อาการร้อนใน เป็นแผลในปาก เพราะขาดวิตามิน จริงหรือ !?

อาการร้อนใน

ถ้าอยู่ดีๆ ลูกกินข้าวได้น้อยลง บ่นเจ็บในปาก อาจเป็นเพราะลูกกำลังเผชิญกับ ร้อนใน เป็นแผลในปาก โดยร้อนในเจอได้ทุกวัย ตั้งแต่เด็ก อาจจะไม่ใช่โรคอันตรายร้ายแรง แต่เป็นแล้ว ทำให้ลำบากในการใช้ชีวิต ยิ่งถ้าเป็นมาก ๆ อาจทำให้อยากอาหารน้อยลง กินข้าวไม่ได้ หรือ ที่สำคัญคือ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังอ่อนแอได้

แผลร้อนใน (Recurrent aphthous ulcer) เป็นแผลที่พบได้บ่อยบนเยื่อเมือกช่องปาก มักเริ่มเป็นตั้งแต่วัยเด็ก และวัยหนุ่มสาว ลักษณะเฉพาะของแผลจะเป็นแผลขนาดเล็กลักษณะกลม หรือ รี มีเยื่อเทียมสีเหลืองเทาปกคลุม ล้อมรอบด้วยรอยแดงแผลอาจเกิดเป็นแผลเดี่ยว หรือหลายแผล เวลาเป็นร้อนในจะมีอาการเจ็บ ปวดที่แผลด้วย

ลักษณะของแผลร้อนใน

แผลร้อนใน เป็นมากหรือน้อย อาจแบ่งได้ตามลักษณะของแผล โดยแบ่งลักษณะแผล ได้ 3 ลักษณะ คือ

1. แผลร้อนในขนาดเล็ก (Minor aphthous ulcer)
เป็นแผลขนาดเล็กลักษณะกลม หรือ รี มีเยื่อเทียมสีเหลืองเทาปกคลุม ล้อมรอบด้วยขอบอักเสบแดงขนาดของแผลมักจะไม่เกิน 5 มิลลิเมตร แผลอาจเกิดเป็นแผลเดี่ยว หรือหลายแผล มักเกิดที่ เยื่อเมือกริมฝีปาก เยื่อเมือกแก้ม ส่วนทบเยื่อเมือกด้านแก้ม ขอบของลิ้น เพดานอ่อน และพื้นปาก แผลจะหายภายใน 10-14 วัน และไม่พบแผลเป็น

2. แผลร้อนในขนาดใหญ่ (Major aphthous ulcer)
เป็นแผลขนาดใหญ่โดยพบว่าขนาดอาจใหญ่กว่า10 มิลลิเมตรเป็นแผลลึก มีเนื้อตายที่ก้นแผลขอบของแผลยกนูน และ รอบ ๆ แผลจะมีการบวมและอักเสบแดง อาจพบการหายของแผลแบบมีแผลเป็น

3. แผลชนิดคล้ายเฮอร์ปีส์ (Herpetiform ulcer)
พบเป็นแผลเล็กๆ รูปร่างกลมหรือรีขนาดเท่าหัวเข็มหมุดหลายแผลอยู่เป็นกลุ่ม แผลหลายแผลอาจจะรวมกันเป็นแผลขนาดใหญ่ขอบไม่เรียบ ลักษณะแผลจะคล้ายเฮอร์ปีส์แผลสามารถพบได้ทุกบริเวณในช่องปากผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บปวด ทำให้การรับประทานอาหาร และ การกลืนลำบาก

อาการร้อนใน

สาเหตุของ อาการร้อนใน เป็นแผลในปาก

  • แพ้อาหาร
  • มีภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • ความเครียด
  • ท้องผูก ดื่มน้ำน้อย
  • กัดโดนเยื่อบุปาก
  • เคี้ยวของแข็ง
  • แปรงฟันผิดวิธี
  • รับประทานอาหารเผ็ดร้อน
  • พักผ่อนน้อย

ร้อนในเป็นแผลในปาก เพราะขาดวิตามินจริงหรือ ?

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดร้อนใน แผลในปาก อาจเพราะลูกขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุบางชนิด เช่น วิตามินบี12 ธาตุเหล็ก วิตามินซี สังกะสี หรือ กรดโฟลิก ดังนั้นในเด็กที่ไม่ได้รับสารอาหารบางอย่างเพียงพอ ก็อาจทำให้ภูมิคุ้มกันไม่ดี รวมถึงมีอาการแผลร้อนในได้เช่นกัน

อาการร้อนใน ทำอย่างไรถึงจะหายเร็ว ?

– หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด หรือมีกรด รสเปรี้ยวจัด เช่น ของหมักดอง ขนมหวานเหนียว ๆ
– ให้ลูกบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ วันละ 2-3 ครั้ง
– ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้ว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นในช่องปาก และลดความร้อนในร่างกาย
– กินอาหารจืดๆ เย็น ๆ ถ้าลูกเป็นแผลร้อนใน อาจจะทำให้กินอาหารได้น้อยลง ควรเน้นอาหารอ่อน ๆ รสจืด หรือ ฤทธิ์เย็น เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ต้มจืด แตงกวา ตำลึง ฟักเขียว เก๊กฮวย ใบบัวบก เพื่อช่วยลดการระคายเคืองในช่องปาก และช่วยลดอาการเจ็บแผลในช่องปาก
– อาจจะช่วยลูกแปรงฟันเพื่อเลี่ยงไม่ให้โดนแผล และใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาด
– ถ้าแผลไม่หาย หรือ มีอาการมากขึ้น ภายใน 3 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์​

วิธีการรักษา อาการร้อนใน แผลในปาก

การรักษาร้อนใน มักใช้การรักษาด้วยยา Triamcinolone acetonide เมื่อเป็นแผลร้อนในขนาดเล็ก หรือ Fluocinolone acetonide เมื่อเป็นแผลร้อนในขนาดใหญ่ โดยเป็นยาที่ใช้ทา ใช้ป้ายบริเวณแผล วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร และก่อนนอน 10-14 วัน

อาการร้อนใน

ร้อนใน สัญญาณเตือนร่างกายอ่อนแอ !

ถึงแม้จะรักษาแผลร้อนในหายแล้ว แต่อาการของร้อนใน แผลในปากนั้น เป็นสัญญาณเตือนว่า ร่างกายลูกอาจจะมีความผิดปกติ อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง หรือ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน แร่ธาตุบางชนิด จึงแสดงออกมาทางร่างกาย

ดังนั้นจึงต้องดูแลร่างกายลูกให้แข็งแรง รับประทานที่มีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ นอนให้เร็ว ห้ามนอนดึก ถ้าว่างก็ต้องออกไปวิ่งเล่น ออกกำลังกาย รับอากาศบริสุทธิ์บ้าง หรืออาจจะเสริมวิตามินสำหรับเด็ก เช่น วิตามินรวม เพื่อมั่นใจว่าลูกได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส คือ วิตามินรวม ที่นอกจากมีใยอาหาร Oligofructose ใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุล ด้านระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังเป็นวิตามินรวมที่มีธาตุเหล็ก และวิตามินอื่น ๆ ที่จำเป็นกับร่างกายของเด็กในวัยกำลังเจริญเติบโตด้วย

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close