รู้จัก โรคโลหิตจางในเด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

โรคโลหิตจางในเด็ก

เห็นลูก ๆ ที่บ้านมีอาการตัวซีด ๆ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เรียนไม่ค่อยมีสมาธิ อาจมีสาเหตุมาจาก โรคโลหิตจางในเด็ก เพราะขาดธาตุเหล็ก ทำไมเด็ก ๆ ถึงเป็นโรคโลหิตจางกันเยอะ เกิดจากอะไร และจะป้องกันได้อย่างไร ตามมาดูคำตอบกัน

รู้จักโรคโลหิตจาง

โรคโลหิตจาง หรือ ภาวะซีด (anemia) คือ การที่มีปริมาณของเม็ดเลือดแดง (red cell mass) ลดลง หรือมีระดับค่าฮีโมโกลบิน (hemoglobin, Hb) ลดลง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง เมื่อขาดธาตุเหล็ก จึงทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง หรือ เลือดจาง หรือ ภาวะซีด

 

สาเหตุของโลหิตจาง

1. การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย เกิดจาก…

– การขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และโฟลิก เป็นต้น
– ไขกระดูกฝ่อ หรือมีเซลลมะเร็งกระจายในไขกระดูก (bone marrow failure / infiltration)

2. การเสียเลือดจากร่างกาย (blood loss) เกิดจาก…

– เสียเลือดเฉียบพลัน (acute blood loss) อาจเกิดขณะผ่าตัด เกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
– เสียเลือดเรื้อรัง (chronic blood loss) ไดแก่ พยาธิปากขอเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร หรือลําไสเล็กส่วนต้น เป็นต้น

3. การแตกทําลายของเม็ดเลือดแดง (hemolytic anemia) เกิดจากโรค หรือ อาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะ G6PD deficiency, thalassemia, hereditary spherocytosis, SLE เป็นต้น


อาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคโลหิตจางในเด็ก

– มีอาการซีดลง ตัวเหลือง
– เปลือกตาล่าง ริมฝีปาก หรือผิวเริ่มมีภาวะซีด
– เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
– เป็นลม หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น
– ไม่ค่อยมีสมาธิ ง่วง เฉื่อยชา

คุณพ่อคุณแม่ ควรหมั่นสังเกตอาการลูก ๆ หากมีอาการควรจะไปลูกไปพบคุณหมอ ให้ทําการตรวจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากโลหิตจางจริงหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใด เพื่อทำการรักษาได้ตรงสาเหตุ


สถิติภาวะโลหิตจางในเด็ก

ประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโลหิตจาง 231.63 ต่อ 100,000 ประชากร โดยจากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) ในกลุ่มเด็กปฐมวัย พบว่า

– เด็กในชนบทพบความชุกของโลหิตจางร้อยละ 41.7
– เด็กในเขตเมืองพบความชุกของโลหิตจางร้อยละ 26


โรคโลหิตจางในเด็ก

โรคโลหิตจางในเด็ก เกิดจากอะไร ?

รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก ที่ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยจากขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก โฟลิก และวิตามินบี 12 โดยสาเหตุที่ที่ทำให้ขาดธาตุเหล็กไม่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอ เช่น

  • เลือกกิน เป็นเด็กกินยาก
  • กินอาหารซ้ำๆ ไม่หลากหลาย
  • อยู่ในวัยห่วงเล่น ไม่ยอมกินข้าว
  • มีอาการป่วย กินอาหารได้น้อย

เกิดจากการเสียเลือดมาก

  • การเสียเลือดในเด็กอาจเกิดเฉียบพลัน หรือ อาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่าง ๆ
  • เลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร
  • การเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น

โรคโลหิตจางในเด็ก ปล่อยไว้ อันตราย!

มีเด็กจํานวนมากที่มีอาการเจ็บปวยเนื่องจากภาวะโลหิตจางมาก อาจทำให้เกิด

– อาการเหนื่อยล้าออนเพลียง่าย
– เฉื่อยชาทั้งร่างกาย จิตใจ
– ร่างกายไม่เจริญเติบโต หรือ เติบโตช้า
– ไม่มีธาตุเหล็กไปใช้ในการเติบโต ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง เปราะง่าย
– ไม่สูง เตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกัน
– หัวใจทำงานหนัก กรณีที่มีภาวะรุนแรง อาจเกิดหัวใจวาย เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้


โรคโลหิตจาง ขาดธาตุเหล็ก ส่งผลต่อเด็กวัยเรียน

– สมองทำงานได้ช้าลง เนื่องจากได้รับออกซิเจนจากเม็ดเลือดแดงน้อยลง
– มีปัญหาการเรียน ผลการเรียนแย่ลง
– ขาดสมาธิ เรียนรู้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน


การรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

ให้ธาตุเหล็กทดแทน แพทย์จะรักษาโดยให้ธาตุเหล็กเม็ดทดแทนโดยการรับประทาน หลังจากให้ธาตุเหล็กทดแทน อาการและความเข้มข้นเลือดจะดีขึ้นเรื่อยๆ จนกลับมาเป็นปกติภายในเวลา 4-8 สัปดาห์ หากความเข้มข้นเลือด หรือระดับฮีโมโกลบิน ไม่เพิ่มขึ้น จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม หรือจนแก้ไขสาเหตุได้ เพื่อให้ร่างกายมีปริมาณเหล็กสะสมเพียงพอ

อ่านบทความเพื่อสุขภาพเด็กเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ค —> FB. nutroplexclub

โรคโลหิตจางในเด็ก


การเสริมธาตุเหล็กป้องกันโลหิตจางในเด็ก

– เลือกกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง รวมถึงอาหารที่มีโฟลิก ในแต่ละมื้ออาหารของลูก อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว ผลไม้แห้ง ลูกเกด เป็นต้น

– กินยาธาตุเหล็ก การกินยาธาตุเหล็ก ควรปรึกษาคุณหมอก่อน ซึ่งคุณหมอจะวินิจฉัย และสั่งยาเสริมธาตุเหล็กให้ ซึ่งเมื่อกินยาแล้วจะทำให้มีอุจจาระสีดํา ซึ่งเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นกับทุกคนที่กินยา

– ให้ลูกกินวิตามินเสริมที่มีธาตุเหล็ก เลือกวิตามินรวมที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เช่น มัลติวิตามิน Nutroplex Oligo plus วิตามินสำหรับเด็กที่มีธาตุเหล็ก และมีวิตามินอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย โดยขนาดการรับประทาน เด็กอายุ 1-3 ปี รับประทานวันละ ½ ช้อนชา ส่วนเด็กอายุ 3-6 ปี รับประทานวันละ 1 ช้อนชา


NUTROPLEX OLIGO PLUS วิตามินรวมที่มีธาตุเหล็ก

NUTROPLEX OLIGO PLUS ( นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส ) เป็นวิตามินรวมสำหรับเด็กที่มี “ธาตุเหล็ก” ที่ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก และยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาสมอง สมองปลอดโปร่ง

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส ยังมี Oligofructose ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติที่ช่วยในการปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร เพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการขับถ่าย ป้องกันท้องผูกได้ดี และเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ที่มา : (1) (2) (3)


ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close