5 เคล็ดลับดูแลลำไส้ลูกง่าย ๆ หมดปัญหา “เด็กท้องผูก”

หากลูกมีอาการท้องผูก (Constipation) ไม่ควรปล่อยให้ลูกเป็นนาน เพราะหากปล่อยให้ เด็กท้องผูก ถ่ายยาก อุจจาระแข็งนานไป อาจส่งผลกับพฤติกรรมลูก ทำให้ไม่ยอมขับถ่าย กลั้นอุจจาระ จนกลายเป็นท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งต้องใช้เวลารักษามากขึ้น

อาการของเด็กท้องผูก

– เวลาอุจจาระต้องออกแรงเบ่งมาก ถ่ายอุจจาระลำบาก ออกแรงเบ่งนาน

– ไม่ค่อยถ่ายอุจจาระ ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลาติดต่อกันมากว่า 2 สัปดาห์ แสดงว่ากำลังมีปัญหาท้องผูก

– อุจจาระก้อนแข็ง ถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็งเล็ก ๆ เหมือนขี้แพะ

– ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน มีอาการเจ็บปวดบริเวณทวารหนัก เวลาถ่ายอุจจาระทำให้ไม่กล้าเบ่งถ่าย

สาเหตุที่ทำให้ลูกท้องผูก

เด็กท้องผูก

เด็กท้องผูกเพราะเปลี่ยนนม ในช่วงเปลี่ยนผ่านนม เช่น เด็กที่เปลี่ยนจากนมแม่มากินนมผงดัดแปลง หรือ แม้กระทั่งเปลี่ยนยี่ห้อนม ก็อาจทำให้เกิดท้องผูกได้ เนื่องจากนมวัวมีอัตราส่วนของโปรตีนต่อคาร์โบไฮเดรตสูงกว่านมแม่ หรือในนมแต่ละยี่ห้อก็มีสัดส่วน ของส่วนผสมต่าง ๆ แตกต่างกันไป ทำให้ท้องผูกได้ การขับถ่ายไม่เหมือนเดิม

ดื่มน้ำน้อย เด็กที่ดื่มน้ำน้อย หรือสูญเสียน้ำมากจากอากาศที่ร้อน หรือเป็นไข้ ก็เป็นสาเหตุที่ท้องผูก หรือทำให้อุจจาระมีลักษณะที่แข็งขึ้นทำให้ขับถ่ายลำบากได้

เด็กไม่ชอบกินผักและผลไม้ เพราะผักผลไม้ เป็นแหล่งของเส้นใยธรรมชาติ ที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ถ้าไม่ชอบกินผัก ผลไม้ จึงเป็นสาเหตุของท้องผูกได้เช่นกัน

เด็กห่วงเล่น ชอบกลั้นอุจจาระ เป็นสาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรม โดยเฉพาะเด็กที่เริ่มโต เริ่มเข้าเรียน พบบ่อยในช่วงวัยอนุบาล คือ เด็กห่วงเล่นและกลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย หรือ อาจจะไม่กล้าเข้าห้องน้ำที่โรงเรียน

ฝึกขับถ่ายเร็วเกินไป เด็กที่ยังไม่พร้อมที่จะขับถ่ายเอง หรือเด็กที่มีความกังวลเกี่ยวกับการขับถ่าย แต่ถูกเร่ง หรือบังคับให้ฝึกขับถ่ายเร็วเกินไป ทำให้เกิดความเครียด ไม่ยอมขับถ่ายอุจจาระ กลัวการถ่ายอุจจาระ

เกิดจากโรค หรือร่างกายผิดปกติ เด็กบางคนอาจมีอาการท้องผูกจากโรคทางกายอื่น ๆ เช่น โรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่มีปมประสาท โรคเกี่ยวกับประสาทไขสันหลัง โรคต่อมไธรอยด์ทำงานน้อย ฯลฯ ก็ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้

เด็กท้องผูก แก้ไขอย่างไรดี ?

เด็กท้องผูก

ปรับเปลี่ยนอาหาร

– กินอาหารที่มีเส้นใย การรับประทานอาหารสม่ำเสมอและดื่มน้ำเพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี อาหารที่มีปริมาณเส้นใยเพียงพอจะช่วยให้อุจจาระมีขนาดใหญ่และนุ่ม เริ่มจากปริมาณน้อย ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนกระทั่งก้อนอุจจาระนิ่มลงและขับถ่ายบ่อยขึ้น

– กินอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยระบายโดยธรรมชาติ เช่น ลูกพรุน กีวี ชะเอมเทศ เป็นต้น

– หลีกเลี่ยงอาหารเส้นใยน้อย ถ้าลูกท้องผูก ควรเลี่ยงอาหารที่มีเส้นใยน้อย เช่น ไอศกรีม ชีส เนื้อสัตว์ หรืออาหารสำเร็จรูป

ปรับพฤติกรรม

– เริ่มฝึกลูกเมื่อพร้อม ฝึกการขับถ่ายของลูกให้เป็นเวลา สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ในช่วง 2 ขวบปีแรก แต่การฝึกควรทำเมื่อลูกพร้อม อย่ารีบเร่งหรือบังคับ เมื่อลูกถ่ายขับถ่ายได้ ไม่ต่อต้าน จึงค่อยเริ่มฝึก

– ฝึกขับถ่ายสม่ำเสมอ ควรฝึกให้นั่งถ่าย 10-15 นาทีทุกวันในเวลาเดิม โดยเวลาที่เหมาะสมคือหลังเวลาอาหาร เพราะจะมีการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวและช่วยให้ก้อนอุจจาระเลื่อนผ่านออกมาง่ายขึ้น

5 เคล็ดลับดูแลลำไส้ลูก ป้องกันปัญหา เด็กท้องผูก

หากปล่อยให้ลูกท้องผูกนาน ๆ ไม่ได้รักษา อาจทำให้กลายเป็นท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งอันตราย และรักษายากขึ้น

1. กินผักผลไม้ทุกมื้อ
พยายามให้ลูกกินผักผลไม้ทุกวัน ผลไม้สุกเนื้อนิ่ม เช่น มะละกอสุก กล้วยสุก จะเพิ่มใยอาหาร บรรเทาอาการการอักเสบ ส่วนผักผลไม้ที่มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน เช่น ฟักทอง แครอท ช่วยสร้างความแข็งแรงแก่ลำไส้

2. ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวกระตุ้นลำไส้
พาลูกไปออกกำลังกาย หรือบริหารร่างกายเป็นประจำเพื่อช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ทํางานได้ดีขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวที่มีการยืดหดลําตัวและบิดลําตัวอย่างต่อเนื่อง จะทําให้กล้ามเนื้อลําไส้บีบตัวและ เกิดการขับถ่ายของเสียออกมา ทำให้ลดปัญหาท้องผูกได้

3. เพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้
ร่างกายเราต้องการจุลินทรีย์ที่ดี คือ โพรไบโอติคส์ (Probiotics) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น ช่วยลดการอักเสบของลำไส้ ท้องผูก หรือท้องเสีย เพิ่มภูมิคุ้มกัน ซึ่งจุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะมีอยู่ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เป็นต้น

4. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
สอนลูกให้ค่อย ๆ เคี้ยวอาหาร และเคี้ยวให้ละเอียด เพราะเมื่อเคี้ยวอาหารละเอียด จะทำให้ลำไส้ทำงานได้ง่ายขึ้น การเคี้ยวอาหารให้ถูกต้องนั้นคือ เคี้ยวประมาณ 10 ครั้งสำหรับอาหารที่นิ่ม เช่นข้าว หรือ ขนมปัง และประมาณ 20-30 ครั้งสำหรับเนื้อสัตว์และผัก การเคี้ยวให้นานขึ้น ละเอียดขึ้น ดีต่อระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ และช่วยลดปัญหาท้องอืด ท้องผูกได้

5. จิบน้ำอุ่นหลังตื่นนอน
หลังลูกตื่นนอน ให้ลูกจิบน้ำอุ่น หรือ น้ำอุณหภูมิห้อง เป็นสิ่งแรกในตอนเช้าดีต่อระบบขับถ่าย และการย่อย หรืออาจจะดื่มน้ำอุ่นสามสิบนาที ก่อนมื้ออาหาร จะช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร และทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น

การปรับอาหาร และปรับพฤติกรรมลูกเพื่อแก้ปัญหาท้องผูก เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา พ่อแม่อาจเสริม วิตามินเด็ก ให้กับลูก เช่น วิตามินเด็ก Nutroplex ซึ่งเป็นวิตามินที่มี ใยอาหารโอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) จากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุล ด้านระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายดี และมีแร่ธาตุที่จำเป็นกับลูกในวัยที่กำลังเจริญเติบโตด้วย

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close