หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สูดหายใจได้ไม่เต็มที่ เกิดจากอะไร? สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

หายใจไม่อิ่ม

รู้สึกว่า หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบากมาก หายใจแล้วลมไม่ทั่วท้อง เสียงดังครืดคราด ผิดปกติ อาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายได้! ฉะนั้นต้องตั้งสติ แล้วมาดูกันว่า อาการหายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก จะมีสาเหตุ อาการ วิธีรักษา ยังไงได้บ้าง…

decolgen ดีคอลเจน

หายใจไม่อิ่ม คืออะไร?

อาการหายใจไม่อิ่ม (Dyspnea – Shortness of Breath) คือ ความผิดปกติที่หายใจสั้น ๆ หรือรู้สึกหายใจไม่ออก หายใจลำบาก เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรืออาจหายใจไม่อิ่มอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำกิจกรรม อยู่ในสภาพอากาศ และสถานการณ์ที่ทำให้หอบเหนื่อยหายใจไม่ทัน หรืออาจกำลังป่วยด้วยโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ

หายใจไม่อิ่ม มีลักษณะอาการอย่างไร?

– หายใจไม่สะดวก รู้สึกเหมือนอากาศไม่พอ

– หายใจเป็นช่วงสั้น ๆ หายใจถี่ ไม่สามารถหายใจเข้าลึก ๆ ตามปกติได้

– รู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก

– หายใจไม่ออก หรือรู้สึกเหมือนจะขาดใจ

ระดับความรุนแรงของอาการหายใจไม่อิ่ม

แพทย์จะประเมินความรุนแรงของอาการนี้ด้วยการออกกำลัง โดยมี Word Scale (Modified Medical Research Council Scale) เป็นตัววัด โดยจะแบ่งเป็น 0-4 Grade ดังนี้

  • Grade 0 ไม่มีอาการหากไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก
  • Grade 1 เหนื่อยเมื่อต้องเดินทางราบ หรือเดินขึ้นเขา
  • Grade 2 เดินบนทางราบได้ช้ากว่าคนที่มีอายุเท่ากัน หรือต้องหยุดพักหายใจ เมื่อเดินได้ระยะเวลาหนึ่ง
  • Grade 3 ต้องหยุดพักหายใจเมื่อเดินไปประมาณ 2-3 นาที
  • Grade 4 มีอาการเหนื่อยง่าย แม้ทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อย เช่น เหนื่อยเมื่อถอด หรือสวมเสื้อผ้า เป็นต้น

สาเหตุหายใจไม่อิ่มโดยทั่วไป

– การใช้แรงมากเป็นเวลานาน

– ไม่ค่อยออกกำลังกาย

– มีความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า

พักผ่อนไม่เพียงพอ

– มีอาการตกใจ

– อยู่ในสถานที่ความกดอากาศต่ำอย่าง ยอดเขา สถานที่อุณหภูมิสูงจนเกินไป เป็นต้น

สาเหตุหายใจไม่อิ่มจากโรคต่าง ๆ

1. ระบบทางเดินหายใจ อาจมีสาเหตุมาจาก ปอดอักเสบติดเชื้อ ติดโควิด-19 หอบหืด และภูมิแพ้ ช่องเยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคนอนกรน

2. ระบบหัวใจและหลอดเลือด อาจมีสาเหตุมาจาก หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจวาย โรคของลิ้นหัวใจ เส้นเลือดในปอดอุดตัน

3. ระบบประสาท อาจมีสาเหตุมาจาก โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

4. ระบบทางเดินอาหาร อาจมีสาเหตุมาจาก กรดไหลย้อน

5. ระบบต่อมไร้ท่อ อาจมีสาเหตุมาจาก ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน โรคอ้วน

6. ระบบเลือด อาจมีสาเหตุมาจาก โลหิตจาง

หายใจไม่อิ่ม แบบเรื้อรัง

อาการหายใจไม่อิ่มเรื้อรังมักเกิดขึ้นนานหลายสัปดาห์ หรืออาจกินเวลานานเป็นเดือน ซึ่งมักมีสาเหตุจากโรคประจำตัว เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่อิ่ม นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากภาวะอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาวะอ้วน หรือมีภาวะการตั้งครรภ์ เป็นต้น

หายใจไม่อิ่ม

อาการปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส Covid-19

– หายใจไม่ทัน หายใจไม่สะดวก หายใจไม่อิ่ม

– หอบเหนื่อยง่ายไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้

– มีอาการไอเพิ่มขึ้น

– โรคโควิดจะเข้าไปทำลายปอด เชื้อลงปอดเมื่อไหร่ จะอันตรายมาก จึงควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

– เมื่อรักษาโรคนี้จนหายแล้ว อาการหายใจไม่อิ่ม ก็จะหายไปด้วยเช่นกัน

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่?

หากมีอาการหายใจไม่อิ่มร่วมกับอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันที

  • หายใจลำบาก และมีเสียงฟืดฟาด
  • หายใจลำบากโดยเฉพาะเมื่อนอนราบ
  • เท้า และข้อเท้าบวม
  • มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น
  • มีสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ได้แก่ หายใจไม่อิ่มรุนแรงขึ้น เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน หรือรู้สึกเจ็บหน้าอก คลื่นไส้ และเป็นลมร่วมด้วย

การรักษา ภาวะหายใจเหนื่อยง่าย หรือ หายใจไม่อิ่ม

ผู้ที่มีอาการ หายใจไม่อิ่ม จะต้องได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ให้ได้เสียก่อน เนื่องจากบางสาเหตุ เป็นภาวะรุนแรงที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่ในเบื้องต้นนั้น ผู้ป่วยควรจะสังเกตอาการได้ด้วยตนเองว่า หายใจเหนื่อยง่าย หรือหายใจไม่อิ่มแบบไหน ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอันตรายร้ายแรง ควรมาพบแพทย์โดยเร่งด่วน

ผู้ป่วยควรสังเกตและจดจำอาการสำคัญต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการวินิจฉัยโรค เช่น

  • อาการหายใจไม่อิ่มเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือเกิดขึ้นบ่อย ๆ เป็นระยะ
  • หายใจไม่อิ่มเกิดจากการทำกิจกรรมใดมาก่อนหน้าหรือไม่ หรืออาการเกิดขึ้นมาเอง
  • อาการรุนแรงเพียงใด
  • มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก หรือไม่สามารถนอนราบลงได้

แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การเอกซเรย์ช่วงอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจสมรรถภาพปอด เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาโรคซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหายใจไม่อิ่ม

การรักษาอาการหายใจไม่อิ่มในเบื้องต้น ด้วยตนเอง

หากเป็นสาเหตุทั่วไปที่ไม่เป็นอันตราย เช่น อาการเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น เครียด พักผ่อนน้อย ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง และบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มจนกว่าจะกลับมาหายใจได้ตามปกติ เช่น

  • นั่งหน้าพัดลม หรือปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศลงให้ห้องมีความเย็น
  • ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ วันละ 1 ครั้ง 5 วัน/สัปดาห์
  • ยกหัวขึ้น หรือให้หัวอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าแนวระนาบ หรืออยู่ในท่านั่ง เพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • สูดอากาศบริสุทธิ์ เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทสะดวก และกำจัดมลภาวะทางอากาศออกไป
  • อยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง ห้องโล่ง ๆ ที่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด หรือเปิดหน้าต่าง มองดูทิวทัศน์ที่สบายตา
  • ฝึกใช้เทคนิคควบคุมความเครียด ความวิตกกังวล เช่น นั่งสมาธิ ดูรายการตลก ทำกิจกรรมผ่อนคลายอารมณ์
  • รับประทานยาแก้ปวด หรือยารักษาที่ใช้ควบคุมอาการป่วยที่กำลังเผชิญอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

เทคนิคการฝึกหายใจสำหรับผู้ที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม

การฝึกหายใจแบบห่อริมฝีปาก หายใจเข้าทางจมูก แล้วห่อริมฝีปากแล้วค่อยปล่อยลมหายใจออกทางปากอย่างช้า ๆ ช่วยควบคุมจังหวะการหายใจให้ช้าลง ทำให้สูดหายใจได้ลึกขึ้น และสามารถรับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ วิธีนี้มักใช้ในขณะที่ทำกิจกรรมออกแรงอย่างหนัก เช่น การขึ้นบันได และการขนของ เป็นต้น

การฝึกหายใจด้วยท้อง วางฝ่ามือข้างหนึ่งลงบนหน้าอก และวางฝ่ามืออีกข้างลงบนหน้าท้อง เมื่อหายใจเข้าให้ใช้ฝ่ามือกดลงบนหน้าท้องเบา ๆ เพื่อไล่อากาศ วิธีการนี้จะสามารถใช้ร่วมกันกับวิธีหายใจแบบห่อริมฝีปากได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อกะบังลมทำงานได้ดีขึ้น และหายใจสะดวกขึ้น

การฝึกหายใจขณะออกกำลังกาย เน้นหายใจออกในขณะที่ต้องออกกำลังกายในท่าที่ใช้แรงมาก และควรวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง

 

อ้างอิง :
1. pobpad 2. petcharavejhospital 3. ch9airport

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close