว์เลี้ยงมีโปรตีนที่สามารถทำให้เกิด อาการแพ้ขนแมว หรือ ภูมิแพ้ขนสัตว์ ได้ เมื่อสัมผัสกับผิวหนังหรือผิวหนังของมนุษย์ สารก่อภูมิแพ้จะติดอยู่บนขน เมื่อขนร่วง สารก่อภูมิแพ้จะกระจายในอากาศ 2. สะเก็ดผิวหนัง รังแค สะเก็ดผิวหนังและรังแคของสัตว์เลี้ยงที่หลุดออกจากสัตว์เลี้ยงมีสารก่อภูมิแพ้ที่สามารถกระจายอยู่ในอากาศและกระตุ้นการแพ้ในผู้ที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้ เมื่อสัตว์ผลัดขน สารเหล่านี้จะกระจายในอากาศ 3. ไรฝุ่นบนขนสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่นที่อาศัยอยู่บนขนสัตว์เลี้ยงก็เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ขนสัตว์ได้ อาการแพ้ขนสัตว์เลี้ยง ต้นเหตุของภูมิแพ้ขนสัตว์ที่ควรระวัง

“โรคลมพิษ” คันยิก ๆ รักษายังไงดี?

  โรคลมพิษ คือ โรคที่แสนน่ารำคาญ และทำให้ผิวพรรณดูน่าเกลียด น่ากลัว เพราะ ผื่นแดงขึ้นทั้งตัว แถมยังมาพร้อมอาการคันยุบยิบไปหมด อยากจะเกาก็กลัวจะเป็นแผล แล้วจะทำยังไงให้ลมพิษหาย อาการคันหมดไป มาติดตามกันต่อเลย โรคลมพิษ คืออะไร ? โรคลมพิษ หรือ ผื่นลมพิษ (Urticaria) มีลักษณะเป็นผื่น ปื้นนูนแดงขึ้นมาที่ผิวหนัง มีอาการคัน ผื่นลมพิษขึ้นได้ทั้งร่างกาย แขน ขา เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-40 ปี อาการมักอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่ก็อาจมีผื่นลมพิษขึ้นมาใหม่อีกได้ สาเหตุของโรคลมพิษ โรคลมพิษ เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเมื่อร่างกายมีปฎิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ ร่างกายปล่อยสาร “ฮีสตามีน (Histamine)” และสารอื่น ๆ เข้าสู่กระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว มีพลาสมาหรือน้ำเลือดซึมออกมาในผิวหนัง จนทำให้เกิดผื่นนูนแดงที่ผิวหนังขึ้น ลมพิษ อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ แพ้อาหาร เช่น แพ้อาหารทะเล สารกันบูด แพ้ยา ปฏิกิริยาการแพ้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผื่นลมพิษได้ การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย “โรคลมพิษ” คันยิก ๆ รักษายังไงดี?

“โรครองช้ำ” เกิดจากอะไร รักษายังไงดี?

  โรครองช้ำ (plantar fasciitis) หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือ เอ็นส้นเท้าอักเสบ เป็นโรคที่มักทำให้ปวดส้นเท้าและฝ่าเท้า เวลาที่เราเดินลงน้ำหนัก บางคนอาจรู้สึกปวดส้นเท้ามากหลังตื่นนอน เป็นโรคที่หลายคนอาจคิดว่า เป็นการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อธรรมดา ๆ แต่ความจริงแล้ว มันอาจเป็นสัญญาณของ โรครองช้ำ ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็วก่อนจะมีอาการเรื้อรังก็ได้! โรครองช้ำ มีอาการอย่างไรบ้าง? โรครองช้ำ เกิดจากการที่เอ็นฝ่าเท้ามีอาการอักเสบ โดยเอ็นฝ่าเท้า จะเป็นเอ็นแผ่นบาง ๆ ที่ห่อหุ้มตั้งแต่ส้นเท้าไปจนถึงปลายนิ้วเท้า และเป็นสิ่งที่รับแรงกระแทกขณะที่เรายืน เดิน หรือวิ่ง ทำให้เมื่อมีการใช้เอ็นฝ่าเท้าทำงานมากเกินไป หรือมีการใช้งานที่ผิดปกติ เช่น ถูกกระแทก ถูกบีบกดจากการเคลื่อนไหว จึงทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ โดยโรครองช้ำ จะมีอาการ ดังนี้ ปวดหรือเจ็บส้นเท้า ลามไปทั่วฝ่าเท้า โดยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ลงจากเตียงนอน หรือก้าวเดินก้าวแรกของวัน ปวดฝ่าเท้า หรือ ส้นเท้า เมื่อเดินลงน้ำหนัก มีอาการปวดจี๊ดๆ ปวดอักเสบ บางคนอาจปวดทีละน้อย จนคิดว่าอาการป่วยจะหายไปเอง แต่ก็จะกลับมาปวดอีก ปวดฝ่าเท้าเมื่อเดิน หรือ เคลื่อนไหวร่างกาย อาการปวดจะรุนแรงที่สุด “โรครองช้ำ” เกิดจากอะไร รักษายังไงดี?

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save