อาการประสาทมือชา เกิดจากอะไร แล้วใครคือกลุ่มเสี่ยง!?

อาการประสาทมือชา

มนุษย์เงินเดือน หรือ ชาวออฟฟิศ รู้สึกบ้างไหมว่า… เวลาทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ใช้มืออยู่กับเม้าส์ เกร็งมือเป็นเวลานาน จะรู้สึกเจ็บแปล๊บ ๆ เหมือนมีไฟฟ้าช็อต อยู่เป็นประจำ? ความรู้สึกเจ็บแปล๊บ ๆ แบบนี้แหละเรียกว่า อาการประสาทมือชา โดยมากมักเกิดกับเพศหญิงมากกว่าชาย ถึง 3 เท่า ๓ เท่า (เนื่องจากช่องใต้กระดูกข้อมือของผู้หญิงมีลักษณะแคบกว่า) งั้นมาทำความรู้จักกับอาการนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า!

ดีคอลเจน

 อาการประสาทมือชา คืออะไร?

โรคกลุ่มอาการประสาทมือชา หรือ พังผืดรัดเส้นประสาท (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก และ การเคลื่อนไหวบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางบางส่วน ถูกกดทับ หรือ ถูกตึงตัวมากเกินไป จะทำให้มีอาการชาได้ แต่ถ้าชาอยู่เป็นประจำ ไม่หายไป ก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อที่มือลีบได้ ไม่มีแรงในการจับสิ่งของแบบคนปกติทั่วไป


เส้นประสาทมีเดียน คืออะไร?

เส้นประสาทมีเดียน หรือ Median nerve เป็นเส้นประสาทที่วิ่งลงมาตามแขน และปลายแขน โดยเส้นประสาทมีเดียน จะทำหน้าที่รับความรู้สึก และ การเคลื่อนไหวบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางบางส่วน และเมื่อเส้นประสาท median ถูกกดทับที่ข้อมือ ผู้ป่วยจะมีอาการชาบริเวณนิ้วโป้งจนถึงนิ้วนาง

สรุปง่าย ๆ ก็คือ เมื่อเส้นประส่าทมีเดียน ถูกกดทับเป็นระยะเวลานาน ก็จะทำให้เกิดอาการชา่บริเวณนิ้วโป้งจนถึงนิ้วนาง และอาจเกิดอาการมือฝ่อลีบได้ในที่สุด

อาการประสาทมือชา

สาเหตุของ อาการประสาทมือช

มักเกิดจากการใช้มือ-ข้อมือ ผิดรูปแบบ เช่น งุ้มข้อมือมากเกินไปจากการใช้เม้าส์ฺตลอดทั้งวัน หรือกระดกข้อมือขึ้นมากเกินไป พอทำเป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้ แต่อาการมือชานี้ ก็อาจจะเกิดจากโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง, การติดเชื้อไวรัสHIV, กระดูกข้อมือหัก-แตก,โรคซิฟิลิส, โรคหลอดเลือดอักเสบ เป็นต้น


กลุ่มเสี่ยงที่พบ อาการประสาทมือชา

  • พนักงานออฟฟิศที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ รับโทรศัพท์เป็นเวลานาน
  • เหล่าเกมส์เมอร์ ที่เล่นเกมส์ติดกันหลายชั่วโมงทุกวัน
  • นักเขียนหนังสือ
  • งานเย็บปักถักร้อย
  • ช่างเจาะถนน หรือช่างที่ต้องใช้เครื่องมือที่สั่นสะเทือนต่อข้อมือบ่อย ๆ
  • ช่างทำผม
  • แม่บ้านกวาดบ้าน ถูบ้าน

อาการของผู้ที่เป็นประสาทมือชา

– มีอาการมือชา ที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนาง

– ปวดบริเวณข้อมือ เมื่อต้องใช้มือพิมพ์ดีด หรือ ใช้เม้าส์

– มีอาการล้า เมื่อยมือง่าย เช่น ถือหนังสือ ถือแก้ว หรือสิ่งของใดใด ได้เพียงชั่วครู่ ก็จะรู้สึกเมื่อยมือ

– มือไม่ค่อยมีแรงหยิบของ  กำมือได้ไม่สุด จำเป็นต้องใช้มืออีกข้างช่วยเพื่อให้กำสุด

– กล้ามเนื้อนิ้วมือฝ่อลีบ โดยจะเฉพาะตรงโคนนิ้วโป้ง ควรเข้ารับการรักษาโดยด่วน

อาการประสาทมือชา

วิธีการดูแลรักษาอาการมือชา แบบง่าย ๆ

1. พักการใช้มือข้างที่มีปัญหาอาการชา คือสิ่งสำคัญที่สุด แต่ถ้าพักไม่ได้ ให้พยายามใช้งานน้อยที่สุด

2. หมั่นกำมือ-เหยียดมือ ในน้ำอุ่น เป็นประจำทุกวัน วันละ 3-4 ครั้ง

3. ใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ลดปวดได้

4. ใช้แผ่นรองเม้าส์ขนาดใหญ่ และผ้านุ่ม ๆ รองแป้นพิมพ์ เพื่อลดแรงเสียดสี และลดการกระตุ้นของเส้นเอ็นไม่ให้ตึงตัวมากขึ้น

5. ทานวิตามินบีรวม วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 หรือ วิตามินบี 12 เพื่อช่วยรักษาปลายประสาทอักเสบ

หลักการรักษา 5 ข้อขั้นต้นที่กล่าวไปนี้ เหมาะกับผู้ที่เป็นไม่มาก และจะทำให้อาการปวดหายไปได้ระยะนึง ถ้ายังคงใช้มืออยู่บ่อย ๆ เหมือนเดิม อาการปวดก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก จนถึงขั้นต้องทำกายภาพบำบัด ทำการผ่าตัด หรือต้องฉีดยาประเภทคอร์ติโซนเข้าสู่บริเวณช่องข้อมือ


อาการมือชาแบบไหน ควรพบแพทย์?

หากเป็นแค่อาการเจ็บ หรือ เสียวแปล๊บ ๆ เฉพาะจุดที่มือ ก็ยังถือว่าเป็นไม่มาก แต่ถ้าเริ่มรู้สึกเสียวแปล๊บลงมาจากคอ หรือมีอาการ มือชา มือมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยให้ชัดเจน ถ้าปล่อยละเลยไว้ อาจทำให้มือฝ่อลีบได้


ถ้าเคยผ่าตัดรักษามาแล้ว จะกลับมาเป็นซ้ำได้ไหม?

โรคกลุ่มอาการประสาทมือชาอาจเกิดซ้ำได้หลังการผ่าตัด อันเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ อาจเป็นไปได้ยากที่จะปลดปล่อยเส้นประสา่ทมีเดียนจากการถูกกดทับได้อย่างสมบูรณ์โดยการผ่าตัด หากมีการเกิดซ้ำของโรคนี้ อาจจำเป็นต้องมีการรักษาเพิ่มเติม หรืออาจถึงขั้นเปลี่ยนอาชีพการทำงานเลยก็ได้

ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ อย่าใช้มือเป็นเวลานานจนเกินไป ให้มือได้พัก ได้ผ่อนคลายบ้าง หรือ อาจนวดข้อมือ ฝังเข็มตามหลักแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพที่่ดีของมือเรานั่นเอง

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ดีคอลเจน

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close