อาหารต้านภูมิแพ้ เป็นภูมิแพ้ห้ามพลาด!

อาหารต้านภูมิแพ้

ภูมิแพ้ ภูมิแพ้ ภูมิแพ้! ตื่นยันหลับต้องเผชิญกับคำ ๆ นี้ เป็นประจำ บางคนเป็นภูมิแพ้แบบเบา ๆ บางคนก็เป็นหนักมากกก! บ้าจริงเชียว… มันจะมีอะไรช่วยให้ห่างไกลจากภูมิแพ้ได้บ้างไหมนะ? ไม่ต้องกังวลไปวันนี้ GedGoodLife มีเมนู “อาหารต้านภูมิแพ้” ที่ช่วยป้องกันทั้ง โรคภูมิแพ้ผิวหนัง, ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ และภูมิแพ้อื่น ๆ มาฝากแล้ว

Allernix อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้

5 อาหารต้านภูมิแพ้ หากินไว้เลย!

1. ชาเขียว

การทดลองค้นคว้าในปัจจุบันยืนยันว่า ชาเขียวสามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ และการเกิดโรคมะเร็งได้ สามารถใช้บรรเทาอาการ หอบหืด ที่ทำให้หายใจไม่สะดวก การใช้ชาเชียวกับส่วนหัวของต้นหอม จะช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้หวัดได้ด้วย

ชาเขียวสามารถยับยั้งการหลั่ง ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของโรคภูมิแพ้ เช่น เยื่อบุจมูกอักเสบ ปัญหาด้านการหายใจ ผื่นตามร่างกาย

คุณค่าทางสารอาหารของ ชาเขียว

สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียว จะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี โดยสารที่มีฤทธิ์ทรงพลังที่สุด ล้ำค่าที่สุดในชาเขียว คือ สาร EGCG (สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต – epigallocatechin gallate) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดภูมิแพ้ได้

ประโยชน์ข้ออื่น ๆ ของชาเขียว

  • บรรเทาอาการ ปวดศีรษะ
  • แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ขับสารพิษตกค้าง
  • ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ สดชื่น ไม่ง่วง
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้ท้องร่วง ท้องเสีย ควบคุมน้ำหนัก

ข้อควรระวัง

  • การดื่มชาเขียวควรหลีกเลี่ยงการชงด้วยน้ำเย็น ไม่ควรดื่มก่อนนอน
  • หลังจากดื่มชาเขียวไปแล้วควรสังเกตตนเองด้วยว่า มีอาการผิดปกติหรือไม่
  • ไม่ควรซื้อชาเขียวที่ผสมน้ำตาลตามร้านสะดวกซื้อ ควรบริโภคชาเขียวในรูปแบบการชง ดื่มเอง

2. หอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่ (Allium Cepa) – ยาต้านฮิสตามีนจากธรรมชาติ เหมาะกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ที่จมูก และ อาการหอบหืด (แต่ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุของภูมิแพ้ด้วย) หอหัวใหญ่มีเควอเซทิน ช่วยยับยั้งการปล่อยสารฮิสตามีน และยับยั้งการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้

คุณค่าทางสารอาหารของ หอมหัวใหญ่

ธาตุซีลีเนียมที่พบมากในหอมหัวใหญ่ มีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างแอนติบอดี สามารถต้านอนุมูลอิสระที่จะก่อให้เกิดการอักเสบในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่ยังมีธาตุแมกนีเซียม ธาตุกำมะถัน ช่วยให้เอนไซม์ตับทำงานขับสารพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้

ประโยชน์ข้ออื่น ๆ ของหอมหัวใหญ่

  • หัวหอมใหญ่มีวิตามินซีสูง
  • ทำให้รู้สึกง่วง ช่วยในการนอนหลับได้สบาย
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
  • ลดความเสี่ยงของอัมพาต
  • ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ดี
  • ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัด คัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก
  • ช่วยในการขับปัสสาวะ

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่มีอาการอักเสบที่ปอด หรือกระเพาะอาหาร หน้ามืดตาลาย ไม่ควรรับประทานหอมหัวใหญ่
  • การปอก หรือหั่นหอมหัวใหญ่ มักจะทำให้น้ำตาไหลได้ จึงควรนำหอมหัวใหญ่ไปแช่ในน้ำสัก 5-10 นาที แล้วค่อยนำมาหั่น
  • มีน้อยคนมากที่จะแพ้หอมหัวใหญ่ ฉะนั้นก็ยังมีข้อควรระวังสำหรับคนที่แพ้ ควรเลี่ยงไปทานอาหารชนิดอื่นแทน

3. ขิง

ขิง (Ginger) – เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคแพ้อากาศ และคัดจมูกรุนแรง ป้องกันอาการแพ้อาหารทะเลจนขึ้นผื่นคัน รักษาลมพิษ โดยชาวจีนเชื่อว่า ขิงมีสรรพคุณในการแก้ไอ ลดเสมหะ แก้ไข้ คัดจมูก มีผลดีต่ออาการหลอดลมอักเสบ อาหารเป็นพิษ

คุณค่าทางสารอาหารของ ขิง

ขิงมี แคลเซียม เหล็ก โปรตีน ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถป้องกันการอักเสบได้ การดื่มน้ำขิงร้อน ๆ ทุกครั้งที่อากาศเริ่มเย็นลง หรือ เริ่มเป็นหวัด จะทำให้ร่างกายอบอุ่น ขับไล่ความหนาวออกไปได้

ประโยชน์ข้ออื่น ๆ ของขิง

  • ลดอาการท้องอืด
  • บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • บรรเทาอาการไมเกรน
  • ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่มีอาการร้อนใน ปากแห้ง ลิ้นแห้ง มีสิวขึ้นใบหน้า และท้องผูก ไม่ควรทานขิง เพราะฤทธิ์ของขิงจะทำให้มีอาการหนักกว่าเดิม
  • ถึงแม้จะมีคนไม่มากนักที่แพ้ขิง แต่หากเกิดรับประทานขิงไปแล้วเกิดอาการผิดปกติต่อร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์
  • ในผู้ป่วยที่เป็นโรคแพ้อากาศ ควรทานขิงในขณะที่อาการยังไม่กำเริบ แต่หากอาการกำเริบและติดเชื้อไปแล้ว ควรงดทานไปก่อน
  • ไม่ควรรับประทานขิงเกินวันละ 4 กรัม/วัน เนื่องจากอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน

4. องุ่น

องุ่น (Grape) – ในองุ่นมีสารเควอซิทิน ช่วยยับยั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวไม่ให้มีความไวเกินไปในการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม และยังมีสารสำคัญคือ เรสเวราทรอล (Resveratrol) ที่อยู่ในเปลือกองุ่น มีคุณสมบัติควบคุมการทำงานของสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ บรรเทาอาการแพ้ ช่วยให้อาการหอบหืดดีขึ้น

คุณค่าทางสารอาหารของ องุ่น

มีสารอาหารมากมาย ทั้งคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม สารโพลีฟีนอลส์ ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 บี2 วิตามินซี วิตามินเค แมกนีเซียม เป็นต้น ผู้หญิงมักจะนิยมทานองุ่น เพราะ องุ่นทำให้ผิวดี สดใส อ่อนกว่าวัยได้ นอกจากนี้ ในเมล็ดองุ่นยังมีสาร OPC (Oligomeric proanthocyyanidin) มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูง มากกว่าวิตามินซีถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามินอีถึง 50 เท่า!

ประโยชน์ข้ออื่น ๆ ขององุ่น ได้แก่…

  • ป้องกันการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ
  • ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • ลดปัจจัยสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
  • ควบคุมการเกิดเนื้องอก
  • ช่วยบำรุงผิวหน้า และเส้นผม
  • ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง บำรุงกำลัง แก้อาการกระหายน้ำ

ข้อควรระวัง

พบว่ามีผู้ป่วยที่แพ้องุ่นอยู่บ้าง ซึ่งอาจจะแพ้สารเคมีที่ตกค้างในองุ่น เช่น ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จึงควรล้างองุ่นให้สะอาดก่อนทานทุกครั้ง


5. ผัก ผลไม้

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ผัก และผลไม้ มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ปรับสภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดการอักเสบ จึงมีส่วนช่วยให้อาการแพ้ดีขึ้นได้นั่นเอง

คุณค่าทางสารอาหารของ ผักผลไม้

ผักผลไม้ อุมด้วยวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินซี ต้านทานโรคหวัด เจ็บคอ สามารถลดผลกระทบของฮิสตามีนที่มีต่อร่างกาย ลดและป้องกันการเกิดอาการแพ้ วิตามินเอ มีคุณสมบัติปกป้องโครงสร้างของเยื่อบุเมือก และยังทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณหลอดลมทำงานได้ดีขึ้น จึงเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

นอกจากนั้นก็ยังมี วิตามินบี 1,2,3 แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไลโคปีน เบตาไซซีน ลูทีน สารเบต้าแคโรทีน สารแอนโทไซยานิน แซนโทน คลอโรฟิลด์ และอื่น ๆ อีกมากมาย เรียกว่าควรกินเป็นประจำทุกวัน ดีต่อสุขภาพแน่นอน

ประโยชน์ข้ออื่น ๆ ของผัก ผลไม้ ได้แก่…

  • ต่อต้านโรคมะเร็ง
  • ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ยับยั้งการเกิดริ้วรอย
  • ลดอากาท้องผูก ขับถ่ายดี
  • ช่วยในการลดน้ำหนัก
  • ป้องกัน และ ชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา
  • ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ
  • ลดไขมันในเลือด
  • ป้องกันโรคความดันโลหิต

ข้อควรระวัง

  • ผัก และผลไม้ มักจะมีสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลงปนเปื้อนมาสูง ฉะนั้นก่อนนำมารับประทานควรล้างให้สะอาดก่อนเสมอ
  • ผู้ที่แพ้สารลาเท็กซ์ (latex) ง่าย มักจะแพ้ผลไม้เช่นกัน เช่น กล้วย มะละกอ มะเขือเทศ เป็นต้น
  • บางคนทาน แอปเปิ้ล สตรอเบอรี่แบบสด ๆ ก็อาจเกิดอาการแพ้ได้บ้าง แต่พอทานแบบปรุงสุกแล้ว เช่น แยมสตรอเบอรี่ กลับไม่เป็นอะไร

อาหารที่กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ มีประเภทใดบ้าง?

ผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้อาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ตนเองแพ้ จึงจะสามารถลดอาการแพ้ได้ โดยอาหารที่มักเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ ได้แก่…

– อาหารทะเล เช่นกุ้ง ปู รองลงมาคือ ปลาที่ไม่สด ส่วนปลาทะเลน้ำลึกมักเป็นต้นเหตุของโรคหอบหืดในเด็ก

– อาหารจำพวกนม ไข่ เช่น นมวัว นมแพะ ไข่ มักเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ในทารก แต่เมื่อโตขึ้นบางคนอาจจะเลิกแพ้

– ผลไม้ เช่น มะเขือเทศ ส้ม มันฝรั่ง มะม่วง เป็นต้น มักจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารฮิสตามีนออกมา ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยวจะมีกรดซิตริก ผู้เป็นภูมิแพ้รุนแรงจึงควรเลี่ยง

– ถั่ว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง อัลมอนด์ เป็นต้น

– อาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง เช่น ใส่สีผสมอาหาร ใส่สารกันบูด เติมกลิ่น เป็นต้น

– อาหารที่มีความเย็น เช่น ไอศกรีม เครื่องดื่มปั่น / ใส่น้ำแข็ง เป็นต้น จะไปกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยโรคหอบหืด และ โรคแพ้อากาศ เป็นหนักกว่าเดิมได้

จะเห็นได้ว่า อาหารมีส่วนช่วยป้องกันภูมิแพ้ หรือ ต้านภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ารู้จักเลือกกินอย่างถูกต้อง แต่บางคนก็อาจจะแพ้อาหารป้องกันภูมิแพ้ตามลิสต์ด้านบนได้ ฉะนั้น เมื่อทานอาการดังกล่าวเข้าไปแล้วเกิดอาการแพ้ ก็ควรหยุดทาน หรือ เข้าพบแพทย์เพื่อทดสอบอาการแพ้ต่ออาหารของเราสักครั้ง ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่มีบริการด้านนี้ ก็จะดีมากเลยทีเดียว


Allernix อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ ไม่ทำให้ง่วง

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close