gedgoodlife

มะเร็งกระเพาะอาหาร – สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

  มะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer) เป็นโรคร้ายที่สังเกตได้ยาก เนื่องจากไม่มีอาการเฉพาะโรค แต่กลับมีอาการไม่ต่างอะไรกับโรคกระเพาะอาหารทั่วไป ทำให้หลายครั้งกว่าจะรู้ก็สายไปเสียแล้ว วันนี้เราจึงนำภัยร้ายเงียบนี้มาให้คุณได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น มะเร็งกระเพาะอาหาร คืออะไร? มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้น อย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะ เมื่อมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น จะเกิดการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง และสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด และรังไข่ได้ มะเร็งกระเพาะอาหาร มีสาเหตุมาจากอะไร? กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori) การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารหมักดอง อาการอักเสบ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร รู้หรือไม่!? มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทย มีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ปีละ 2,853 คน ผู้ป่วยเพศชายติดอันดับ 1 ใน มะเร็งกระเพาะอาหาร – สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

เคลียร์ให้ชัดกับ “สิทธิบัตรทอง” พร้อมรายชื่อคลินิก-รพ. ที่ถูกยกเลิกสัญญาบัตรทอง

  ผู้ใช้สิทธิบัตรทองปวดหัว! หลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ยกเลิกสัญญา คลินิก-โรงพยาบาล 64 แห่ง หลังขยายผลพบทุจริตเงินบัตรทอง กระทบประชาชนถึง 800,000 ราย! อย่ารอช้ามาเช็คกันว่าจะมี คลินิก-โรงพยาบาล ไหนโดนยกเลิกไปบ้าง พร้อม Q&A คลายข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับ สิทธิบัตรทอง จากสปสช. ตามมาดูรายละเอียดต่าง ๆ กันเลย! สปสช. ไขข้อสงสัย เกิดอะไรขึ้นกับ สิทธิบัตรทอง ? การยกเลิกสิทธิบัตรทองกับ รพ. และคลินิก 64 แห่งนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปิดโปงขบวนการทุจริตบัตรทอง ทำให้ต้องมีการตรวจสอบโดย สปสช. โดย นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แถลงข่าวชี้แจงว่า… ในช่วงที่ สปสช.กำลังดำเนินการจัดหาหน่วยบริการแห่งใหม่แทนหน่วยบริการเดิม เพื่อดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาลให้กับประชาชนกลุ่มดังกล่าว จึงมีแนวทางให้กับประชาชนในการเข้ารับบริการสาธารณสุข ประกอบด้วย กรณีเจ็บป่วยทั่วไป หรือมีแผนการรักษาพยาบาลกับหน่วยบริการทั้ง 64 แห่ง ประชาชนกลุ่มดังกล่าวสามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลต่อเนื่องได้ที่หน่วยบริการภาครัฐ และเอกชน เคลียร์ให้ชัดกับ “สิทธิบัตรทอง” พร้อมรายชื่อคลินิก-รพ. ที่ถูกยกเลิกสัญญาบัตรทอง

รู้หรือไม่? ยาลดความดันทำให้ไอเรื้อรัง ได้นะ!

  มีคนไข้หลายคนที่ป่วยเป็น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไมเกรน เป็นต้น ไปหาหมอด้วยอาการ ไอเรื้อรัง เมื่อรับยาแก้ไอมากินแล้วก็ไม่หายจากอาการไอ ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่นานแรมเดือน โดยไม่รู้สาเหตุว่า อาการไอที่เกิดขึ้นนั้นมาจากผลข้างเคียงของยาลดความดันกลุ่ม ACEI นั่นเอง งั้นเรามาไขข้อสงสัยกันเลยดีกว่าว่า ยาลดความดันทำให้ไอเรื้อรัง ได้อย่างไร… ยาลดความดันกลุ่ม ACEI คืออะไร? ยาลดความดัน ACE inhibitor (เอซีอี อินฮิบิเตอร์ – ACEI) เป็นยาขยายหลอดเลือด และลดการทำงานของหัวใจ เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษา ป้องกัน และบรรเทาภาวะ หรือโรคหลายชนิด เช่นความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรังบางชนิด ภาวะหัวใจขาดเลือด โรคหนังแข็ง ไมเกรน เป็นต้น โดยยานี้ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ในร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนแองจีโอเทนซิน 2 (Angiotensin II) ที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ตีบตัน จนมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นนั่นเอง เมื่อปริมาณ Angiotensin II ในร่างกายลดลง ก็ทำให้หลอดเลือดหดตัวน้อยลง เพิ่มการไหลเวียนของเลือด รู้หรือไม่? ยาลดความดันทำให้ไอเรื้อรัง ได้นะ!

“กินไก่ ทำให้เป็น เกาต์” จริงหรือมั่วนิ่ม!? พร้อมอาหารที่ควร-ไม่ควรกิน เมื่อเป็นเกาต์

  “กินไก่ ทำให้เป็น เกาต์” ประโยคที่ถูกบอกต่อ ๆ กันจนคุ้นหู บางคนถึงกับเลิกกินไก่ไปเลย เพราะ กลัวจะเป็นเกาต์! ส่วนบางคนก็บอกว่า “กินไก่ไม่ได้ทำให้เกาต์” และ “เป็นเกาต์ก็กินไก่ได้” เริ่มสับสนแล้วสิ ว่าเราควรเชื่อใครดีนะ? วันนี้ GedGoodLife มาไขข้อข้องใจให้แล้วว่า “กินไก่ ทำให้เป็น เกาต์” จะเป็นเรื่องจริง หรือแค่มั่วนิ่มกันแน่ มาดูคำตอบกันเลย ทำความรู้จักกับ โรคเกาต์ เกาต์ (Gout) คือ โรคปวดตามข้อ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบ โดยโรคนี้มีโอกาสเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 9 – 10 เท่า เลยทีเดียว! และจัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ในเพศหญิงจะพบมากในวัยหมดประจำเดือน หรืออายุ 50 ปีขึ้นไป ถึงแม้โรคนี้จะไม่ใช่โรคอันตรายร้ายแรงอะไร สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วย ถ้ารักษาตั้งแต่เริ่มเป็น แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ดูแลรักษา ก็จะเกิดการสะสมของกรดยูริก ทำให้ข้อที่เคยอักเสบบ่อย ๆ เกิดเป็นปุ่มก้อนใหญ่น่าเกลียดขึ้นมาตามร่างกาย และท้ายสุดอาจพิการทางข้อ หรือไตวายเรื้อรังได้เลยทีเดียว อาการของโรคเกาต์ “กินไก่ ทำให้เป็น เกาต์” จริงหรือมั่วนิ่ม!? พร้อมอาหารที่ควร-ไม่ควรกิน เมื่อเป็นเกาต์

12 โรคสัตว์สู่คน ไม่อยากป่วย ต้องระวังให้ดี!

  โรคสัตว์สู่คน มีแนวโน้มจะเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะ ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องคลุกคลีกับสัตว์ และยังบริโภคเนื้อสัตว์แบบไม่ถูกสุขอนามัย รวมถึงจับสัตว์ที่ไม่ควรกินมากิน เช่น ค้างคาว งู ที่สันนิษฐานกันว่าเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 นั่นเอง ทั้งนี้สหประชาชาติ (United Nations หรือ UN) ออกมาเตือนว่า อัตราการเกิดโรคติดต่อที่แพร่ระบาดจากสัตว์สู่คน จะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุเพราะแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ถูกทำลาย การค้าสัตว์ป่า การทำเกษตรด้วยระบบที่ไม่ยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ล้วนเป็นปัจจัยทั้งสิ้น โรคสัตว์สู่คน คืออะไร? โรคสัตว์สู่คน (Zoonoses) ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก (WHO) หมายถึง โรคทั้งหลายและการติดเชื้อ ที่มีการติดต่อตามธรรมชาติระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลัง และคน โดยเชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ไม่มีเพียงเชื้อไวรัสเท่านั้น แต่ยังมีเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอีกมากมายที่เราไม่รู้จักมาก่อน การติดต่อของ โรคสัตว์สู่คน หลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ทาง เช่น การสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรค หรือมูลสัตว์ที่เป็นโรค ถูกกัดจากสัตว์ที่เป็นโรค เช่น สุนัข แมว กระต่าย 12 โรคสัตว์สู่คน ไม่อยากป่วย ต้องระวังให้ดี!

ความเครียด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง? พร้อมแบบทดสอบความเครียดในบทความ

  ความเครียด คืออะไร แบบไหนถึงเรียกว่าเครียด ? วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องความเครียด พร้อมแบบประเมินความเครียด และ ความสุข ในบทความนี้กัน ความเครียด (stress) คืออะไร? ความเครียด (จิตวิทยา) – เป็นความรู้สึกตึง/ล้าทางใจ หรือการเสียศูนย์/ความสมดุลทางใจที่มีมาก่อน เนื่องจากการได้รับสิ่งเร้า/ปัจจัยไม่ว่าทางกายหรือใจ ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายใน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจริง ๆ หรือไม่ ความเครียด (ชีววิทยา) – หมายความถึงผลสืบเนื่องจากการที่สิ่งมีชีวิต (ทั้งมนุษย์ และสัตว์อื่น) ไม่สามารถตอบสนองอย่างพอเหมาะกับความต้องการทางจิต อารมณ์หรือกายได้อย่างพอเหมาะ ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือสมมติขึ้น ผู้ที่รู้สึกเครียด มักจะหงุดหงิด ฉุนเฉียว โมโหร้ายมากกว่าปกติ ระงับอารมณ์ไม่ค่อยอยู่ หากเป็นเวลาปกติ เมื่อมีอะไรบางอย่างมากระทบจิตใจ ปกติแล้ว เรามักจะควบคุมตนเองได้ รู้จักคิดกลั่นกรองหาเหตุผล แต่ตอนที่อยู่ในภาวะเครียด ความสามารถในการควบคุมตนเองจะน้อยลง จึงทำให้บางครั้งแสดงออกรุนแรงมากกว่าที่ปกติ ความเครียด แบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ 1. เครียดระดับต่ำ (Mild Stress) เป็นความเครียดที่ไม่คุกคามต่อการดําเนินชีวิต ความเครียด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง? พร้อมแบบทดสอบความเครียดในบทความ

“ผื่นกุหลาบ” โรคผิวหนังที่มาพร้อมหน้าฝน! สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

  ผื่นกุหลาบ หรือที่บางครั้งก็เรียกว่า โรคขุยดอกกุหลาบ เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ถึงแม้จะไม่ใช่โรคที่อันตรายอะไร แต่กลับเป็นโรคที่สร้างความอับอาย สร้างปมด้อยให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้พอสมควร เพราะ จะเกิดผื่นขึ้นทั่วร่างกาย ไม่เป็นที่น่ามองนั่นเอง มาทำความรู้จักกับโรค ผื่นกุหลาบ นี้กันเลยดีกว่า ว่าจะมีสาเหตุ อาการ วิธีรักษา อย่างไรบ้าง ผื่นกุหลาบ คืออะไร มีสาเหตุจากอะไร? ผื่นกุหลาบ Pityriasis rosea (PR) เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเฉพาะ และมีอาการเฉียบพลัน เป็นโรคที่ไม่อันตราย และไม่ทำให้เสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักหายจากโรคนี้ได้เอง โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ และเมื่อเป็นแล้วมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก (หรือโอกาสเกิดขึ้นซ้ำค่อนข้างน้อย) ผื่นกุหลาบเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก พบใน 0.3-3% ของคนทั่วไป โดยพบมากในวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ อาจพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย และพบได้ตลอดทั้งปี แต่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่น่าจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากการสัมผัส และการใช้ยาบางประเภท ก็อาจกระตุ้นให้เกิดผื่นกุหลาบได้ เช่น แอสไพริน Barbiturates, Bismuth, Captopril, Clonidine, D-penicillamine, Ketotifen, Isotretinoin “ผื่นกุหลาบ” โรคผิวหนังที่มาพร้อมหน้าฝน! สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ลูกไอแล้วอ้วก อาเจียน เกิดจากอะไร อันตรายไหม ?

  เมื่อเห็น ลูกไอแล้วอ้วก ไอตอนกลางคืน หรือ ไอหนัก จนอาเจียนออกมา คุณพ่อคุณแม่ต้องกังวลกับอาการของลูกกันแน่นอน เกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม แล้วจะต้องทำอย่างไรถึงจะหายไอได้บ้าง อาการไอ (Cough) เป็นกลไกทางร่างกายอันหนึ่งในการป้องกันตนเองหรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมของตนเองที่เกิดขึ้น และพยายามรักษาตนเองให้แข็งแรง ให้หายใจได้สะดวก และ กำจัดเสมหะ ลักษณะของอาการไอ มีหลายแบบ อาการไอ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามระยะเวลาของการไอ ได้แก่ – อาการไอฉับพลัน จะมีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด คอหรือกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ การสัมผัสสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม – อาการไอเรื้อรัง จะมีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 3 สัปดาห์ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ลูกไอแล้วอ้วก ไอจนอาเจียน เกิดจากอะไร? เกิดจากการไออย่างหนักอาจไปกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกบริเวณโคนลิ้น และคอหอย ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการอาเจียนได้ และสาเหตุที่อาจเป็นไป มีดังนี้ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ลูกไอแล้วอ้วก อาเจียน เกิดจากอะไร อันตรายไหม ?

กรดโฟลิก กับ โฟเลต ต่างกันไหม? ทำไมคนท้องต้องกิน

  กรดโฟลิกสำหรับคนท้อง เป็นสารอาหาร วิตามินที่คุณแม่ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ ต้องทำความรู้จักไว้ให้ดี เพราะนี่คือวิตามินสำคัญที่ต้องเสริมอย่าให้ขาดตลอดช่วงระยะเวลาตั้งครรภ์ แต่คุณแม่อาจจะสับสนว่า กรดโฟลิก กับ โฟเลต คือ วิตามินชนิดเดียวกันไหม? ทำไมคนท้องต้องกิน มาดูคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย กรดโฟลิก (folic acid) กับ โฟเลต (folate) ต่างกันไหม? กรดโฟลิก (folic acid) และโฟเลต (Folate) เป็นวิตามินตัวเดียวกัน นั่นคือ วิตามินบี 9 ที่สามารถละลายน้ำได้ แต่ที่เแตกต่างกัน คือ “กรดโฟลิก” เป็นชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้น ส่วน “โฟเลต” เป็นชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ กรดโฟลิก (Folic Acid) คือรูปแบบของวิตามินที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา โฟเลต (Folate) เป็นชื่อสามัญสำหรับกลุ่มของสารเคมีที่มีโครงสร้างพื้นฐานมาจากกรดโฟลิก แต่โฟเลตเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีอยู่ในอาหารต่าง ๆ ได้แก่ กรดโฟลิก กับ โฟเลต ต่างกันไหม? ทำไมคนท้องต้องกิน

Live สด! “ยุค New Normal ดูแลตัวเองยังไงให้ชีวิตดี๊ดี ?”

  พฤหัสนี้ 6 โมงเย็น เตรียมตัวให้พร้อม กับ Liveสด คุยกับหมอ ในยุค New Normal ” ดูแลตัวเองยังไง ให้ชีวิตดี๊ดี ? ” คุยสด ไขทุกข้อสงสัย พร้อมพูดคุยกับแขกรับเชิญพิเศษ คุณเอ๊ะ จิรากรณ์ โชว์ร้องเพลงสด ๆ สุด Exclusive! ที่นี่ ที่เดียว ! ด้วยการดำเนินชีวิตที่ต้องเปลี่ยนไป หลาย ๆ คนอาจยังปรับตัวไม่ได้ และไม่รู้ว่าจะต้องดูแล และป้องกันตัวเองอย่างไรให้มีชีวิตที่ดี๊ดี มาพูดคุย และเรียนรู้วีธีที่ถูกต้องไปด้วยกัน กับหมอกอล์ฟ นายแพทย์ สิทธา ลิขิตนุกูล  กับเทคนิคดูแลตัวเองง่าย ๆ ชัดเจน คุยกันอย่างสนุกกับ คุณกุ๊ก อภิญญา ขาวสบาย ที่จะมาเจาะทุกข้อสงสัย และฟังเพลงเพราะ ๆ ส่งกำลังใจให้กับทุก ๆ คนในเพลง  “ห่างกำลังดี” คุยสบาย Live สด! “ยุค New Normal ดูแลตัวเองยังไงให้ชีวิตดี๊ดี ?”

10 อาหารช่วยลูกถ่ายง่าย อึนิ่ม ท้องไม่ผูก

  ลูกน้อยท้องผูก ปัญหาเด็กท้องผูก ถ่ายยาก ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลกับทั้งร่างกาย และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของลูกด้วย ลองหาวิธีแก้ท้องผูกง่าย ๆ ด้วยการเปลี่ยนเมนู หรือ ปรับอาหารที่ช่วยให้ลูกถ่ายง่ายขึ้นดู อาหารแก้ท้องผูก สำหรับเด็กมีอะไรบ้าง มาลองกินไปด้วยกันเลย! อาหารแก้ท้องผูก ช่วยการขับถ่าย อึนิ่มขึ้น – เส้นใย หรือไฟเบอร์ เป็นอาหารที่เหมาะกับคนที่ท้องผูก เนื่องจากกินอาหารกากอาหารน้อย ควรเลือกเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ เพราะเส้นใยจะดูดน้ำให้อยู่ในลำไส้ จึงทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลง ควรรับประทานอาหารที่มีปริมาณเส้นใยเพียงพอ (20-35 กรัมต่อวัน) จะช่วยให้อุจจาระมีขนาดใหญ่และนุ่ม อย่างไรก็ตามการรับประทานเส้นใยอาหารปริมาณมากอาจทำให้มีอาการท้องอืด หรือมีแก็สเยอะได้ – น้ำเปล่า เมื่อกินอาหารประเภทเส้นใย หรือใยอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้น และเพื่อป้องกันท้องอืด มีลมในท้อง หรือปวดเกร็ง นอกจากนี้น้ำยังช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว นิ่มขึ้น และเคลื่อนออกจากลำไส้ได้ง่าย ถ้าดื่มน้ำน้อย น้ำในร่างกายไม่เพียงพอ อุจจาระจะแข็ง ขับถ่ายลำบาก 10 อาหารแก้ท้องผูก ช่วยให้ลูกถ่ายง่าย การรับประทานอาหารสม่ำเสมอ และดื่มน้ำเพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี อาหารที่มีปริมาณเส้นใยเพียงพอ 10 อาหารช่วยลูกถ่ายง่าย อึนิ่ม ท้องไม่ผูก

โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร แตกต่างกันอย่างไร?

  โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร เป็นสองโรคเรื้อรัง ที่สร้างความสับสน และผู้ป่วยมักเข้าใจผิดได้บ่อยครั้งว่ามันเป็นโรคเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่นะ! งั้นมาเช็คไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าว่า กรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะ แตกต่างกันอย่างไร? โรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD / Heartburn) – เป็นภาวะที่กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับมาในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ ​สาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ส่งผลให้การขยายตัวของกระเพาะไม่ดี มีความดันในช่องท้องสูง มีโอกาสทำให้เป็นกรดไหลย้อนมากขึ้น ความเครียด ทานอาหารมาเกินไป และชอบทานอาหารรสจัด ของมัน ของทอด ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และการสูบบุหรี่ มีโอกาสทำให้เกิดกรดมากขึ้น โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ – Gastritis ตามความหมายของแพทย์ โรคกรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะอาหาร แตกต่างกันอย่างไร?

ลูกกินน้อย กินยาก ไม่กินผัก Nutroplex วิตามินรวมสำหรับเด็กช่วยได้

  ผัก คือ แหล่งวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย ถึงคุณแม่จะรู้ว่าผักมีประโยชน์แค่ไหน แต่เมื่อลูกน้อยไม่ชอบผักขึ้นมา เป็นเด็กกินยาก ไม่ชอบกินข้าว จะทำอย่างไร คุณแม่หลายคนมองหา วิตามิน Nutroplex วิตามินสำหรับเด็กไม่กินผัก ตัวช่วยเมื่อลูกน้อยไม่กินข้าว กินยาก จนแม่กลัวว่าอาจทำให้ลูกอ่อนแอ และโตไม่ทันเพื่อน ลูกไม่กินข้าว ไม่กินผัก มีผลอย่างไร ? ท้องผูก ขับถ่ายมีปัญหา เพราะในผักมีใยอาหาร หรือ ไฟเบอร์สูง ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ใยอาหารช่วยในการขับถ่าย ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ช่วยนำโคเลสเตอรอลออกจากร่างกาย เร่งการนำสารพิษที่อาจทำให้เป็นมะเร็งบางชนิดออกจากร่างกายเร็วขึ้น ถ้าหากไม่ชอบกินผัก หรือไม่กินอาหารที่มีเส้นใยเลย อาจทำให้เกิดปัญหากับระบบขับถ่าย เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร มีปัญหาถ่ายยาก ท้องผูก ซึ่งอาจส่งผลระยะยาวให้เสี่ยงกับมะเร็งลำใส้ได้ ร่างกายผิดปกติ เดินไม่ได้ เด็กที่ไม่กินผักผลไม้ อาจทำให้ขาดวิตามินซี ซึ่งวิตามินซี เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน หากขาดวิตามินซี อาจทำให้เลือดจาง มีรอยช้ำตามร่างกาย หากอาการรุนแรงมากอาจถึงขั้นเดินไม่ได้ ซึ่งเป็นผลมาจากเลือดที่ออกบริเวณเนื้อเยื่อหุ้มเข่า ทำให้มีอาการปวดมาก และส่งผลต่อการเดิน ลูกกินน้อย กินยาก ไม่กินผัก Nutroplex วิตามินรวมสำหรับเด็กช่วยได้

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ต้องการความใส่ใจมากกว่าที่คิด

  ทุกครั้งที่เกิดอาการผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนใหญ่แล้ว เราก็เลือกที่จะหายามากินบรรเทาอาการกันง่าย ๆ น้อยคนนักที่จะไปหาหมอเพื่อรักษาอาการป่วยแบบนิด ๆ หน่อย ๆเหล่านี้ แต่ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องนั้น บางครั้งก็หมายถึงโรค หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่นได้ด้วยนะ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ต้องการความใส่ใจมากกว่าที่คิด ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ต้องปรับ 5 พฤติกรรมนี้! อาหารไม่ย่อย อืด จุก แน่นท้อง ปัญหาที่ต้องใส่ใจ แก้ไขให้ถูกจุด! อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คืออะไร? สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) ให้ความหมายของ อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (Flatulence) ไว้ดังนี้ ท้องอืด เป็นอาการที่มีลมในกระเพาะ และลำไส้มากเพราะอาหารไม่ย่อย ทำให้รู้สึกอึดอัดมาก และอาจมีอาการปวดท้องด้วย ท้องเฟ้อ เป็นอาการที่มีลมในกระเพาะอาหาร เพราะอาหารไม่ย่อย หรือ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ต้องการความใส่ใจมากกว่าที่คิด

ไข้หวัดแดด เกิดจากอะไร ใครบ้างต้องระวัง!

  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 (โควิด-19) ทำให้ผู้คนเกิดความวิตกกังวล ภาครัฐมีนโยบายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค กำหนดแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อ การรักษาระยะห่างทางสังคม การล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หลังจากทำกิจกรรมต่าง ๆ กินร้อน ช้อนตัวเอง การสวมใส่หน้ากากอนามัย การไอ จาม ที่ถูกวิธี การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล ส่งผลให้การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลดต่ำลง แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอากาศประเทศไทยในช่วงเวลาปัจจุบันเปลี่ยนแปลงบ่อยตลอดทั้งปี  นอกจากจะมีช่วงเวลาที่ฝนตก ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการไม่สบายได้แล้ว ช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัด อุณหภูมิที่สูง ก็สามารถทำให้เกิดอาการไม่สบายได้เช่นกัน โดยอาจ ทำให้เกิด ไข้หวัดแดด หรือ Summer flu ได้ ไข้หวัดแดด (Summer Flu) เกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ที่มีปัจจัยทางด้านอากาศ และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไข้หวัดแดด โดยร่างกายจะสะสมความร้อนเอาไว้ภายใน จนทำให้เกิดอาการป่วย โดยเฉพาะคนที่ต้องเข้าออกระหว่างห้องแอร์ที่เย็นฉ่ำกับภายนอกที่อากาศร้อนจัดบ่อยครั้ง ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นไข้หวัดแดดได้ง่าย เพราะร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย โดยผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นไข้หวัดแดดได้มากกว่าคนปกติ คือ ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน ผู้ที่ต้องเข้าออกระหว่างห้องที่มีอากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศ กับภายนอกที่มีอากาศร้อน ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีความแออัดเป็นเวลานาน เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อนจัด ไข้หวัดแดด เกิดจากอะไร ใครบ้างต้องระวัง!

ซากเชื้อโควิด-19 คืออะไร มีโอกาสติดเชื้อมั้ย? พร้อมบทเรียนออนไลน์ Covid-19

  จากกรณีที่มีการพูดถึงกันอย่างแตกตื่น และชาวโซเชียลแห่แชร์กันในโลกออนไลน์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ว่า โรงพยาบาลรามาธิบดี พบผู้ป่วยคนไทยที่กลับมาจากเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับอมิเรตส์ และพ้นระยะการกักตัว 14 วันแล้ว พบว่ามีอาการป่วย และเมื่อเข้ารับการตรวจ กลับพบการติดเชื้อโควิด-19 นั้น ทางด้านกระทรวงสาธารณสุข จึงได้รายงานไว้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563 ว่าการพบเชื้อในกรณีดังกล่าวเป็นเพียงแค่ ซากเชื้อโควิด-19 เท่านั้น ประชาชนจึงเกิดการตั้งคำถามว่า ซากเชื้อโควิด-19 คืออะไร? และการพบ ซากเชื้อโควิด-19 นี้ จะสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น ๆ ได้หรือไม่? ไม่ต้องตื่นตระหนกไป มาไขข้อข้องใจนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย! ซากเชื้อโควิด-19 คืออะไร? อ้างอิงจาก ศ.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ได้กล่าวไว้ว่า “ไวรัสเป็นทั้งสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งมีสารพันธุกรรมแบบสายเดียว หรือ RNA ไม่มีเยื่อบุผนัง หากไวรัสยังไม่ตายก็สามารถทะลุทะลวงเข้าสู่เซลล์ในร่างกายของมนุษย์ และแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว ประมาณ 3 ซากเชื้อโควิด-19 คืออะไร มีโอกาสติดเชื้อมั้ย? พร้อมบทเรียนออนไลน์ Covid-19

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save