8 โรคเด็กในหน้าฝน ที่พ่อแม่ควรรู้ พร้อมวิธีป้องกัน

โรคเด็กในหน้าฝน

“เด็ก” กับ “น้ำฝน” เป็นของคู่กัน หน้าฝนมาเมื่อไหร่ เด็ก ๆ จะครึกครื้นกันเป็นพิเศษ ออกไปเล่นน้ำฝนกันอย่างสนุกสนาน โดยไม่รู้ว่าการเล่นน้ำฝนนั้นอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้! วันนี้ Ged Good Life จะพาไปทำความรู้จักกับ “8 โรคเด็กในหน้าฝน” ที่พ่อแม่ควรรู้ พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกป่วยในฤดูฝนนี้

ไขข้อสงสัย ทำไมลูกป่วยง่ายในหน้าฝน

เพราะในหน้าฝนเป็นฤดูแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และแบคทีเรียหลายชนิด เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะในเด็กย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้สูงมาก เพราะระบบภูมิต้านทานในร่างกายยังไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ เมื่อเด็ก ๆ ออกไปเล่นน้ำฝน หรือตากฝนนาน ๆ เชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่มากับน้ำฝน อาจนำมาซึ่งการติดเชื้อ และเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย หรือแม้แต่อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยในฤดูฝนนี้ก็ทำให้เด็กป่วยได้ง่ายเช่นกัน

8 โรคเด็กในหน้าฝน ที่พ่อแม่ควรรู้

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน โดยส่วนมากมักเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจต่าง ๆ มักมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส และมียุงลายเป็นพาหะนำโรค นายแพทย์สมศักดิ์ แนะนำให้ผู้ปกครอง ควรเฝ้าระวัง และดูแลสุขภาพของลูกน้อยให้ปลอดภัย จากโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในฤดูฝน ดังนี้

1. โรคไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)

ไวรัส RSV (หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV) เป็นโรคติดเชื้อที่มีอาการคล้ายหวัดแต่บางครั้งอาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นปอดอักเสบได้ ไวรัส RSVเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบาดในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

อาการป่วย – น้ำมูกไหล คัดจมูก รับประทานอาหารได้น้อย หลังจากนั้น 1-3 วัน จะมีอาการ ไอ มีไข้ หอบเนื่อย หายใจลำบาก และอาจมีเสียงดังตอนหายใจอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม -> วิธีป้องกัน ไวรัส RSV มัจจุราชคร่าลูกน้อย!

2. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu)

เป็นโรคระบาดในเด็ก ที่เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ ผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส ในช่วงหน้าฝนนี้ ไวรัสจะเติบโตได้ดี และเด็ก ๆ ก็เสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่มาก เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง และยิ่งในช่วงเปิดเทอม ก็อาจติดต่อกันได้ง่ายขึ้นไปอีก

อาการป่วย – มีน้ำมูกใส ๆ จาม คอแห้ง เจ็บคอ เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไอแห้ง ไอมีเสมหะ หากอาการรุนแรง และลุกลามอาจมีโรคแทรกซ้อนที่มากับไข้หวัดก็คือ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบได้

อ่านเพิ่มเติม -> ไข้หวัด vs ไข้หวัดใหญ่ อาการต่างกันอย่างไร?

3. โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth Disease)

เกิดจากเชื้อไวรัส พบมากในช่วงหน้าฝนเข้าสู่ฤดูหนาว ติดต่อกันได้ทางไอ จาม น้ำลายหรืออุจจาระ การสัมผัสของเล่น อาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ พบมากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาการมักหายได้เองภายใน 3 – 10 วัน มีระยะฟักตัว 3-6 วัน พบเชื้อทางน้ำลาย 2-3 วัน ก่อนมีอาการ จนถึง 1-2 สัปดาห์หลังมีอาการ

อาการป่วย – มีตุ่มแดง ๆ หรือตุ่มน้ำ บนฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมถึงที่เข่าและก้น มีไข้สูง สังเกตได้จาก การที่เด็กไม่ยอมรับประทานอาหาร เพราะรู้สึกเจ็บแผลในปาก หรือ กระพุ้งแก้ม

อ่านเพิ่มเติม -> โรคมือเท้าปาก โรคร้ายที่มากับหน้าฝน!

4. ไข้เลือดออก (Dengue Fever)

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงลาย พบได้มากบริเวณที่มีน้ำขัง ที่พบในไทยเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเชื้อไวรัสนี้ มี 4 ชนิด ผู้ที่เคยป่วยแล้วสามารถติดเชื้อซ้ำได้ ถ้าได้รับเชื้อต่างชนิดกัน หากสงสัยว่าลูกกำลังป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที

อาการป่วย – มีอาการไข้สูงนำ หน้าแดงผิดสังเกตุ และมักพบอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้องที่ชายโครง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม -> 9 สัญญาณ อาการไข้เลือดออก เช็คให้เป็น ป้องกันตัวเองให้ดี!

5. โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อ มีสาเหตุจากยุงลาย ได้แก่ ยุงลายสวน (Aes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) โรคนี้จะมีอาการเช่นเดียวกับไข้เลือดออก แต่โรคชิคุนกุนยามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกมาก

อาการป่วย – ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อและเมื่อยกล้ามเนื้อ ตาแดง รับประทานอาหารไม่ได้ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะอ่อนเพลีย หรืออาจท้องเสีย

อ่านเพิ่มเติม -> โรคชิคุนกุนยา : สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

6. โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis)

เป็นโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ และพบได้บ่อยโรคหนึ่งในเด็ก เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ซึ่งเป็นท่อที่นำลม หรืออากาศหายใจเข้าสู่ปอด เมื่อเยื่อบุหลอดลมบวมมีเสมหะ ส่งผลให้อากาศไหลผ่านหลอดลมเข้าสู่ปอดได้ไม่ดี หายใจลำบากทำให้เกิดอาการไอได้

อาการป่วย – เด็กจะมีอาการไอ และจะมีเสมหะร่วมด้วย ถ้าลักษณะเสมหะมีสีขุ่น เหลืองหรือเขียว แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย อาการไข้ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการก็จะดีขึ้น และหายภายในไม่เกินใน 1-2 สัปดาห์

อ่านเพิ่มเติม -> ไอเรื้อรัง มีเสลด และเลือด อาจเสี่ยงเป็นโรคหลอดลมอักเสบ

7. โรคปอดบวม (Pneumonia)

โรคปอดบวม เป็นการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันของเนื้อปอดบริเวณหลอดลมส่วนปลายและถุงลม พบได้ทั้งการติดเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย (ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อรา พยาธิ หรืออาจเกิดจากการแพ้) เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยรุนแรง บางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย อายุต่ำกว่า 1 ปี

อาการป่วย – มักมีอาการไข้หวัดนำมาก่อนสัก 2-3 วัน ได้แก่ มีไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ ตามมาด้วยอาการหายใจเร็ว หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง ไม่ยอมกินนมหรือน้ำ มีอาการขาดน้ำ ซึมมาก หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ค่าความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดต่ำ

อ่านเพิ่มเติม -> เข้าสู่หน้าฝน ระวังลูกป่วยปอดอักเสบ

8. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea)

เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กช่วงฤดูฝน เพราะเป็นฤดูที่ทำให้มีความชื้นในอากาศมาก เชื้อโรคเจริญเติบโต และแพร่เชื้อได้ดี ทำให้อาหารและน้ำดื่มมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้เกิดโรคของระบบทางเดินอาหารได้ง่าย โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

อาการป่วย – ถ่ายอุจจาระเหลวกว่าปกติเกิน 3 ครั้งต่อวันหรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกปนเลือด 1 ครั้งต่อวันอาจมีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันกรณีที่เป็นเด็กให้ทานอาหารเหลวบ่อย ๆ

โรคเด็กในหน้าฝน

อาการที่ควรรีบไปพบแพทย์

  • มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส เพราะอาจทำให้เด็กเสี่ยงต่อภาวะชัก
  • เด็กมีอาการซึม อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร เอาแต่นอนอย่างเดียว
  • กินได้น้อย หรือไม่กินเลย โดยเฉพาะถ้ากินน้ำไม่ได้ให้รีบมาพบแพทย์
  • อาเจียนมาก ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ว่าเด็กมีอาการรุนแรง
  • อุจจาระมากผิดปกติ
  • มีอาการชัก เกร็ง มือเท้าเย็น

วิธีป้องกัน โรคเด็กในหน้าฝน

นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้แนะผู้ปกคริงให้รู้จักป้องกันโรคที่มาในหน้าฝน ได้โดย…

  1. สวมหน้ากากอนามัย และล้างมืออย่างสม่ำเสมอ (โดยเฉพาะก่อนกินอาหาร)
  2. สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่น
  3. ให้ลูกออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง หนาวเย็น จะทำให้ร่างกายที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ จึงมีโอกาส ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจได้ง่าย
  4. ควรกำจัดน้ำขังในบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย อันเป็นสาเหตุหลักของไข้เลือดออกในหน้าฝนอีกด้วย

ทั้งนี้ผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง และสังเกตลูกน้อย หากพบว่าไข้สูง 3 วัน อาการไม่ดีขึ้น หรือเด็กไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข เช่น กินไม่ได้ ซึมลงมาก นอนไม่ได้ หอบเหนื่อย หรือ กระสับกระส่าย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป


นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส เสริมภูมิต้านทานเด็ก

NUTROPLEX OLIGO PLUS ( นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส ) วิตามินรวมสำหรับเด็ก ที่มีส่วนผสมของมัลติวิตามิน ใยอาหารธรรมชาติและธาตุเหล็กสูง กระตุ้นการขับถ่าย เสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สำหรับเด็กที่อาจจะกินน้อย กินยาก ไม่ได้กินอาหารครบหมู่ หรือ ไม่กินผักผลไม้เป็นประจำได้ทุกวัน

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส เป็นวิตามินรวมสำหรับเด็กตัวเดียวที่มี “ธาตุเหล็ก” ซึ่งมีส่วนเสริมสร้างและพัฒนาสมอง

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส มี Oligofructose ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี

NUTROPLEX OLIGO PLUS หาซื้อที่ไหนได้บ้าง?

วิตามินรวมนูโทรเพล็กซ์ หาซื้อได้ที่ร้านขายยาชั้นนำ เช่น Boots, Health up, Fascino, P&F, Pure, Save Drug, D Chain, Tesco (แผนกร้านขายยา), Drug Core, I Care, Drug Square, Ameditec และทาง ออนไลน์ Konvy.com

สั่งซื้อ NUTROPLEX OLIGO PLUS ได้แล้วที่นี่

แอดไลน์ ID : @nutroplexclub
Inbox Facebook : https://www.facebook.com/nutroplexclub

 

อ้างอิง : 1. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 2. โรงพยาบาลเปาโล 3. โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close